Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 179 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 179 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 179” คืออะไร? 


“มาตรา 179” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 179 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ การให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมนั้น จะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้กระทำภายหลังเวลาที่มูลเหตุให้เป็นโมฆียะกรรมนั้นหมดสิ้นไปแล้ว
              บุคคลซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถหรือบุคคลวิกลจริต ผู้กระทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะตามมาตรา ๓๐ จะให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมได้ต่อเมื่อได้รู้เห็นซึ่งโมฆียกรรมนั้นภายหลังที่บุคคลนั้นพ้นจากการเป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือในขณะที่จริตของบุคคลนั้นไม่วิกล แล้วแต่กรณี
              ทายาทของบุคคลผู้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะ จะให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมได้นับแต่เวลาที่ผู้ทำนิติกรรมนั้นถึงแก่ความตาย เว้นแต่สิทธิที่จะบอกล้างโมฆียะกรรมของผู้ตายนั้นได้สิ้นสุดลงแล้ว
              บทบัญญัติวรรคหนึ่งและวรรคสองมิให้ใช้บังคับ ถ้าการให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมกระทำโดยผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 179” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 179 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3029 - 3030/2530
กระบวนพิจารณาคดีแรงงานนั้น หากจำเลยประสงค์จะยื่นคำให้การเป็นหนังสือก็ชอบที่จะยื่นก่อนวันนัดพิจารณา ถ้ามิได้ยื่นไว้ในวันพิจารณาจำเลยจะให้การต่อศาลแรงงานด้วยวาจาให้ศาลแรงงานจดบันทึกก็ได้ คำให้การดังกล่าวต่างก็เป็นคำให้การที่ชอบด้วยกฎหมาย หลังจากนั้นหากจำเลยประสงค์จะให้การในเรื่องหนึ่งเรื่องใดอีก ก็ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179,180 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 โดยจะต้องทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลแรงงานเพื่อพิจารณาสั่งตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่จำเลยให้การด้วยวาจาในวันนัดพิจารณาซึ่งศาลแรงงานจดบันทึกไว้แล้ว ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกจำเลยทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลแรงงานอีก โดยมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบศาลแรงงานย่อมไม่รับคำให้การที่ยื่นนั้น.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 179, ม. 180
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ม. 31, ม. 37, ม. 39


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3029 - 3030/2530
กระบวนพิจารณาคดีแรงงานนั้น หากจำเลยประสงค์จะยื่นคำให้การเป็นหนังสือก็ชอบที่จะยื่นก่อนวันนัดพิจารณา ถ้ามิได้ยื่นไว้ในวันพิจารณาจำเลยจะให้การต่อศาลแรงงานด้วยวาจา ให้ศาลแรงงานจดบันทึกก็ได้ คำให้การดังกล่าวต่างก็เป็นคำให้การที่ชอบด้วยกฎหมาย หลังจากนั้นหากจำเลยประสงค์จะให้การในเรื่องหนึ่งเรื่องใดอีก ก็ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179, 180 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โดยจะต้องทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลแรงงานเพื่อพิจารณาสั่งตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่จำเลยให้การด้วยวาจาในวันนัดพิจารณาซึ่งศาลแรงงานจดบันทึกไว้แล้ว ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกจำเลยทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลแรงงานอีก โดยมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบศาลแรงงานย่อมไม่รับคำให้การที่ยื่นนั้น.


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2517
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลคลองตันและตำบลพระโขนง อำเภอพระโขนงจังหวัดพระนครพ.ศ.2496 มีว่า รัฐบาลมีความจำเป็นจะต้องได้ที่ดินไว้ใช้เพื่อประโยชน์แห่งรัฐสำหรับจัดให้มีการดำเนินกิจการ โรงงานเนื้อสัตว์เพื่อจัดให้ประชาชนได้มีเนื้อสัตว์ที่ปราศจากโรค เพียงพอแก่การบริโภคอันเป็นโครงการของการท่าเรือ แต่ตามความจริงการท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 หาได้มีโครงการจัดทำกิจการโรงงานเนื้อสัตว์ไม่ การเวนคืนจึงมิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 และการเวนคืนเพื่อกิจการฆ่าสัตว์เพื่อจำหน่ายเป็นการค้า ก็ไม่เป็นกิจการอันเป็นสาธารณูปโภคย่อมไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2477 มาตรา 5 ทั้งข้อเท็จจริงยังปรากฏว่ากิจการโรงงานเนื้อสัตว์เป็นกิจการของบริษัทสหสามัคคีค้าสัตว์ จำกัด ซึ่งเป็นเอกชนการเวนคืนที่ดินของโจทก์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของเอกชน จะถือว่าการดำเนินกิจการโรงงานเนื้อสัตว์เป็นประโยชน์ของรัฐอย่างอื่น ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2477มาตรา5 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2495มาตรา3 ก็ไม่ได้ดุจเดียวกัน
โจทก์จำเลยได้ตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นพิจารณาเงินค่าทำขวัญมาตั้งแต่ปี 2498 ในระหว่างพิจารณา โจทก์ได้เสนอขอให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาว่า พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลคลองตัน และตำบลพระโขนง อำเภอพระโขนงจังหวัดพระนคร พ.ศ.2496 เป็นโมฆะ อนุญาโตตุลาการมีคำสั่งเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2511 ว่าไม่มีอำนาจวินิจฉัยให้โจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน 30 วัน โจทก์จึงได้ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 18กันยายน 2511 กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 179, 176 กล่าวคือเมื่อคำหาหรือคำกล่าวอ้างของโจทก์ถูกยกเสียโดยเหตุอนุญาโตตุลาการ ไม่มีอำนาจพิจารณา และกำหนดอายุความในเรื่องนั้นได้สิ้นสุดลงในระหว่างที่อนุญาโตตุลาการพิจารณาคดีอยู่ หรือว่าภายหลังที่อนุญาโตตุลาการได้ชี้ขาดตัดสินคดีอายุความเหลือเวลาไม่ถึงหกเดือน ก็ให้ขยายอายุความออกไปถึงหกเดือนภายหลังคำชี้ขาดตัดสินนั้น ฉะนั้นแม้โจทก์จะยื่นฟ้องเป็นเวลาเกินกว่าสิบปีนับแต่บังคับใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้นก็ไม่ทำให้คดีของโจทก์ขาดอายุความ
แม้จะได้มีการตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นพิจารณาเงินค่าทำขวัญแล้วแต่โจทก์ก็ได้เสนอให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาในปัญหาว่าพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินดังกล่าวไม่มีผลบังคับใช้แก่ที่ดินของโจทก์ด้วยจะถือว่าโจทก์ยอมรับว่ากฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้แก่ที่ดินของโจทก์หาได้ไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 4, ม. 164, ม. 176, ม. 179
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2477 ม. 3
ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคีณอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที