Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 188 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 188 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 188” คืออะไร? 


“มาตรา 188” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 188 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ นิติกรรมใดมีเงื่อนไขอันไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 188” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 188 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9116/2539
จำเลยทำสัญญาขายลดเช็คพิพาททั้งสองฉบับในนามตนเองมิได้กระทำแทนจำเลยร่วม ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ ส่วนจำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ตามฟ้อง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยร่วม ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยร่วมมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเป็นคุณแก่จำเลยร่วมได้
จำเลยได้ทำหนังสือถึงโจทก์ว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่แต่ไม่สามารถชำระเงินได้หมดทันที ขอผ่อนชำระเป็นงวด ๆ และขอลดดอกเบี้ย ถือได้ว่าจำเลยยอมรับสภาพความรับผิดสำหรับดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 188 (เดิม) มาตรา 193/28 (ใหม่) และเป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความสำหรับดอกเบี้ยตามมาตรา 192 (เดิม) มาตรา 193/24 (ใหม่) เมื่อนับจากวันที่ทำหนังสือดังกล่าวถึงวันฟ้องไม่เกิน 5 ปี คดีโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ย จึงไม่ขาดอายุความ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 188 (เดิม), ม. 192 (เดิม)
ป.วิ.พ. ม. 142 (5), ม. 247


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1016/2539
โจทก์บรรยายฟ้องอ้างเหตุว่าจำเลยผิดสัญญาและกระทำละเมิดต่อโจทก์แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าข้ออ้างที่โจทก์อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเพื่อให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ล้วนมาจากเหตุที่จำเลยผิดสัญญาการร่วมจัดหางานที่ทำไว้กับโจทก์ทั้งสิ้นดังนั้นเมื่อสัญญาการร่วมจัดหางานดังกล่าวเป็นโมฆะเพราะขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนโจทก์จึงไม่อาจอ้างสิทธิใดๆตามสัญญาดังกล่าวเพื่อบังคับให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 150 เดิม, ม. 188, ม. 368, ม. 420
ป.วิ.พ. ม. 172


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2538
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดพ. ให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับมูลหนี้ตามบันทึกรับสภาพหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดพ.ก่อนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปยังผู้ร้องไม่ใช่ผู้ร้องยอมรับในส่วนของผู้ร้องว่าเป็นหนี้จำเลยบันทึกคำให้การของผู้ร้องไม่ใช่การรับสภาพความรับผิดโดยสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา18/8วรรคสาม(เดิม) แม้ผู้ร้องต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1077แต่ผู้ร้องก็อยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับห้างซึ่งมีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา295แม้ห้างถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้จนศาลได้ออกคำบังคับเพราะเป็นหนี้เด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา119แล้วก็ตามเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปยังผู้ร้องให้ร่วมรับผิดในหนี้ของห้างเมื่อพ้น2ปีนับแต่ห้างผิดนัดชำระหนี้ในมูลหนี้ผู้เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของสิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องชำระหนี้ย่อมขาดอายุความ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 193/28 วรรคสอง, ม. 188 วรรคสามเดิม, ม. 295, ม. 1077
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 119
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที