Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 182 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 182 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 182” คืออะไร? 


“มาตรา 182” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 182 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ข้อความใดอันบังคับไว้ให้นิติกรรมเป็นผลหรือสิ้นผลต่อเมื่อมีเหตุการณ์อันไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ในอนาคต ข้อความนั้นเรียกว่าเงื่อนไข “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 182” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 182 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2546
สัญญาจ้างว่าความระหว่างลูกหนี้ที่ 1 กับเจ้าหนี้ทั้งสองได้กำหนดข้อตกลงเรื่องการจ่ายค่าตอบแทนพิเศษโดยให้เป็นผลต่อเมื่อมีการถอนคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายที่ลูกหนี้ที่ 1 เป็นโจทก์ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนและย่อมเป็นผลต่อเมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จแล้ว ทั้งในระหว่างที่เงื่อนไขยังไม่สำเร็จ คู่กรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะต้องงดเว้นไม่กระทำการให้เป็นที่เสื่อมเสียประโยชน์แก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งจะพึงได้จากความสำเร็จแห่งเงื่อนไขนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 182,183 และ 184ลูกหนี้ที่ 1 จึงต้องผูกพันตามข้อตกลงดังกล่าว ทั้งมูลหนี้ที่ลูกหนี้ที่ 1 ได้ก่อขึ้นแก่เจ้าหนี้ทั้งสองนั้นเกิดก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาดย่อมถือได้ว่าสิทธิของเจ้าหนี้ทั้งสองตามข้อตกลงย่อมมีอยู่แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เพียงแต่เจ้าหนี้ทั้งสองจะเรียกร้องให้ลูกหนี้ที่ 1 จ่ายค่าตอบแทนพิเศษสำหรับการว่าความดังกล่าวได้ต่อเมื่อลูกหนี้ที่ 1 ได้ถอนคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายแล้ว แต่เนื่องจากขณะที่เจ้าหนี้ทั้งสองขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ ยังไม่มีการถอนคำขอรับชำระหนี้ของลูกหนี้ที่ 1 ในคดีดังกล่าว และไม่แน่ว่าจะมีการขอถอนคำขอรับชำระหนี้นั้นหรือไม่ เจ้าหนี้ทั้งสองจึงยังไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้ลูกหนี้ที่ 1 จ่ายค่าตอบแทนพิเศษนั้นได้ทันที แต่ถือได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นหนี้มีเงื่อนไขและเงื่อนไขยังไม่สำเร็จ เจ้าหนี้ทั้งสองจึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ค่าตอบแทนพิเศษสำหรับการว่าความเพียงจำนวน 2,500,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่ระบุในสัญญาจ้างว่าความจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 182, ม. 183, ม. 184
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 130 เดิ (8)


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2546
สัญญาจ้างว่าความระหว่างลูกหนี้ที่ 1 กับเจ้าหนี้ทั้งสองที่ว่าหากมีการถอนคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย จะจ่ายค่าตอบแทนพิเศษสำหรับการว่าความเป็นเงินไม่น้อยกว่า 2,500,000 บาท ข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นผลต่อเมื่อมีการถอนคำขอรับชำระหนี้ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ จึงเป็นนิติกรรมที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 182 ทั้งมูลหนี้เกิดก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาด ถือได้ว่าสิทธิของเจ้าหนี้ทั้งสองมีอยู่แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แต่เนื่องจากขณะที่เจ้าหนี้ทั้งสองขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ ยังไม่มีการถอนคำขอรับชำระหนี้ของลูกหนี้ที่ 1 และไม่แน่ว่าจะมีการขอถอนคำขอรับชำระหนี้นั้นหรือไม่ เจ้าหนี้ทั้งสองจึงยังไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้ลูกหนี้ที่ 1 จ่ายค่าตอบแทนพิเศษนั้นได้ทันที แต่ถือได้ว่าเป็นหนี้มีเงื่อนไขและเงื่อนไขยังไม่สำเร็จ เจ้าหนี้ทั้งสองจึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ค่าตอบแทนพิเศษจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 182
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 130


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9318/2544
ธุรกรรมของจำเลยที่เชิญชวนให้ประชาชนทั่วไปยื่นคำขอเปิดบัญชีเงินฝากประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว โดยการจะใช้จำนวนเงินสงเคราะห์ ย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของผู้ยื่นคำขอ ธุรกรรมดังกล่าวจึงเป็นการรับประกัน ชีวิตตาม ป.พ.พ. มาตรา 889
เมื่อจำเลยยอมรับว่า ช. ผู้เอาประกันมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่จำเลยกำหนดไว้ และจำเลยจะต้องผูกพันตนในการที่จะต้องพิจารณาอนุมัติตามคำขอหรือไม่ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันรับฝากเงิน หากจำเลยปฏิบัติงานในความรับผิดชอบของตนให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน ซึ่งขณะนั้น ช. ยังมีชีวิตอยู่ จำเลยย่อมไม่อาจปฏิเสธความรับผิดตามกรมธรรม์ได้ เมื่อกรมธรรม์ออกให้แก่ ช. ล่าช้าเกิดจากความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานจำเลยเพียงฝ่ายเดียว จำเลยย่อมไม่อาจนำข้อกำหนดในตอนท้ายของคำขอเปิดบัญชีฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิต และครอบครัวที่ระบุว่า "ข้าพเจ้า (ผู้เอาประกัน) ยอมรับว่าธนาคารยังไม่มีข้อผูกพันใด ๆ กับข้าพเจ้าจนกว่าธนาคาร จะได้ออกกรมธรรม์การฝากเงินให้แล้ว?" ซึ่งมีความหมายมุ่งเฉพาะกรณีผู้ยื่นคำขอมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตาม หลักเกณฑ์ที่จำเลยกำหนดไว้มาเป็นข้ออ้างปฏิเสธความรับผิดโดยมิชอบด้วยความเป็นธรรมหาได้ไม่ และต้องถือว่าสัญญารับประกันชีวิตมีขึ้นภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันฝากเงินแล้ว ทั้งข้อกำหนดในเรื่องการออกกรมธรรม์ ไม่อาจถือเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนในเรื่องความเป็นผลแห่งสัญญา
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 182, ม. 183, ม. 366, ม. 368, ม. 889
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที