Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 195 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 195 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 195” คืออะไร? 


“มาตรา 195” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 195 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ เมื่อทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้นั้นได้ระบุไว้แต่เพียงเป็นประเภท และถ้าตามสภาพแห่งนิติกรรม หรือตามเจตนาของคู่กรณีไม่อาจจะกำหนดได้ว่าทรัพย์นั้นจะพึงเป็นชนิดอย่างไรไซร้ ท่านว่าลูกหนี้จะต้องส่งมอบทรัพย์ชนิดปานกลาง
              ถ้าลูกหนี้ได้กระทำการอันตนจะพึงต้องทำเพื่อส่งมอบทรัพย์สิ่งนั้นทุกประการแล้วก็ดี หรือถ้าลูกหนี้ได้เลือกกำหนดทรัพย์ที่จะส่งมอบแล้วด้วยความยินยอมของเจ้าหนี้ก็ดี ท่านว่าทรัพย์นั้นจึงเป็นวัตถุแห่งหนี้จำเดิมแต่เวลานั้นไป “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 195” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 195 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6656/2551
หลักเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ตามบทบัญญัติของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่จำเลยกล่าวอ้างมานั้น เป็นหลักการพิจารณาเกี่ยวกับความรับผิดในทางแพ่งของสัญญาซื้อขายที่ได้มีการกระทำโดยสุจริต ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการพิจารณาความรับผิดในทางอาญาดังเช่นกรณีนี้ เนื่องจากทรัพย์สินของผู้เสียหายที่วางไว้ในร้านของผู้เสียหายเพื่อจำหน่ายแก่ผู้มาซื้อ กรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในทรัพย์สินดังกล่าวย่อมเป็นของผู้เสียหาย แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยเอาไปซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวด้วยวิธีการนำไปซุกซ่อนไว้ในเสื้อผ้าของจำเลย โดยมีเจตนาที่จะไม่ชำระราคาทรัพย์สินนั้น จึงเป็นการกระทำโดยเจตนาทุจริตเพื่อได้ทรัพย์สินของผู้เสียหายดังกล่าวไป การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์แล้ว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 195 วรรคสอง, ม. 460
ป.อ. ม. 334


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7091/2541
สัญญากู้ฉบับพิพาทระบุว่า ในกรณีผู้กู้สิ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของผู้ให้กู้ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ และผู้กู้ ยังมีเงินกู้ค้างชำระอยู่ผู้ให้กู้อาจเลือกพิจารณาได้ดังนี้ คือ ให้จ่ายเงินกู้ค้างชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเต็มจำนวนที่ค้างชำระโดยหักจาก เงินเดือน เงินโบนัสหรือเงินได้อื่น ๆ ที่ผู้กู้มีสิทธิพึงได้รับจากบริษัท (ผู้ให้กู้)ถ้าหากจำนวนดังกล่าวไม่เพียงพอ ผู้กู้จะต้องหาเงินจากที่อื่นมาเพื่อปิดยอดเงินกู้ที่ค้างชำระทั้งสิ้นต่อไป ตามข้อสัญญาดังกล่าว เป็นกรณีที่เมื่อจำเลยมีเงินที่จะได้รับจากโจทก์ ก็ให้ โจทก์หักเงินที่จำเลยมีสิทธิจะได้จากโจทก์ออกจากเงินกู้เพื่อหักกลบลบหนี้กันก่อน เหลือเท่าใด จำเลยก็จะต้องชำระให้โจทก์จนหมดสิ้น เป็นเพียงเงื่อนไขเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ที่จะหักเงินจำนวนใด ๆ ที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากโจทก์ชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่โจทก์ได้เมื่อจำเลยพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์ กรณีมิใช่เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์ ดังนี้ เมื่อจำเลยพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์โดยจำเลยได้กู้เงินไปจากโจทก์ตามสัญญา และจำเลยไม่ชำระหนี้ เงินกู้ให้แก่โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อม มี อำนาจฟ้องจำเลยได้ ส่วนการที่จำเลยได้ให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยมีสิทธิได้รับเงินสะสมสวัสดิการ โดยโจทก์จะต้องจ่ายให้แก่จำเลยเมื่อจำเลยพ้นจากการเป็นพนักงานของโจทก์ไปหักชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมตามฟ้องก่อนเป็นการยกข้อต่อสู้ซึ่งสิทธิที่จำเลยจะพึงได้รับเงินสะสมสวัสดิการจากโจทก์ ซึ่งโจทก์ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ และจำเลยมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่โจทก์โดยการฟ้องแย้งจึงเป็นกรณีที่ศาลไม่อาจบังคับให้ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 191, ม. 195, ม. 341
ป.วิ.พ. ม. 55, ม. 142, ม. 177


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7091/2541
สัญญากู้ฉบับพิพาทระบุว่า ในกรณีผู้กู้สิ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของผู้ให้กู้ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ และผู้กู้ยังมีเงินกู้ค้างชำระอยู่ผู้ให้กู้อาจเลือกพิจารณาได้ดังนี้ คือ ให้จ่ายเงินกู้ค้างชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเต็มจำนวนที่ค้างชำระโดยหักจากเงินเดือน เงินโบนัส หรือเงินได้อื่น ๆ ที่ผู้กู้มีสิทธิพึงได้รับจากบริษัท (ผู้ให้กู้) ถ้าหากจำนวนดังกล่าวไม่เพียงพอ ผู้กู้จะต้องหาเงินจากที่อื่นมาเพื่อปิดยอดเงินกู้ที่ค้างชำระทั้งสิ้นต่อไป ตามข้อสัญญาดังกล่าวเป็นกรณีที่เมื่อจำเลยมีเงินที่จะได้รับจากโจทก์ ก็ให้โจทก์หักเงินที่จำเลยมีสิทธิจะได้จากโจทก์ออกจากเงินกู้เพื่อหักกลบลบหนี้กันก่อน เหลือเท่าใด จำเลยก็จะต้องชำระให้โจทก์จนหมดสิ้น เป็นเพียงเงื่อนไขเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ที่จะหักเงินจำนวนใด ๆ ที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากโจทก์ชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่โจทก์ได้เมื่อจำเลยพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์ กรณีมิใช่เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์
ดังนี้ เมื่อจำเลยพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์โดยจำเลยได้กู้เงินไปจากโจทก์ตามสัญญา และจำเลยไม่ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ส่วนการที่จำเลยได้ให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยมีสิทธิได้รับเงินสะสมสวัสดิการ โดยโจทก์จะต้องจ่ายให้แก่จำเลยเมื่อจำเลยพ้นจากการเป็นพนักงานของโจทก์ไปหักชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมตามฟ้องก่อน เป็นการยกข้อต่อสู้ซึ่งสิทธิที่จำเลยจะพึงได้รับเงินสะสมสวัสดิการจากโจทก์ ซึ่งโจทก์ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ และจำเลยมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่โจทก์โดยการฟ้องแย้ง จึงเป็นกรณีที่ศาลไม่อาจบังคับให้ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 191, ม. 195, ม. 341
ป.วิ.พ. ม. 55, ม. 142, ม. 177
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที