Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 18 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 18 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 18” คืออะไร? 


“มาตรา 18” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 18 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ สิทธิของบุคคลในการที่จะใช้นามอันชอบที่จะใช้ได้นั้น ถ้ามีบุคคลอื่นโต้แย้งก็ดี หรือบุคคลผู้เป็นเจ้าของนามนั้นต้องเสื่อมเสียประโยชน์เพราะการที่มีผู้อื่นมาใช้นามเดียวกันโดยมิได้รับอำนาจให้ใช้ได้ก็ดี บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามจะเรียกให้บุคคลนั้นระงับความเสียหายก็ได้ ถ้าและเป็นที่พึงวิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไป จะร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามก็ได้“

ค้นหาคำปรึกษาจริง, บทความเพิ่มเติมเรื่อง "แอบอ้าง" ได้ที่นี่ คลิกเลย !

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 18” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 18 ” ในประเทศไทย 


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22312/2555
โจทก์กล่าวอ้างว่าผลของสัญญาซื้อขายหุ้นทำขึ้นโดยคู่สัญญาที่มิได้มีสัญชาติไทยและมิได้ทำขึ้นในประเทศไทยจึงต้องใช้กฎหมายต่างประเทศบังคับ โจทก์มิได้นำสืบว่ากฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวกับคดีนี้มีอยู่อย่างไร ศาลจึงต้องใช้กฎหมายภายในของประเทศไทยบังคับ
เมื่อสัญญาดังกล่าวทำขึ้นระหว่างฟอร์เต้ ฟรานซ์ เอสเอ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของโจทก์และผู้ถือหุ้น ส่วนที่เหลือของบริษัทโจทก์ในฐานะผู้ขาย กรานาด้า กรุ๊ป พีแอลซี ในฐานะผู้รับประกัน และพีเอโฮลดิงส์ (แอล) ฟรานซ์ เอสอา ในฐานะผู้ซื้อ โดยฟอร์เต้ ฟรานซ์ เอสเอ เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนในประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส ส่วนฟอร์เต้ ยูเอสเอ อิงค์. จดทะเบียนในประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นนิติบุคคลจดทะเบียนคนละประเทศกัน ย่อมมีความเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงใดว่าฟอร์เต้ ฟรานซ์ เอสเอ มีอำนาจกระทำการแทนฟอร์เต้ ยูเอสเอ อิงค์. สัญญาซื้อขายหุ้นจึงไม่มีผลผูกพันฟอร์เต้ ยูเอสเอ อิงค์.
เมื่อบริษัท พ. เป็นเจ้าของกิจการโรงแรมที่ใช้ชื่อ เป็นชื่อทางการค้าในประเทศสหรัฐอเมริกาและเป็นเจ้าของเครื่องหมายบริการ และรูปลวดลายประดิษฐ์ จึงมีสิทธิทำสัญญาอนุญาตให้จำเลยใช้สิทธิในเครื่องหมายบริการดังกล่าวในประเทศไทยได้ สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิดังกล่าวทำขึ้นหลังจาก บริษัท พ. ซื้อสินทรัพย์รวมทั้งสิทธิการใช้เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการในกรุงนิวยอร์ก การทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายบริการที่จดทะเบียนในต่างประเทศก่อนจดทะเบียนในประเทศไทยเป็นการอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายบริการที่ยังไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทยจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 68 วรรคสอง สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายบริการจึงมีผลใช้บังคับได้
ระหว่างพิจารณาคดีนี้ คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการคำว่า ของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าโจทก์อุทธรณ์คำสั่งหรือฟ้องเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นที่สุด และพยานหลักฐานของอื่นโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า สาธารณชนทั่วไปหรือสาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักโรงแรมของโจทก์ก่อนที่จำเลยจะยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการหรือใช้ชื่อ ในประเทศไทย ส่วนจำเลยได้นำสืบถึงการโฆษณาในประเทศไทยเกี่ยวกับโรงแรมที่ใช้ชื่อดังกล่าวในกรุงนิวยอร์กของบริษัท พ. ตั้งแต่ปี 2541 เมื่อโรงแรมของจำเลยเปิดให้บริการในประเทศไทยจำเลยโฆษณาประชาสัมพันธ์และโรงแรมของจำเลยในประเทศไทยยังได้รับรางวัลและจัดอันดับโดยหนังสือท่องเที่ยวของต่างประเทศ เห็นว่า จำเลยใช้ชื่อทางการค้าและเครื่องหมายบริการโดยสุจริตโดยอาศัยสิทธิของบริษัท พ. การประกอบกิจการโรงแรมของจำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตโดยมิได้อาศัยชื่อเสียงของโรงแรมของโจทก์ที่กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ทั้งโจทก์ก็มิได้ประกอบกิจการโรงแรมของโจทก์ในประเทศสหรัฐอเมริกาและในประเทศไทย จึงไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของกิจการโรงแรม ชื่อทางการค้าหรือเครื่องหมายบริการดังกล่าว พยานหลักฐานโจทก์จึงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายบริการในประเทศไทยดีกว่าจำเลย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 18
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ม. 67, ม. 68 วรรคสอง, ม. 80


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13158/2555
โจทก์เป็นเจ้าของชื่อทางการค้าคำว่า "KLOSTER" และ "คลอสเตอร์" ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทย จำเลยมีสิทธิใช้ตราบเท่าที่บริษัท ท. ยังมีสิทธิผลิตเบียร์คลอสเตอร์ตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ และเมื่อสัญญาดังกล่าวสิ้นสุดลงโดยการบอกเลิกสัญญาของโจทก์โดยชอบเนื่องจากบริษัท ท. มีหนี้สินจำนวนมากอยู่ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการ จำเลยจึงต้องระงับการใช้ชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้าคลอสเตอร์ของโจทก์ตั้งแต่วันถัดจากวันที่บอกเลิกสัญญา การที่จำเลยยังคงใช้ชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้าของโจทก์หลังการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวจึงเป็นการกระทำละเมิดสิทธิในชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ที่โจทก์มีหนังสือห้ามจำเลยใช้ชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้าคำว่า "คลอสเตอร์" โดยอ้างว่าจำเลยละเมิดสิทธิโจทก์จึงเป็นการกระทำโดยชอบ
การดำเนินการของโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองเป็นการใช้ดุลพินิจบริหารจัดการบริษัทที่อยู่ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการไปตามขั้นตอนของกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งคู่ความทุกฝ่ายมีโอกาสโต้แย้งคัดค้านในกระบวนการตามกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว หมวด 3/1 กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ มาตรา 90/1 ถึง 90/90 ได้โดยชอบอยู่แล้ว จนคดีในส่วนที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการยุติไปแล้วตามคำสั่งฟื้นฟูกิจการของศาลล้มละลายกลาง ถือไม่ได้ว่าการกระทำของโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองเป็นการกระทำเพื่อสมคบกันครอบงำกิจการของจำเลยโดยไม่สุจริต
ป.พ.พ. มาตรา 18 ให้สิทธิโจทก์ร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามจำเลยใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์เป็นของจำเลยเท่านั้น มิได้ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะบังคับให้จำเลยจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อจำเลยได้ คำขอบังคับของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นคำขอบังคับที่ไม่อาจทำได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 18
ป.วิ.พ. ม. 142, ม. 246
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 ม. 45
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูของลูกหนี้ หมวด 3/1


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1784/2552
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 นำชื่อทางการค้าคำว่า "HITACHI" และ "ฮิตาชิ" ของโจทก์ไปใช้ในเชิงธุรกิจ เมื่อกิจการของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นกิจการเช่นเดียวกับกิจการของโจทก์หรือบริษัทในเครือ จึงมีโอกาสที่สาธารณชนจะหลงผิดเข้าใจว่า กิจการของจำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นกิจการในเครือ หรือเป็นสาขาหรือมีส่วนสัมพันธ์กับโจทก์ จึงเป็นไปโดยไม่สุจริต ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ทั้งเป็นการจดทะเบียนชื่อนิติบุคคลโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะอาจทำให้สาธารณชนเกิดความหลงผิดได้ โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ระงับความเสียหาย และขอให้ศาลสั่งห้ามจำเลยที่ 1 และที่ 3 ใช้ชื่อดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 421 และตามระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท พ.ศ.2538 ข้อ 20 (8)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 18, ม. 421
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที