“มาตรา 1698 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1698” คืออะไร?
“มาตรา 1698” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1698 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้น ย่อมตกไป
(๑) เมื่อผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทำพินัยกรรม
(๒) เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมเป็นผลใช้ได้ต่อเมื่อเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งสำเร็จลง และผู้รับพินัยกรรมตายเสียก่อนเงื่อนไขสำเร็จ หรือปรากฏเป็นที่แน่นอนอยู่แล้วว่าเงื่อนไขนั้นไม่อาจจะสำเร็จได้
(๓) เมื่อผู้รับพินัยกรรมบอกสละพินัยกรรม
(๔) เมื่อทรัพย์สินทั้งหมดที่ยกให้สูญหาย หรือถูกทำลายโดยผู้ทำพินัยกรรมมิได้ตั้งใจในระหว่างที่ผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิตอยู่ และผู้ทำพินัยกรรมมิได้ได้มาซึ่งของแทน หรือซึ่งสิทธิที่จะเรียกค่าทดแทนในการที่ทรัพย์สินนั้นสูญหายไป “
อ่านบทความเพิ่มเติมเรื่อง "พินัยกรรม" ได้ที่นี่ คลิกเลย !
ค้นหาคำปรึกษาจริง, บทความเพิ่มเติมเรื่อง "พินัยกรรม" ได้ที่นี่ คลิกเลย !
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1698” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1698 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3785 - 3787/2552
ผู้ตายได้ทำพินัยกรรมไว้ ยกทรัพย์ทั้งหมดให้แก่นาง ต. ผู้เป็นมารดาเพียงผู้เดียว แต่นาง ต. มารดาผู้รับพินัยกรรมได้ถึงแก่ความตายก่อนผู้ตาย ข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่นาง ต. มารดาย่อมตกไปตามมาตรา 1698 (1) ทรัพย์สินในส่วนที่เป็นมรดกจึงตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1699 ประกอบมาตรา 1620 วรรคหนึ่ง แม้พินัยกรรมดังกล่าวมีข้อกำหนดให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดก แต่ความปรากฏในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาว่าผู้คัดค้านที่ 2 ถึงแก่ความตายและการจัดการมรดกเป็นสิทธิเฉพาะตัว จึงไม่อาจตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องได้
เมื่อผู้ร้องกับผู้ตายอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสตามมาตรา 1457 ผู้ร้องจึงไม่เป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 วรรคสอง แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าบุคคลทั้งสองอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยาตั้งแต่ปี 2523 จนกระทั่งผู้ตายถึงแก่ความตาย ตลอดเวลาทำมาหาได้ร่วมกัน ดังนั้นทรัพย์สินที่ร่วมกันทำมาหาได้ ผู้ร้องจึงมีส่วนได้เสียในฐานะเจ้าของรวม เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายทรัพย์สินที่บุคคลทั้งสองร่วมกันทำมาหาได้ย่อมต้องแบ่งเป็นของผู้ร้องส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย ส่วนเด็กหญิง ญ. แม้จะมิใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายก็ตาม แต่ปรากฏตามสำเนาสูติบัตรว่าผู้ตายแจ้งว่าผู้ตายเป็นบิดาของเด็กหญิง ญ. ทั้งได้นำเด็กหญิง ญ. มาเลี้ยงดูอุปการะ ส่งเสียให้เล่าเรียนและให้ใช้ชื่อสกุลของผู้ตาย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงได้ว่าผู้ตายได้รับรองเด็กหญิง ญ. เป็นบุตร ดังนั้นเด็กหญิง ญ. จึงเป็นบุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้ว ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1627 และเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายตามมาตรา 1629 (1) ฉะนั้นผู้ร้องในฐานะส่วนตัวและฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิง ญ. จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามมาตรา 1713
สำหรับผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรที่ผู้ตายได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร ผู้คัดค้านที่ 1 จึงเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1547 มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1457, ม. 1547, ม. 1620, ม. 1627, ม. 1629, ม. 1698, ม. 1699, ม. 1713
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5006/2538
ข้อความในพินัยกรรมข้อ1ระบุว่าแม้พ.และล. จะได้แสดงเจตนายกทรัพย์สินของตนที่มีอยู่ขณะทำพินัยกรรมหรือที่จะมีขึ้นในภายหน้าให้แก่โจทก์ทั้งหมดแต่ผู้เดียวแต่พินัยกรรมข้อ2ระบุว่า"แต่พินัยกรรมนี้ให้เงื่อนไขดังนี้"การยกทรัพย์สินให้โจทก์ตามพินัยกรรมข้อ1จึงต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในพินัยกรรมข้อ2ด้วยทั้งพินัยกรรมข้อ2ข.ระบุว่าหากพ.ตายก่อนล. ให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนี้ทั้งหมดแสดงให้เห็นเจตนาของผู้ทำพินัยกรรมที่ประสงค์ให้พินัยกรรมข้อ2เป็นเนื้อหาของพินัยกรรมด้วยมิฉะนั้นแล้วก็ไม่มีความจำเป็นต้องระบุอีกเพราะมีข้อกำหนดให้ทรัพย์มรดกตกเป็นของโจทก์ตามพินัยกรรมข้อ1อยู่แล้วและพินัยกรรมข้อ2ข. ระบุให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมทั้งหมดจึงไม่มีทรัพย์ตามพินัยกรรมที่จะตกทอดแก่โจทก์ในกรณีที่ล. ถึงแก่ความตายภายหลังอีกพินัยกรรมดังกล่าวจึงมีเนื้อหาและผลบังคับตามข้อกำหนดในพินัยกรรมข้อ2เท่านั้นหาใช่ข้อกำหนดพินัยกรรมข้อ1มีผลบังคับเป็นหลักไม่ เมื่อบุตรของโจทก์อุ้มท้องอยู่ในขณะที่มีการทำพินัยกรรมได้แท้งก่อนที่จะคลอดออกมาและล.ผู้ทำพินัยกรรมร่วมกับพ. ได้ถึงแก่ความตายก่อนพ. ข้อกำหนดพินัยกรรมข้อ2ค.ที่ระบุให้ล. ยกทรัพย์ให้บุตรโจทก์ที่โจทก์อุ้มท้องอยู่ถ้าได้คลอดออกมามีชีวิตอยู่จึงเป็นอันตกไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1698(2)เพราะเงื่อนไขนั้นไม่อาจสำเร็จได้เมื่อล. ตามก่อนพ.พินัยกรรมจึงมีผลบังคับตามข้อ2ก.ที่ระบุให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมครึ่งหนึ่งอีกครึ่งหนึ่งแบ่งให้พ. ข้อกำหนดพินัยกรรมที่เหลือในข้อ2ข. ที่พ.แสดงเจตนาไว้ว่าถ้าพ.ตายก่อนล.ให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมทั้งหมดจึงตกไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1698(2)โจทก์จึงไม่อาจอ้างสิทธิในฐานะผู้รับทรัพย์มรดกของพ. ตามพินัยกรรมมาฟ้องจำเลยมิให้เกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดกของพ. ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1673, ม. 1698 (2)
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5006/2538
ข้อความในพินัยกรรมข้อ 1 ระบุว่า แม้ พ.และ ล.จะได้แสดงเจตนายกทรัพย์สินของตนที่มีอยู่ขณะทำพินัยกรรม หรือที่จะมีขึ้นในภายหน้าให้แก่โจทก์ทั้งหมดแต่ผู้เดียว แต่พินัยกรรมข้อ 2 ระบุว่า "แต่พินัยกรรมนี้ให้เงื่อนไขดังนี้" การยกทรัพย์สินให้โจทก์ตามพินัยกรรมข้อ 1 จึงต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในพินัยกรรมข้อ 2 ด้วย ทั้งพินัยกรรมข้อ 2 ข.ระบุว่า หาก พ.ตายก่อน ล. ให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนี้ทั้งหมด แสดงให้เห็นเจตนาของผู้ทำพินัยกรรมที่ประสงค์ให้พินัยกรรม ข้อ 2 เป็นเนื้อหาของพินัยกรรมด้วย มิฉะนั้นแล้วก็ไม่มีความจำเป็นต้องระบุอีกเพราะมีข้อกำหนดให้ทรัพย์มรดกตกเป็นของโจทก์ตามพินัยกรรมข้อ 1 อยู่แล้ว และพินัยกรรมข้อ 2 ข. ระบุให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมทั้งหมดจึงไม่มีทรัพย์ตามพินัยกรรมที่จะตกทอดแก่โจทก์ในกรณีที่ ล.ถึงแก่ความตายภายหลังอีก พินัยกรรมดังกล่าวจึงมีเนื้อหาและผลบังคับตามข้อกำหนดในพินัยกรรมข้อ 2 เท่านั้น หาใช่ข้อกำหนดพินัยกรรมข้อ 1 มีผลบังคับเป็นหลักไม่
เมื่อบุตรของโจทก์ที่โจทก์อุ้มท้องอยู่ในขณะที่มีการทำพินัยกรรมได้แท้งก่อนที่จะคลอดออกมา และ ล.ผู้ทำพินัยกรรมร่วมกับ พ.ได้ถึงแก่ความตายก่อน พ.ข้อกำหนดพินัยกรรม ข้อ 2 ค.ที่ระบุให้ ล.ยกทรัพย์ให้บุตรโจทก์ที่โจทก์อุ้มท้องอยู่ถ้าได้คลอดออกมามีชีวิตอยู่ จึงเป็นอันตกไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1698(2) เพราะเงื่อนไขนั้นไม่อาจสำเร็จได้ เมื่อ ล.ตายก่อน พ.พินัยกรรมจึงมีผลบังคับตามข้อ 2 ก. ที่ระบุให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมครึ่งหนึ่งอีกครึ่งหนึ่งแบ่งให้ พ. ข้อกำหนดพินัยกรรมที่เหลือในข้อ 2 ข. ที่ พ.แสดงเจตนาไว้ว่าถ้า พ.ตายก่อน ล.ให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมทั้งหมด จึงตกไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 1698 (2) โจทก์จึงไม่อาจอ้างสิทธิในฐานะผู้รับทรัพย์มรดกของ พ.ตามพินัยกรรมมาฟ้องจำเลยมิให้เกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดกของ พ.ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1673, ม. 1698 (2)