Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 196 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 196 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 196” คืออะไร? 


“มาตรา 196” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 196 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าหนี้เงินได้แสดงไว้เป็นเงินต่างประเทศ ท่านว่าจะส่งใช้เป็นเงินไทยก็ได้
              การเปลี่ยนเงินนี้ ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 196” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 196 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5723/2562
ตาม พ.ร.บ.การเดินอากาศ พ.ศ.2497 มาตรา 32 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ว่า "ใบสำคัญการจดทะเบียนอากาศยานเป็นอันใช้ไม่ได้ เมื่อ ...(1)...มีการเปลี่ยนแปลงสิทธิครอบครองอากาศยานนั้นในกรณีที่ผู้มีสิทธิครอบครองเป็นผู้จดทะเบียน..." และมาตรา 32 วรรคสอง บัญญัติว่า "ในกรณี (1) ถึง (5) ให้ผู้จดทะเบียนอากาศยานนั้นส่งคืนใบสำคัญการจดทะเบียนแก่พนักงานเจ้าหน้าที่โดยไม่ชักช้า" ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าอากาศยานทั้ง 2 ลำ โดยชอบ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องส่งมอบอากาศยานทั้ง 2 ลำ คืนแก่โจทก์ พร้อมทั้งส่งคืนใบสำคัญการจดทะเบียนแก่พนักงานเจ้าหน้าที่และใบสำคัญการจดทะเบียนเป็นอันใช้ไม่ได้โดยผลของบทบัญญัติดังกล่าว โดยที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางหาจำต้องพิพากษาให้จำเลยถอนการจดทะเบียนอากาศยานพิพาททั้ง 2 ลำ ไม่
อนึ่ง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 15,464,961.36 ดอลลาร์สหรัฐ พร้อมดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ และให้จำเลยชำระค่าขาดประโยชน์เป็นเงิน 760,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อเดือน นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะส่งมอบอากาศยานและเอกสารอากาศยานคืนแก่โจทก์ จำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง ทุนทรัพย์ชั้นอุทธรณ์จึงเป็นจำนวน 15,464,961.36 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อขณะยื่นฟ้องคดีต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโจทก์บรรยายฟ้องโดยคิดทุนทรัพย์ในอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 32.9610 บาท ซึ่งจำเลยไม่ได้โต้แย้งอัตราแลกเปลี่ยนตามคำฟ้องโจทก์ ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์จึงต้องคิดคำนวณตามอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้ในขณะฟ้องคดีดังกล่าว การที่จำเลยอุทธรณ์โดยคิดอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันยื่นอุทธรณ์ในอัตรา 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 33.5258 บาท และนำเงินค่าขาดประโยชน์ตามคำพิพากษาจำนวน 760,000 ดอลลาร์สหรัฐ มารวมคำนวณเป็นทุนทรัพย์ และเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จำนวน 693,954 บาท จึงไม่ถูกต้อง ให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่ชำระเกินมานั้นแก่จำเลย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 196
ป.วิ.พ. ม. 190
พ.ร.บ.การเดินอากาศ พ.ศ.2497 ม. 32


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5658/2561
ตามสัญญาที่โจทก์นำมาฟ้อง โจทก์และจำเลยตกลงชำระหนี้แก่กันเป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์เท่านั้น แต่จำเลยจะส่งใช้เป็นเงินไทยได้ก็โดยคิดตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 ดังนั้น การที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เป็นเงินไทยและศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์เป็นเงินไทยอาจมีผลให้จำเลยต้องชำระหรือโจทก์ได้รับชำระหนี้เกินกว่าจำนวนหนี้เงินดอลลาร์สิงคโปร์ตามที่โจทก์บรรยายฟ้อง หากว่าอัตราแลกเปลี่ยนในวันใช้เงินจริง 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ เท่ากับเงินไทยจำนวนน้อยกว่า 23.93 บาท ซึ่งจะเป็นผลให้เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง จึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2558 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 และ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 196
ป.วิ.พ. ม. 142 (5), ม. 246
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเ4. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13244/2558
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสอง ต้องการให้มีการบอกเลิกสัญญาจ้างกันล่วงหน้าอย่างน้อย 1 รอบของการกำหนดจ่ายค่าจ้าง เมื่อนายจ้างลูกจ้างตกลงกันให้มีการบอกกล่าวล่วงหน้านานกว่ากำหนดดังกล่าวก็ย่อมทำได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย
ข้อตกลงว่าหากมีการเลิกจ้างจำเลยที่ 8 ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อน 3 เดือน แต่จำเลยที่ 8 บอกเลิกจ้างในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 ให้มีผลในวันที่ 1 ธันวาคม 2551 เป็นการบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการเลิกจ้างเพียง 2 วัน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 2 เดือน 28 วัน
แม้โจทก์จะมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและค่าเสียหายการผิดสัญญาจ้างแรงงานซึ่งเป็นเงินที่เรียกจากมูลกฎหมายที่แตกต่างกันมาในคราวเดียวกันได้ก็ตามแต่เมื่อคดีนี้ศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยอ้างเหตุว่าจำเลยที่ 8 ถึงที่ 11 เลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีเหตุอันสมควรซึ่งเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นมูลเหตุเดียวกันกับการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมที่ศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์แล้วจึงเป็นการกำหนดค่าเสียหายที่ซ้ำซ้อนโดยอาศัยมูลเหตุเดียวกันย่อมเป็นการไม่ชอบ
การคำนวณจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าอาศัยค่าจ้างอัตราสุดท้ายที่จ่ายเป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์ การจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมก็คำนึงถึงค่าชดเชยที่โจทก์ได้รับประกอบการพิจารณาด้วย ราคาค่าบัตรโดยสารเครื่องบินโจทก์ก็นำสืบว่ามีราคาเป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยให้จ่ายเป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์โดยให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และเวลาใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง เพื่อป้องกันการได้เปรียบหรือเสียเปรียบจากการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราอันทำให้เกิดความเป็นธรรมแก่คู่ความ คำพิพากษาศาลแรงงานกลางในส่วนนี้ชอบแล้ว

ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 196 วรรคสอง, ม. 575
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ม. 17 วรรคสอง
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 49ทศ พ.ศ.2539 ม. 45


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13244/2558
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสอง ต้องการให้มีการบอกเลิกสัญญาจ้างกันล่วงหน้าอย่างน้อย 1 รอบของการกำหนดจ่ายค่าจ้าง เมื่อนายจ้างลูกจ้างตกลงกันให้มีการบอกกล่าวล่วงหน้านานกว่ากำหนดดังกล่าวก็ย่อมทำได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย
ข้อตกลงว่าหากมีการเลิกจ้างจำเลยที่ 8 ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อน 3 เดือน แต่จำเลยที่ 8 บอกเลิกจ้างในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 ให้มีผลในวันที่ 1 ธันวาคม 2551 เป็นการบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการเลิกจ้างเพียง 2 วัน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 2 เดือน 28 วัน
แม้โจทก์จะมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและค่าเสียหายการผิดสัญญาจ้างแรงงานซึ่งเป็นเงินที่เรียกจากมูลกฎหมายที่แตกต่างกันมาในคราวเดียวกันได้ก็ตามแต่เมื่อคดีนี้ศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยอ้างเหตุว่าจำเลยที่ 8 ถึงที่ 11 เลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีเหตุอันสมควรซึ่งเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นมูลเหตุเดียวกันกับการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมที่ศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์แล้วจึงเป็นการกำหนดค่าเสียหายที่ซ้ำซ้อนโดยอาศัยมูลเหตุเดียวกันย่อมเป็นการไม่ชอบ
การคำนวณจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าอาศัยค่าจ้างอัตราสุดท้ายที่จ่ายเป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์ การจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมก็คำนึงถึงค่าชดเชยที่โจทก์ได้รับประกอบการพิจารณาด้วย ราคาค่าบัตรโดยสารเครื่องบินโจทก์ก็นำสืบว่ามีราคาเป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยให้จ่ายเป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์โดยให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และเวลาใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง เพื่อป้องกันการได้เปรียบหรือเสียเปรียบจากการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราอันทำให้เกิดความเป็นธรรมแก่คู่ความ คำพิพากษาศาลแรงงานกลางในส่วนนี้ชอบแล้ว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 196 วรรคสอง, ม. 575
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ม. 17 วรรคสอง
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 49
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที