Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 172 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 172 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 172” คืออะไร? 


“มาตรา 172” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 172 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ โมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างก็ได้
              ถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรม ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้แห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับ “

อ่านบทความเพิ่มเติมเรื่อง "โมฆะ โมฆียะ" ได้ที่นี่ คลิกเลย !

ค้นหาคำปรึกษาจริง, บทความเพิ่มเติมเรื่อง "โมฆะ โมฆียะ" ได้ที่นี่ คลิกเลย !

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 172” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 172 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1267/2565
ในวันชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้อง คำให้การและคำรับของคู่ความทั้งสองฝ่ายแล้ว เห็นว่า คดีพอวินิจฉัยได้แล้ว ให้งดสืบพยาน โดยคู่ความมิได้โต้แย้ง ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ย่อมมีอำนาจนำข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้แถลงคัดค้านข้อเท็จจริงที่จำเลยแถลงยอมรับไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า โจทก์และจำเลยตกลงกันในเรื่องการชำระค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ว่าจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามทุนทรัพย์ในราคาประเมินของเจ้าพนักงานที่ดิน มาวินิจฉัย ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวทำให้ราคาซื้อขายที่ดินเป็นราคาที่ต่ำกว่าเป็นจริง จึงเป็นโมฆะ เป็นผลเท่ากับไม่มีข้อตกลงให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมการโอนทั้งสิ้น จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 457 คือพึงออกใช้เท่ากันทั้งสองฝ่าย โจทก์จะอ้างว่าเป็นหน้าที่ของจำเลยฝ่ายเดียวตามหนังสือสัญญาหาได้ไม่

ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 150, ม. 172 วรรคสอง, ม. 173, ม. 457
ป.วิ.พ. ม. 104 วรรคหนึ่ง, ม. 185


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2565
สัญญาซื้อขายที่ดินที่คู่สัญญาไม่มีเจตนาไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง จำเลยผู้ขายจะต้องคืนเงินค่าที่ดินแก่ ส. ผู้ซื้อในฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ซึ่งมีอายุความหนึ่งปีนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 419โจทก์เป็นทายาทโดยธรรมของ ส. มีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่าโจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกเงินค่าซื้อที่ดินคืนตั้งแต่เมื่อใด เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ก่อนที่ ส. จะถึงแก่ความตาย ส. ได้ทวงถามเงินค่าซื้อที่ดินจากจำเลย พฤติการณ์เช่นนี้ ถือได้ว่า ส. รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกเงินคืนตั้งแต่ทวงถามแล้ว แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เวลาที่ ส. รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 172 วรรคสอง, ม. 193/10, ม. 419, ม. 456 วรรคหนึ่ง
ป.วิ.พ. ม. 84/1


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6065/2564
อันโมฆะกรรมนั้นเป็นการกระทำที่เสียเปล่า ไม่มีผลอย่างใดในทางกฎหมาย ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง ทั้งผู้มีส่วนได้เสียไม่จำกัดเฉพาะคู่กรณีที่ทำนิติกรรมเท่านั้น แต่บุคคลใดที่ได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์อันเกี่ยวกับโมฆะกรรม ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียทั้งสิ้น ดังนี้ หากจำเลยที่ 1 บังคับคดียึดทรัพย์จำนองที่ดินพิพาทขายทอดตลาดในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 913/2547 ของศาลชั้นต้น ย่อมมีผลกระทบต่อสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียและถูกโต้แย้งสิทธิมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองที่เป็นโมฆะ โดยไม่จำต้องฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเสียก่อน
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 172, ม. 1367
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที