Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 180 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 180 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 180” คืออะไร? 


“มาตรา 180” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 180 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ภายหลังเวลาอันพึงให้สัตยาบันได้ตามมาตรา ๑๗๙ ถ้ามีพฤติการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้เกิดขึ้นเกี่ยวด้วยโมฆียะกรรมโดยการกระทำของบุคคลซึ่งมีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมตามมาตรา ๑๗๕ ถ้ามิได้สงวนสิทธิไว้แจ้งชัดประการใดให้ถือว่าเป็นการให้สัตยาบัน
              (๑) ได้ปฏิบัติการชำระหนี้แล้วทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
              (๒) ได้มีการเรียกให้ชำระหนี้นั้นแล้ว
              (๓) ได้มีการแปลงหนี้ใหม่
              (๔) ได้มีการให้ประกันเพื่อหนี้นั้น
              (๕) ได้มีการโอนสิทธิหรือความรับผิดทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
              (๖) ได้มีการกระทำอย่างอื่นอันแสดงได้ว่าเป็นการให้สัตยาบัน “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 180” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 180 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2049/2538
จำเลยไม่ได้ให้การว่าได้ บอกล้าง โมฆียะกรรมภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้วการนำสืบของจำเลยที่ว่าได้บอกล้างนิติกรรมไปยังโจทก์ก่อนวันที่พากันไปโอนที่ดินพิพาทตาม สัญญาจะซื้อจะขายที่เป็นโมฆียะที่สำนักงานที่ดินจึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย แม้ในวันนัดจำเลยจะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ไม่ได้เพราะภรรยาจำเลยคัดค้านว่าที่ดินพิพาทเป็นของตนครึ่งหนึ่งแต่แสดงว่าจำเลยตั้งใจที่จะปฏิบัติตาม สัญญาจะซื้อจะขายตลอดมาซึ่งเมื่อได้กระทำภายหลังเวลาที่มูลเหตุที่เป็นโมฆียะกรรมได้สูญสิ้นไปโดยมิได้แสดงแย้งสงวนสิทธิไว้แจ้งชัดถือว่าจำเลยได้ให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมแล้วโดยปริยายและแม้ต่อมาจำเลยจะยื่นคำให้การต่อสู้คดีโดยถือว่าเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรมแต่เมื่อจำเลยได้ให้สัตยาบันก่อนแล้วจึงไม่อาจ บอกล้างได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 177, ม. 180
ป.วิ.พ. ม. 86, ม. 249 วรรคแรก


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2537
การรับสภาพหนี้ เป็นการที่ลูกหนี้รับสภาพต่อเจ้าหนี้ว่าจะชำระหนี้ให้ ดังนั้นการที่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอก มิได้เป็นลูกหนี้ผูกพันตนเข้าชำระหนี้ให้โจทก์ จึงไม่เป็นการรับสภาพหนี้และแม้จำเลยทำสัญญาไว้ต่อโจทก์ว่าจะชำระหนี้ ซึ่งค. เป็นหนี้โจทก์ให้โจทก์ก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์เจ้าหนี้ตกลงให้หนี้ของ ค. ระงับไป จึงไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่แต่การที่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผูกพันตนเข้าชำระหนี้ที่ ค. ค้างชำระให้โจทก์ จึงเป็นสัญญาประเภทหนึ่งระหว่างโจทก์จำเลย ซึ่งคู่สัญญากระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ และเมื่อหนี้ตามสัญญานี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ ก็ต้องใช้อายุความ10 ปี
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 149, ม. 180, ม. 193/14


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3029 - 3030/2530
กระบวนพิจารณาคดีแรงงานนั้น หากจำเลยประสงค์จะยื่นคำให้การเป็นหนังสือก็ชอบที่จะยื่นก่อนวันนัดพิจารณา ถ้ามิได้ยื่นไว้ในวันพิจารณาจำเลยจะให้การต่อศาลแรงงานด้วยวาจาให้ศาลแรงงานจดบันทึกก็ได้ คำให้การดังกล่าวต่างก็เป็นคำให้การที่ชอบด้วยกฎหมาย หลังจากนั้นหากจำเลยประสงค์จะให้การในเรื่องหนึ่งเรื่องใดอีก ก็ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179,180 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 โดยจะต้องทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลแรงงานเพื่อพิจารณาสั่งตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่จำเลยให้การด้วยวาจาในวันนัดพิจารณาซึ่งศาลแรงงานจดบันทึกไว้แล้ว ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกจำเลยทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลแรงงานอีก โดยมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบศาลแรงงานย่อมไม่รับคำให้การที่ยื่นนั้น.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 179, ม. 180
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ม. 31, ม. 37, ม. 39
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที