Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 186 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 186 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 186” คืออะไร? 


“มาตรา 186” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 186 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าความสำเร็จแห่งเงื่อนไขจะเป็นทางให้คู่กรณีฝ่ายใดเสียเปรียบ และคู่กรณีฝ่ายนั้นกระทำการโดยไม่สุจริตจนเป็นเหตุให้เงื่อนไขนั้นไม่สำเร็จให้ถือว่าเงื่อนไขนั้นสำเร็จแล้ว
              ถ้าความสำเร็จแห่งเงื่อนไขจะเป็นทางให้คู่กรณีฝ่ายใดได้เปรียบ และคู่กรณีฝ่ายนั้นกระทำการโดยไม่สุจริตจนเป็นเหตุให้เงื่อนไขนั้นสำเร็จ ให้ถือว่าเงื่อนไขนั้นมิได้สำเร็จเลย “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 186” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 186 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9367/2559
ในการท้ากันนั้น โจทก์และจำเลยไม่ได้ตกลงให้จำเลยดื่มน้ำสาบานและรับศีลห้าด้วย การดื่มน้ำสาบานและรับศีลห้าจึงไม่ใช่ส่วนหนึ่งของคำท้า ส่วนการที่จำเลยต้องกล่าวคำสาบานให้โจทก์หรือผู้รับมอบอำนาจโจทก์ และผู้อำนวยการฯ ได้ยินด้วยนั้น เป็นเงื่อนไขส่วนหนึ่งของคำท้า เมื่อปรากฏว่าจำเลยกล่าวคำสาบานโดยผู้อำนวยการฯ ได้ยินถ้อยคำสาบานของจำเลยขณะอยู่ห่างจากจำเลยประมาณ 1 เมตร เมื่อผู้อำนวยการฯ แจ้งให้โจทก์เข้าไปใกล้จำเลยเพื่อจะได้ยินถ้อยคำสาบานของจำเลย ฝ่ายโจทก์กลับปฏิเสธว่าต้องการให้จำเลยพูดเสียงดังเพื่อให้ได้ยินทั่วกัน ถือว่าโจทก์ประสงค์จะให้บุคคลทั่วไปได้ยินถ้อยคำสาบานของจำเลยด้วย ซึ่งมิใช่เป็นข้อตกลงอันเป็นส่วนหนึ่งของคำท้า และก็ไม่ได้กำหนดให้จำเลยกล่าวสาบานผ่านเครื่องขยายเสียง อันจะแปลเจตนาของคำท้าได้ว่าจำเลยต้องกล่าวคำสาบานให้บุคคลทั่วไปได้ยิน โจทก์ย่อมสามารถเข้าไปใกล้จำเลยได้ แต่ฝ่ายโจทก์กลับไม่เข้าไปใกล้เพื่อให้ได้ยินเสียงถ้อยคำสาบาน จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายเสียเปรียบกระทำการโดยไม่สุจริตจนเป็นเหตุให้เงื่อนไขที่ฝ่ายโจทก์ต้องได้ยินถ้อยคำสาบานของจำเลยด้วยนั้นไม่สำเร็จ ถือได้ว่าจำเลยสาบานตนตรงตามคำท้าครบถ้วน โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 186


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5268/2538
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสามในมูลหนี้เดียวกับคดีนี้ที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการแต่ศาลจังหวัดสมุทรปราการมีคำสั่งจำหน่ายคดีเมื่อวันที่22ธันวาคม2532เนื่องจากจำเลยที่1ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลเมื่อไม่มีข้อเท็จจริงใดที่แสดงให้เห็นว่าขณะที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามครั้งแรกที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการนั้นโจทก์ได้ฟ้องภายในกำหนดอายุความ1ปีตามมูลละเมิดแล้วจะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา176มาปรับแก่คดีของโจทก์ในกรณีนี้หาได้ไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 186, ม. 448


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2536
ศาลอาญาพิพากษาลงโทษจำเลยและให้จำเลยทั้งสองคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม2518 ศาลอาญาออกหมายบังคับคดีลงวันที่ 1 สิงหาคม 2527 ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์จำเลยทั้งสอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 การบังคับคดีมิได้หมายความแต่เพียงว่าโจทก์ดำเนินการให้ศาลออกหมายบังคับคดีเท่านั้นแต่หมายถึงโจทก์ต้องไปแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการยึดทรัพย์จำเลยทั้งสองมาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามหมายบังคับคดีด้วย จึงจะสมบูรณ์ เมื่อปรากฏตามฟ้องโจทก์ว่าจำเลยทั้งสองไม่มีทรัพย์สินใด ๆ ที่จะยึดมาขายทอดตลาดชำระหนี้ได้จึงแสดงอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ไม่อาจขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองได้ การที่โจทก์ขอศาลออกหมายบังคับคดีภายในสิบปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาโดยมิได้มีการดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองตามขั้นตอนให้ครบถ้วนจนถึงขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นเวลาพ้นกำหนดสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะบังคับคดีตามคำพิพากษาดังกล่าวจากจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้ตามคำพิพากษา จึงต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10ดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสองให้ล้มละลายในมูลหนี้เดียวกันนี้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 186, ม. 173
ป.วิ.พ. ม. 271
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 7, ม. 8 (5), ม. 9, ม. 14
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที