“มาตรา 1666 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1666” คืออะไร?
“มาตรา 1666” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1666 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ บทบัญญัติมาตรา ๙ วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายนี้ มิให้ใช้บังคับแก่พยานผู้ที่จะต้องลงลายมือชื่อตามมาตรา ๑๖๕๖, ๑๖๕๘, ๑๖๖๐ “
2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1666” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1666 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 4136/2529
พินัยกรรมแบบธรรมดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1656ซึ่งผู้ทำพินัยกรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือไว้พยานรับรองพินัยกรรมโดยลงลายพิมพ์นิ้วมือย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1656และ1666 พินัยกรรมซึ่งผู้ทำพินัยกรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือไว้มีพยานรับรองพินัยกรรมสองคนคนหนึ่งลงลายพิมพ์นิ้วมืออีกคนหนึ่งลงลายมือชื่อและมีพ.ลงลายมือชื่อในฐานะผู้ปกครองท้องที่เมื่อปรากฏว่าพ.อยู่รู้เห็นการทำพินัยกรรมมาแต่ต้นจนกระทั่งผู้ทำพินัยกรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือต่อหน้าพยานซึ่งลงลายมือชื่อรับรองพินัยกรรมที่สมบูรณ์คนหนึ่งแล้วพ.จึงลงลายมือชื่อในฐานะผู้ปกครองท้องที่แม้จะไม่ได้เขียนคำว่าพยานไว้ท้ายชื่อของพ.ก็ถือได้ว่าพ.เป็นพยานรับรองพินัยกรรมอีกคนหนึ่งเพราะพยานในพินัยกรรมไม่จำต้องเขียนคำว่าพยานไว้ท้ายชื่อเป็นแต่เพียงมีข้อความให้เห็นได้ว่าเป็นพยานก็ถือว่าเป็นพยานในพินัยกรรมแล้วพินัยกรรมจึงสมบูรณ์(อ้างฎีกาที่363/2492) พยานที่ลงลายมือชื่อเป็นพยานในพินัยกรรมขณะทำพินัยกรรมไม่จำต้องลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ทำพินัยกรรมอีกหนหนึ่งเพราะถือได้ว่าพยานทำหน้าที่สองฐานะคือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา9,1665และตามมาตรา1656(อ้างฎีกาที่111/2497) ฎีกาโจทก์ที่ว่าพินัยกรรมแบบธรรมดาจะต้องมีลายมือชื่อผู้เขียนกำกับไว้และระบุด้วยว่าเป็นผู้เขียนประเด็นดังกล่าวน่าจะต้องได้รับการวินิจฉัยโดยลึกซึ้งเป็นฎีกาที่ไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างใดเพียงแต่เสนอความเห็นว่าน่าจะต้องได้รับการวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ให้ลึกซึ้งเท่านั้นเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 9, ม. 1656, ม. 1665, ม. 1666
ป.วิ.พ. ม. 249
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2521
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองซึ่งมีผู้ลงลายพิมพ์นิ้วมือเป็นพยานคนหนึ่งและมีผู้ลงลายมือชื่อเป็นพยานอีกคนหนึ่ง กับมีนายอำเภอผู้จัดทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อในฐานะนายอำเภอนั้นการลงลายพิมพ์นิ้วมือเป็นพยานใช้ไม่ได้ พยานในพินัยกรรมจึงเหลือเพียงคนเดียวขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1658 และตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1705 แต่พินัยกรรมฉบับนี้ได้ทำต่อหน้านายอำเภอ จึงถือได้ว่านายอำเภอเป็นพยานในพินัยกรรมด้วยอีกผู้หนึ่งโดยไม่จำต้องมีข้อความเขียนบอกว่าลงชื่อเป็นพยานอีกฐานะหนึ่ง เมื่อรวมแล้วจึงเป็นพินัยกรรมที่ทำต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกันอนุโลมเข้าแบบพินัยกรรมธรรมดาตามมาตรา 1656,136(อ้างฎีกาที่ 1612/2515)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 9, ม. 136, ม. 1656, ม. 1658, ม. 1666, ม. 1705