Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 189 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 189 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 189” คืออะไร? 


“มาตรา 189” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 189 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ นิติกรรมใดมีเงื่อนไขบังคับก่อนและเงื่อนไขนั้นเป็นการพ้นวิสัย นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ
              นิติกรรมใดมีเงื่อนไขบังคับหลังและเงื่อนไขนั้นเป็นการพ้นวิสัย ให้ถือว่านิติกรรมนั้นไม่มีเงื่อนไข “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 189” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 189 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2565
นิติกรรมที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนและเงื่อนไขนั้นเป็นการพ้นวิสัย อันจะทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 189 นั้น ต้องเป็นกรณีที่เงื่อนไขแห่งนิติกรรมนั้นเป็นเงื่อนไขที่เป็นไปไม่ได้โดยเด็ดขาดเนื่องจากสภาพของเงื่อนไขนั้นหรือโดยผลของกฎหมาย มิใช่เพียงเงื่อนไขไม่อาจสำเร็จได้ง่ายภายในเวลาที่กำหนด ทั้งต้องเป็นการเป็นไปไม่ได้โดยทั่วไป มิใช่เฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง การทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นอำนาจของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ที่จะพิจารณาตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) โดยมีกระทรวงพลังงานเป็นผู้กำหนดเป้าหมายในการรับซื้อไฟฟ้า เมื่อไม่ปรากฏว่า คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกำหนดนโยบายภาครัฐ กำหนดให้การทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแบบ FIT ระหว่างผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นเรื่องต้องห้าม มิอาจกระทำได้โดยเด็ดขาด ย่อมไม่อาจถือได้ว่าเงื่อนไขบังคับก่อนในสัญญาซื้อขายหุ้นข้อ 3.1 (ก) เป็นการพ้นวิสัย แต่อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขย่อมต้องมีระยะเวลาใดเวลาหนึ่งที่กำหนดไว้เพื่อให้เงื่อนไขสำเร็จลง มิใช่จะมีอยู่ตลอดไปโดยไม่มีกำหนด ซึ่งตามเงื่อนไขบังคับก่อนในสัญญาซื้อขายหุ้น ข้อ 3.2 ให้โจทก์มีสิทธิกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดดังกล่าว เมื่อนับแต่วันที่ 2 เมษายน 2558 ที่โจทก์ทำสัญญาซื้อขายหุ้นจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2560 ที่โจทก์กำหนดให้ระยะเวลาในการปฏิบัติตามเงื่อนไขบังคับก่อนข้อ 3.1 (ก) ยุติลง เป็นเวลาประมาณ 2 ปีเศษ ซึ่งเป็นเวลาพอสมควรที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จะดำเนินการให้จำเลยที่ 5 เข้าทำสัญญากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตามเงื่อนไขบังคับก่อนข้อ 3.1 (ก) ได้แล้ว จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ไม่สามารถดำเนินการได้ ต้องถือว่าเงื่อนไขบังคับก่อนไม่สำเร็จ สัญญาซื้อขายหุ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงไม่เป็นผล จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องคืนเงินค่าหุ้นที่รับไว้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ทวงถามแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ชำระ จึงตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 189


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2335/2563
ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทคู่สัญญาถือเอาทำเลที่ตั้งและสภาพที่ดินพิพาทเป็นสาระสำคัญ กล่าวคือโจทก์ประสงค์ให้ที่ดินพิพาทจะต้องไม่มีการก่อสร้างสะพานข้ามแยกผ่านหน้าที่ดินทั้งในปัจจุบันและในอนาคต การกำหนดข้อสัญญาดังกล่าวจึงเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะกระทำได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสามทำข้อตกลงดังกล่าวกับโจทก์โดยไม่สมัครใจ ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อกฎหมายและมีผลผูกพันระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสาม แม้จำเลยทั้งสามจะมี ศ. วิศวกรโยธา สำนักงานโยธา กรุงเทพมหานคร และ ส. นายช่างสำรวจชำนาญงาน สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร เบิกความในทำนองเดียวกันว่า โครงการก่อสร้างถนนเชื่อมถนนจรัญสนิทวงศ์กับถนนพุทธมณฑลสาย 4 ปัจจุบันเริ่มก่อสร้างมาแล้วบางส่วนยังไม่ถึงบริเวณหน้าที่ดินพิพาทก็ตาม แต่พยานทั้งสองก็เบิกความยืนยันว่าจะมีการก่อสร้างต่อไปจนแล้วเสร็จซึ่งที่ดินพิพาทอยู่ห่างจากแนวสะพานยกระดับถนนพุทธมณฑลสาย 3 ประมาณ 200 เมตร และห่างจากทางยกระดับในจุดใกล้ที่ดินพิพาทที่สุดประมาณ 60 เมตร จึงเชื่อได้ว่าในอนาคตบริเวณด้านหน้าที่ดินพิพาทต้องมีการสร้างสะพานยกระดับซึ่งไม่ตรงตามสัญญาที่จำเลยทั้งสามให้ไว้กับโจทก์ซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท จึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสามเป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยทั้งสาม สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจึงเป็นอันเลิกกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 กรณีหาใช่เป็นเงื่อนไขในสัญญาที่เป็นอันแน่นอนในเวลาทำนิติกรรมว่าเงื่อนไขไม่อาจสำเร็จได้ หากเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนให้ถือว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ และหาใช่เป็นนิติกรรมที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน และเงื่อนไขนั้นเป็นการพ้นวิสัยอันจะทำให้นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 187 วรรคสอง และมาตรา 189 วรรคหนึ่ง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 187 วรรคสอง, ม. 189 วรรคหนึ่ง, ม. 391


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2539
สัญญาจะซื้อขายดินที่ระบุว่าผู้ขายจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่สำนักงานที่ดินหลังจากผู้ขายได้ทำการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินเรียบร้อยแล้วไม่เกิน18เดือนนั้นไม่ใช่เงื่อนไขบังคับก่อนแต่เป็นข้อตกลงในการไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ผู้ซื้อว่าผู้ขายจะต้องแบ่งแยกที่ดินและจดทะเบียนโอนให้แก่ผู้ซื้อภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวซึ่งไม่พ้นวิสัยไม่ตกเป็นโมฆะ โจทก์รู้อยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทตรงตำแหน่งที่โจทก์ตกลงซื้อจากจำเลยมีผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยเมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแต่ผู้เดียวให้แบ่งแยกโฉนดที่ดินตรงตำแหน่งดังกล่าวโอนให้แก่โจทก์ตามข้อตกลงจึงอาจมีผลกระทบถึงสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่นซึ่งไม่ได้เข้ามาในคดีและไม่มีส่วนรู้เห็นตกลงในการแบ่งแยกโฉนดด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364วรรคสองคำขอของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่อาจบังคับได้ศาลต้องยกคำขอแต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายโดยไม่สามารถแบ่งแยกโฉนดที่ดินและจดทะเบียนโอนให้แก่โจทก์ภายในระยะเวลาที่กำหนดจำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญาและแม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบแสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าโจทก์เสียหายเท่ากับจำนวนที่ระบุในสัญญาศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามที่เห็นสมควรได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 189, ม. 151 เดิม, ม. 213, ม. 215, ม. 379, ม. 380, ม. 456, ม. 459, ม. 461
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที