Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1754 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1754 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1754” คืออะไร? 


“มาตรา 1754” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1754 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก
              คดีฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรม มิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรม
              ภายใต้บังคับแห่งมาตรา ๑๙๓/๒๗ แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก
              ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อน ๆ นั้น มิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย “

 

ท่านสามารถอ่านวิธีการแบ่งมรดกไม่มีพินัยกรรมได้ที่นี่ 
นอกจากนั้นแล้วเรายังรวบรวมขั้นตอนการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก และ สิทธิในการรับมรดกของลูก ที่ถูกต้อง

เรารวบรวมข้อมูลเรื่อง "มรดก" สามารถอ่าน 330 ตัวอย่างคำปรึกษาจริงได้ บทความและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มีบริการปรึกษาทนาย 24ชม.
 

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1754” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1754 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2374/2564
ก่อนผู้ตายถึงแก่ความตายได้แบ่งที่ดินให้แก่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 บางส่วน และยกที่ดินพิพาทให้แก่นาย ส. หลังจากนั้นนาย ส. ได้เข้าครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินต่อมาอย่างเป็นเจ้าของโดยที่ทายาทอื่นของผู้ตายไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้อง การครอบครองที่ดินพิพาทของนาย ส. และจำเลยทั้งแปดซึ่งเป็นทายาทของนาย ส. จึงเป็นการครอบครองเพื่อตน มิใช่เป็นการครอบครองแทนทายาทอื่น กรณีมิใช่การครอบครองทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งปันกัน สำหรับปัญหาตามฎีกาที่ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่นั้น เมื่อนาย ส. กับจำเลยทั้งแปดครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของโดยการยกให้จากผู้ตายมิได้เป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นแล้ว จึงมิใช่เป็นกรณีที่ทายาทครอบครองทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งปัน กรณีจึงไม่มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความมรดกหรือไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1748, ม. 1754


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2308/2564
บันทึกเรื่องทรัพย์สินท้ายทะเบียนการหย่าระหว่าง ก. และโจทก์ระบุเรื่องทรัพย์สินชัดเจนว่า ข้อ 3.2 แมนชั่น เลขที่ 246/18 ฝ่ายหญิงยินยอมให้เป็นกรรมสิทธิ์ของฝ่ายชาย แต่มีเงื่อนไขข้อ 3.2.1. ว่าฝ่ายชายจะต้องจ่ายเงินจากรายได้ค่าเช่าให้ฝ่ายหญิงทุกวันที่ 5 ของเดือน ตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553 เป็นต้นไปตลอดชีวิตของฝ่ายหญิง และข้อ 3.2.2. ถ้าฝ่ายชายขายแมนชั่นต้องแบ่งเงินให้แก่ฝ่ายหญิงครึ่งหนึ่ง ข้อ 3.3 ฝ่ายชายจะแบ่งรายได้จากค่าเช่าที่ดินโฉนดเลขที่ 819 ปีละ 40,000 บาท โดยชำระ 2 งวด งวดละ 20,000 บาท ข้อ 3.4 ถ้าฝ่ายชายขายที่ดินได้จะแบ่งเงินให้ฝ่ายหญิงร้อยละ 10 ของรายได้สุทธิที่ได้จากการขายที่ดิน ข้อตกลงดังกล่าวทำให้เห็นว่าหาก ก. ต้องการให้โจทก์มีรายได้จากทรัพย์สินจนกว่า ก. จะถึงแก่ความตาย ย่อมสามารถระบุให้ชัดเจนได้ว่า ตลอดชีวิตของฝ่ายชาย การที่ ก. ระบุว่า จะต้องจ่ายเงินจากรายได้ค่าเช่าให้ฝ่ายหญิงตลอดชีวิตของฝ่ายหญิง แสดงให้เห็นว่า ก. ต้องการให้โจทก์มีรายได้เลี้ยงตัวเอง และหากมีการขายทรัพย์สินดังกล่าวจะต้องแบ่งเงินให้ฝ่ายหญิง บันทึกเรื่องทรัพย์สินเป็นข้อตกลงที่ผูกพันทรัพย์สิน เมื่อจำเลยที่ 1 บุตร ก. เป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินทั้งสองรายการจาก ก. จึงต้องผูกพันตามบันทึกเรื่องทรัพย์สินดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามบันทึกเรื่องทรัพย์สินท้ายทะเบียนการหย่า จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55ก. โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 1 ก่อนที่ ก. ถึงแก่ความตาย การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจาก ก. ซึ่งเป็นบิดา เพื่อให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามบันทึกเรื่องทรัพย์สินท้ายทะเบียนการหย่า มิได้ฟ้องคดีโดยใช้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ต่อเจ้ามรดกอันมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม ซึ่งกฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 193/30, ม. 1754 วรรคสาม
ป.วิ.พ. ม. 55


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2564
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิได้รับมรดกของ ส. ในส่วนที่ตกทอดได้แก่ ค. บิดาของโจทก์ และของ ห. แทนที่ ค. บิดาของโจทก์ซึ่งถึงแก่ความตายไปก่อน ห. เจ้ามรดก จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห. จดทะเบียนโอนที่ดินทรัพย์มรดกของ ห. ให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จากนั้นจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 นำไปจดทะเบียนจำนองไว้กับจำเลยที่ 4 ขอให้เพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินทรัพย์มรดกของ ส. และของ ห. ระหว่างจำเลยทั้งสี่ และให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห. จดทะเบียนโอนที่ดินมรดกของ ห. เฉพาะส่วนให้แก่โจทก์ กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ส. และของ ห. ให้แก่โจทก์ อันถือได้ว่าเป็นคดีมรดก หาใช่เป็นการฟ้องเรียกให้ผู้จัดการมรดกจัดการแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทของเจ้ามรดกตามหน้าที่ผู้จัดการมรดกแต่อย่างใด ทั้งเรื่องนี้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้ให้การต่อสู้ไว้ด้วยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความมรดกแล้วโจทก์ทำงานและพักอาศัยอยู่กรุงเทพมหานคร ไม่ได้มายุ่งเกี่ยวหรือครอบครองที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของ ส. และของ ห. เลย จำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองที่ดินทรัพย์มรดกของ ส. และของ ห. มาโดยตลอดนับแต่ ห. ถึงแก่ความตายโดยโจทก์และทายาทอื่นไม่เคยครอบครองหรือร่วมครอบครองทำประโยชน์ด้วย เมื่อ ห. ถึงแก่ความตายวันที่ 6 ธันวาคม 2532 โจทก์มาร่วมงานศพ ห. ถือได้ว่าโจทก์ได้รู้ถึงความตายของ ห. เจ้ามรดก แต่โจทก์มาฟ้องเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2556 จึงเกินกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่ ห. เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย คดีโจทก์จึงขาดอายุความมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง ฉะนั้นสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 แบ่งทรัพย์มรดก จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องตามมาตรา 1754 สิทธิในที่ดินทรัพย์มรดกของ ส. และของ ห. จึงเป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โดยสมบูรณ์ แม้จำเลยที่ 1 จะยื่นขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ห. และศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2550 ก็เป็นเวลาภายหลังจากที่ ห. เจ้ามรดกถึงแก่ความตายไปแล้วถึง 24 ปี นับจากที่โจทก์ฟ้องคดีนี้และเป็นเวลาภายหลังจากสิทธิของโจทก์ขาดอายุความมรดกไปแล้ว ทั้งการยื่นคำร้องขอจัดการมรดกของจำเลยที่ 1 สืบเนื่องมาจากการจัดการมรดกของ ห. มีเหตุขัดข้อง เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดกไม่ยินยอมให้จัดการมรดก แจ้งว่าต้องมีคำสั่งศาลตั้งผู้จัดการมรดกไปแสดงเสียก่อน ซึ่งก็ปรากฏว่าต่อมาจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินทรัพย์มรดกของ ส. และของ ห. ให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 แล้วจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 นำที่ดินดังกล่าวไปจดทะเบียนจำนองไว้กับจำเลยที่ 4 อันถือได้ว่าเป็นการดำเนินการเพื่อให้มีอำนาจเปลี่ยนแปลงหลักฐานทางทะเบียนเพื่อให้ได้สิทธิสมบูรณ์ในที่ดินทรัพย์มรดกเท่านั้น หาใช่เป็นการจัดการมรดกยังไม่เสร็จสิ้น และผู้จัดการมรดกครอบครองที่ดินมรดกไว้แทนทายาทอื่น
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1754 วรรคหนึ่ง
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
ติดต่อเราทาง LINE