Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 194 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 194 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 194” คืออะไร? 


“มาตรา 194” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 194 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “  ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ อนึ่งการชำระหนี้ด้วยงดเว้นการอันใดอันหนึ่งก็ย่อมมีได้“

อ่านบทความเพิ่มเติมเรื่อง "มูลหนี้ " ได้ที่นี่ คลิกเลย !

ค้นหาคำปรึกษาจริง, บทความเพิ่มเติมเรื่อง "มูลหนี้ " ได้ที่นี่ คลิกเลย !

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 194” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 194 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3344/2564
สัญญาการใช้น้ำประปาระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาที่ก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่แก่คู่สัญญาที่พึงปฏิบัติตอบแทนซึ่งกันและกันทั้งสองฝ่าย กล่าวคือ ในด้านของจำเลยย่อมมีสิทธิใช้สอยน้ำประปาของโจทก์ ในขณะเดียวกันจำเลยก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าน้ำประปาตอบแทนให้แก่โจทก์ด้วย ส่วนโจทก์ย่อมมีหน้าที่จ่ายน้ำประปาให้จำเลยได้ใช้สอยและมีสิทธิได้รับชำระเงินค่าน้ำประปาตามสัญญาจากจำเลยเช่นกัน สัญญาการใช้น้ำประปาระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่ง ซึ่งคู่สัญญามีหน้าที่ต้องชำระหนี้ต่อกันหรือต่างเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ เมื่อสัญญาการใช้น้ำประปาระหว่างโจทก์กับจำเลยมีหนี้ค่าน้ำประปาค้างชำระตามที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้อง โดยจำเลยมิได้โต้แย้งว่าไม่มีมูลหนี้หรือจำนวนหนี้ไม่ถูกต้อง ทั้งนับตั้งแต่โจทก์อนุมัติและติดตั้งมาตรวัดน้ำประปาพร้อมทั้งจ่ายน้ำประปาให้แก่จำเลย จำเลยไม่เคยแจ้งบอกเลิกการใช้น้ำประปาหรือแจ้งเปลี่ยนแปลงการใช้น้ำประปาแก่บุคคลอื่นให้โจทก์ทราบ จำเลยจึงยังคงเป็นผู้ใช้น้ำตามเงื่อนไขการใช้น้ำประปาแนบท้ายสัญญา และเป็นคู่สัญญาซึ่งต้องผูกพันรับผิดชอบชำระค่าน้ำประปาที่ใช้ไปในบ้านหลังดังกล่าวนั้น แม้จำเลยจะให้การกล่าวแก้เพื่อปัดความรับผิดว่า จำเลยมิได้เป็นผู้ใช้น้ำประปาจากโจทก์ เนื่องจากจำเลยขายบ้านพร้อมที่ดินที่ใช้น้ำประปาให้แก่ พ. เข้าครอบครองตั้งแต่ปี 2556 แล้วก็ตาม แต่เมื่อสัญญาการใช้น้ำประปา และเงื่อนไขการใช้น้ำประปาแนบท้ายสัญญาการใช้น้ำประปาส่วนภูมิภาค มิได้มีข้อตกลงให้สัญญาเลิกกันเพราะเหตุแห่งการโอนกรรมสิทธิ์ในสถานที่ซึ่งใช้น้ำประปา ดังนั้น ตราบใดที่จำเลยมิได้บอกเลิกการใช้น้ำประปา หากมีผู้อื่นครอบครองสถานที่ใช้น้ำประปาก็ยังถือว่าจำเลยและผู้ครอบครองเป็นผู้ต้องรับผิดชอบชำระค่าน้ำประปาแก่โจทก์ เมื่อสัญญาการใช้น้ำประปาระหว่างโจทก์กับจำเลยมีหนี้ค่าน้ำประปาค้างชำระตามฟ้อง ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ชำระหนี้ตามมูลหนี้ที่ยังค้างอยู่ดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 194


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2558
แม้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้จนสิ้นเชิงตาม ป.พ.พ. มาตรา 194 และมาตรา 214 แต่เมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตายกฎหมายคุ้มครองให้เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น ตามมาตรา 1734 และมาตรา 1738 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เจ้าหนี้จะไปบังคับเอาจากทรัพย์สินของบุคคลอื่นไม่ได้ การที่ทายาทของลูกหนี้จะต้องรับผิดทั้งสิทธิและหน้าที่ของลูกหนี้ซึ่งเป็นเจ้ามรดกก็เพื่อให้เจ้าหนี้มีทางได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น ไม่ทำให้ทายาทนั้นต้องรับผิดชดใช้จากทรัพย์สินส่วนตัวด้วย หากทายาทรับทรัพย์สินจากกองมรดกของผู้ตายไปแล้วก็เพียงให้รับผิดไม่เกินทรัพย์มรดกที่ทายาทได้รับไปตามมาตรา 1601 และมาตรา 1738 วรรคสอง โดยยังถือว่าทรัพย์สินที่ได้รับไปนั้นเป็นกองมรดกอยู่ คดีนี้โจทก์ทั้งสี่ผู้เป็นเจ้าหนี้กองมรดกฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งเป็นทายาทรับผิดในค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ตายเจ้ามรดกกระทำละเมิด จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยเพื่อให้ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น มิได้ฟ้องให้จำเลยต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ฉะนั้น เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิบังคับคดีเฉพาะทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายเท่านั้น จึงไม่มีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ที่ดินพิพาท
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 194, ม. 214, ม. 1734, ม. 1738, ม. 1601


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12430/2556
ข้อความตามข้อตกลงข้อ 2 เป็นเรื่องนาง ก. ผู้รับสัญญาตกลงกับโจทก์ว่าหากผู้รับสัญญาได้จำหน่ายหรือขายที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่ผู้อื่น ผู้รับสัญญาจะต้องชำระเงิน 3,000,000 บาท แก่โจทก์ทันทีที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ทางทะเบียน ซึ่งหมายถึงเป็นการจำหน่ายหรือขายในขณะที่นาง ก. ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น เพราะหนี้การชำระเงินดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ทางทะเบียน ไม่อาจตีความข้อตกลงดังกล่าวว่า การที่นาง ก. ทำพินัยกรรมยกที่ดินให้บุคคลอื่นเป็นการจำหน่ายหรือขายที่ดินพิพาทด้วย เหตุนี้ ข้อความต่อมาตามข้อตกลงที่ระบุให้ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์นั้นไม่ว่าจะเป็นทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมหรือผู้อื่นก็ตามจะต้องเป็นผู้ชำระเงินแทนนาง ก. เต็มตามจำนวนเงิน 3,000,000 บาท แก่โจทก์นั้น จึงเป็นข้อตกลงแยกต่างหากจากข้อแรก ซึ่งมีความหมายว่าผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ไม่ว่าจะเป็นทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมหรือผู้อื่นก็ตามต้องรับผิดชำระหนี้ 3,000,0000 บาท แก่โจทก์แทนนาง ก. ด้วยอันเป็นข้อตกลงที่จะมีผลบังคับเอาแก่บุคคลภายนอกที่มิใช่คู่สัญญาให้ต้องรับผิดต่อคู่สัญญาทั้ง ๆ ที่บุคคลภายนอกมิได้ตกลงด้วยนั้นย่อมกระทำมิได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 194, ม. 374, ม. 1656, ม. 1707
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที