Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 197 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 197 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 197” คืออะไร? 


“มาตรา 197” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 197 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าหนี้เงินจะพึงส่งใช้ด้วยเงินตราชนิดหนึ่งชนิดใดโดยเฉพาะ อันเป็นชนิดที่ยกเลิกไม่ใช้กันแล้วในเวลาที่จะต้องส่งเงินใช้หนี้นั้นไซร้ การส่งใช้เงินท่านให้ถือเสมือนหนึ่งว่ามิได้ระบุไว้ให้ใช้เป็นเงินตราชนิดนั้น “
มาตรา 198 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
“มาตรา 198 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 198” คืออะไร? 
“มาตรา 198” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 198 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าการอันมีกำหนดพึงกระทำเพื่อชำระหนี้นั้นมีหลายอย่าง แต่จะต้องกระทำเพียงการใดการหนึ่งแต่อย่างเดียวไซร้ ท่านว่าสิทธิที่จะเลือกทำการอย่างใดนั้นตกอยู่แก่ฝ่ายลูกหนี้ เว้นแต่จะได้ตกลงกันกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 198” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 198 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10346/2559
เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนเป็นการกำหนดให้จำเลยทั้งสองทำการชำระหนี้ทีละอย่างก่อนหลังตามลำดับ ไม่ใช่การอันมีกำหนดพึงกระทำเพื่อชำระหนี้หลายอย่างอันจะพึงเลือกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 198 ดังนั้น หนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยทั้งสองจะต้องกระทำก่อนจึงเป็นหนี้ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน อันแสดงว่าโจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อและมีสิทธิติดตามเอาคืนเมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อยังมีอยู่ อีกทั้งโจทก์สามารถบังคับให้จำเลยทั้งสองคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ กรณีไม่แน่นอนว่าหนี้ที่จะบังคับให้ใช้ราคาแทนการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อจะมีหรือไม่ จึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจกำหนดได้โดยแน่นอน ดังนั้นจึงไม่กำหนดดอกเบี้ยในส่วนของราคารถใช้แทนให้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 198, ม. 572


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5888/2551
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันคืนนกเขาชวาสีขาวบริสุทธิ์ตาสีฟ้า จำนวน 8 ตัว แก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ร่วมกันใช้เงิน 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย มิใช่การอันมีกำหนดพึงกระทำเพื่อชำระหนี้มีหลายอย่าง อันจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะพึงเลือกได้ แต่การที่โจทก์ขอให้บังคับคดีตามผลของคำพิพากษาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 เพื่อให้โจทก์ได้รับเงินอันเป็นหนี้ในลำดับหลังเสร็จสิ้นและไม่บังคับคดีต่อไปแล้วนั้น แสดงว่าโจทก์ได้สละสิทธิที่จะบังคับคดีในหนี้ลำดับแรกแล้ว เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ลดจำนวนเงินที่ให้ใช้แทนทรัพย์ที่ให้คืนลง โจทก์จะกลับไปขอบังคับคดีในหนี้ลำดับแรกอีกหาได้ไม่ทั้งไม่อาจอ้างได้ว่าการบังคับคดีที่ได้ดำเนินไปก่อนแล้วเป็นอันยกเลิกและต้องเริ่มต้นบังคับคดีกันใหม่ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เนื่องจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพียงแต่ลดจำนวนเงินที่ให้ใช้แทนทรัพย์ที่ให้คืนลงเท่านั้น จึงไม่มีเหตุที่ต้องย้อนกลับไปบังคับคดีให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 คืนนกเขาชวาแก่โจทก์อันเป็นหนี้ในลำดับแรกอีก การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการบังคับคดีเพราะไม่เป็นไปตามลำดับในคำพิพากษาเป็นการไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจไม่เพิกถอนการบังคับคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจับกุมกรรมการของจำเลยที่ 2 มากักขังเพื่อให้ปฏิบัติการชำระหนี้ในลำดับแรกเป็นการไม่ชอบ เพราะศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งไปเองโดยโจทก์มิได้ยื่นคำร้องขอ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวได้และให้โจทก์คืนเงินส่วนที่เกินจำนวนที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์พร้อมดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เพราะเป็นหนี้เงินแก่จำเลยที่ 2 แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ทวงถามโจทก์ให้คืนเงินดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้โจทก์คืนเงินมิใช่นับแต่วันที่โจทก์รับเงินเพราะมิใช่เป็นเรื่องละเมิด แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์นำเงินมาวางศาลโดยศาลชั้นต้นมิได้ให้จำเลยที่ 2 รับเงินในส่วนที่มีสิทธิได้รับคืนไป โดยให้รอไว้หักกลบลบหนี้เมื่อบังคับคดีใหม่เสร็จ ซึ่งมิใช่ความผิดของโจทก์ โจทก์จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยเพียงถึงวันที่โจทก์ได้นำเงินมาวางศาลเท่านั้น
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 198, ม. 224
ป.วิ.พ. ม. 295, ม. 296


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3664/2550
โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษามีหน้าที่ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดซึ่งพิพากษาให้โจทก์ส่งรถยนต์คันพิพาทที่โจทก์เช่าซื้อไปจากจำเลยคืนให้แก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หากคืนไม่ได้ก็ให้ใช้ราคาแทน หนี้ที่จะต้องชำระตามคำพิพากษามีลักษณะบังคับโจทก์ให้ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ตามลำดับก่อนหลัง แต่การบังคับตามคำพิพากษาถือว่าเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ที่ตามคำพิพากษาที่อาจยอมรับการชำระหนี้อย่างหนึ่งอย่างใดตามคำพิพากษาได้ แม้จะมิได้เป็นไปตามลำดับในคำพิพากษา เมื่อจำเลยยอมรับเงินที่โจทก์นำไปวางชำระต่อกรมบังคับคดีครบถ้วนตามคำพิพากษาแล้ว ถือได้โดยปริยายว่าจำเลยตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาทให้เป็นของโจทก์ โดยจำเลยได้รับชดใช้ราคาแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนให้โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์พร้อมส่งมอบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์คันพิพาทคืนให้แก่โจทก์.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 194, ม. 198, ม. 213
ป.วิ.พ. ม. 55, ม. 145
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที