Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 20 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 20 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 20” คืออะไร? 


“มาตรา 20” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 20 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรส หากการสมรสนั้นได้ทำตามบทบัญญัติมาตรา ๑๔๔๘ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 20” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 20 ” ในประเทศไทย 


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7238/2549
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์โดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วยเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 318 วรรคสาม ตามฟ้องก็ดี ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วยตามมาตรา 319 วรรคแรก ที่พิจารณาได้ความก็ดีมีองค์ประกอบความผิดร่วมกันประการหนึ่งว่า "ผู้ใดพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล..." ซึ่งจะเห็นได้ว่าวัตถุแห่งการกระทำความผิดกฎหมายทั้งสองมาตรานี้ที่กฎหมายมุ่งคุ้มครองคืออำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลนั่นเอง มิใช่ตัวผู้เยาว์ผู้ถูกพราก ดังนั้น ผู้เสียหายคือบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดทั้งสองมาตรานี้ตามมาตรา 2 (4) แห่ง ป.วิ.อ. จึงได้แก่บิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลผู้เยาว์ทั้งสองในขณะที่จำเลยทั้งสามกับพวกร่วมกันกระทำความผิด หาใช่ตัวผู้เยาว์คือโจทก์ร่วมทั้งสองไม่
ขณะที่โจทก์ร่วมทั้งสองยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตนั้น โจทก์ร่วมทั้งสองยังมีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 19 และมาตรา 20 และผู้เสียหายในคดีอาญาซึ่งยังเป็นผู้เยาว์จะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการต้องกระทำโดยผู้มีอำนาจจัดการแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (1) การที่โจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งยังเป็นผู้เยาว์ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ด้วยตนเอง จึงมิได้เป็นไปตามบทบังคับว่าด้วยความสามารถของบุคคลตามกฎหมาย แต่ศาลฎีกาจะยกคำร้องหรือไม่รับพิจารณาเสียทีเดียวยังไม่ได้ ชอบที่ศาลฎีกาจะสั่งแก้ไขข้อบกพร่องเสียก่อนตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 56 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่เมื่อนับอายุของโจทก์ร่วมทั้งสองในขณะที่คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ร่วมทั้งสองมีอายุเกิน 20 ปี พ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นและไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องมีคำสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถของโจทก์ร่วมทั้งสองอีก

ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 19, ม. 20
ป.อ. ม. 318 วรรคสาม, ม. 319 วรรคแรก
ป.วิ.พ. ม. 56 วรรคสอง
ป.วิ.อ. ม. 2 (4), ม. 5 (1), ม. 15


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1266/2544
การที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ไปอยู่กินฉันสามีภริยากับชายอื่น แต่มิได้ทำการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้เสียหายจึงยังไม่บรรลุนิติภาวะและยังคงอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของมารดา เมื่อจำเลยที่ 3 พาผู้เสียหายไปพบจำเลยที่ 1 และที่ 2 เพื่อพาผู้เสียหายไปค้าประเวณี การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการพรากผู้เสียหายไปเสียจากมารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 20, ม. 1566
ป.อ. ม. 317


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1266/2544
คดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 3 ฎีกาว่ามิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำผิดตามที่โจทก์ฟ้องเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่าในชั้นสอบสวน จำเลยที่ 3 มีอาการคลุ้มคลั่งไม่อยู่ในสภาพที่จะต่อสู้คดีได้ก็เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นกัน ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาข้อกฎหมายของจำเลยที่ 3 ว่า การที่ผู้เสียหายได้ออกจากบ้านบิดามารดาโดยไปอยู่กินฉันสามีภริยากับชายอื่นมาก่อน เมื่อเลิกกับสามีจึงมาอยู่กับจำเลยที่ 3 ก่อนที่จำเลยที่ 3 จะพาผู้เสียหายไปค้าประเวณีจะเป็นการพรากผู้เสียหายไปจากบิดามารดาหรือไม่ ศาลล่างทั้งสองมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงนี้ไว้ ศาลฎีกาจึงฟังข้อเท็จจริง ในเรื่องนี้ใหม่ได้
เด็กหญิง อ. ผู้เสียหายอายุไม่เกินสิบห้าปีอาศัยอยู่กับมารดาจนปี 2537 ผู้เสียหายทะเลาะกับมารดาจึงออกจากบ้านไปทำงานที่ร้านอาหารข้างบ้าน จากนั้นผู้เสียหายมีสามีโดยอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา แต่ก็มิได้ทำการสมรส โดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้เสียหายจึงยังไม่บรรลุนิติภาวะตาม ป.พ.พ. มาตรา 20 และยังคงอยู่ใต้อำนาจปกครองของมารดา เมื่อจำเลยที่ 3 พาผู้เสียหายไปพบจำเลยที่ 1 และที่ 2 เพื่อพาผู้เสียหายไปค้าประเวณี การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการพรากผู้เสียหายไปเสียจากมารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.อ. ม. 282 วรรคสาม, ม. 317 วรรคสาม
ป.พ.พ. ม. 20
ป.วิ.อ. ม. 218 วรรคหนึ่ง, ม. 222
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที