Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 166 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 166 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 166” คืออะไร? 


“มาตรา 166” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 166 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ การข่มขู่ย่อมทำให้การแสดงเจตนาเป็นโมฆียะแม้บุคคลภายนอกจะเป็นผู้ข่มขู่ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 166” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 166 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 529/2538
จำเลยเป็นหนี้เงินโจทก์ค่าซื้อปุ๋ยตามฟ้อง แต่เมื่อไม่ปรากฎตามสัญญา และหนังสือขอซื้อปุ๋ยเชื่อว่า ในกรณีที่จำเลยค้างชำระหนี้ค่าปุ๋ยส่วนใดส่วนหนึ่ง โจทก์ผู้ขายมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่ค้างชำระแล้ว ดอกเบี้ยซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกจากจำเลย เพราะเหตุที่จำเลยค้างชำระหนึ้ค่าปุ๋ยจำนวน11,900 บาท นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา224 วรรคแรก จึงไม่ใช่ดอกเบี้ยค้างส่งตาม มาตรา 166 (เดิม) หากเป็นดอกเบี้ยที่กำหนดทดแทนค่าเสียหายภายหลังเมื่อศาลพิพากษาคดีอันไม่มีกฎหมาย-บัญญัติอายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายเช่นนี้ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 (เดิม) ซึ่งมีกำหนด 10 ปี
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 164 (เดิม), ม. 166 (เดิม), ม. 224 วรรคแรก


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2538
หนังสือยินยอมให้ผ่อนชำระหนี้เอกสารหมายล.2เป็นเพียงหนังสือของโจทก์ที่มีถึง ป. แจ้งว่าโจทก์ยอมรับการขอผ่อนชำระหนี้ต่างๆของ ถ. ที่มีต่อโจทก์เป็นรายเดือนตามที่ ป. เสนอขอผ่อนชำระหนี้แทนมาหาใช่เป็นการทำสัญญาระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับ ป. ลูกหนี้คนใหม่แต่ประการใดไม่ทั้งหนังสือดังกล่าวก็ไม่ได้พูดถึงหนี้ของจำเลยที่มีต่อโจทก์เลยกรณีจึงไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้หนี้ที่จำเลยมีต่อโจทก์จึงยังคงมีอยู่เช่นเดิมไม่ระงับสิ้นไป หนังสือรับสภาพหนี้และรับใช้หนี้ของ ท. ที่ทำไว้แก่โจทก์ตามเอกสารหมายล.1เป็นเพียงหนังสือที่ ท.ทำขึ้นฝ่ายเดียวโดย ท. ยอมตนเข้าเป็นลูกหนี้ของโจทก์เพื่อชำระหนี้ตามเช็คที่ ท.เป็นผู้สั่งจ่ายซึ่ง ถ. และจำเลยนำมาทำสัญญาขายลดไว้แก่โจทก์โดยโจทก์กับ ท. มิได้มีการทำสัญญากันเพื่อให้หนี้ของจำเลยที่มีต่อโจทก์ตามสัญญาขายลดเช็คระงับสิ้นไปและมาบังคับตามหนี้ดังที่ระบุไว้ในเอกสารหมายล.1แต่อย่างใดกรณีจึงไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากจำเลยมาเป็น ท. หนี้ตามสัญญาขายลดเช็คของจำเลยจึงไม่ระงับสิ้นไป สิทธิเรียกร้องตามสัญญาขายลดเช็คไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิมคือมีอายุความ10ปีนับแต่วันที่เช็คพิพาทถึงกำหนดเวลาใช้เงิน ฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยค้างส่งเกิน4ปีนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คฟ้องโจทก์ส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยค้างส่งจึงขาดอายุความโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเอาแก่จำเลยนั้นจำเลยมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในปัญหานี้ว่าไม่ถูกต้องอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 164, ม. 166, ม. 349, ม. 350, ม. 1002
ป.วิ.พ. ม. 249 วรรคหนึ่ง


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2538
หนังสือยินยอมให้ผ่อนชำระหนี้เอกสารหมาย ล.2 เป็นเพียงหนังสือของโจทก์ที่มีถึง ป. แจ้งว่าโจทก์ยอมรับการขอผ่อนชำระหนี้ต่าง ๆ ของ ถ.ที่มีต่อโจทก์เป็นรายเดือนตามที่ ป.เสนอขอผ่อนชำระหนี้แทนมา หาใช่เป็นการทำสัญญาระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับ ป.ลูกหนี้คนใหม่แต่ประการใดไม่ ทั้งหนังสือดังกล่าวก็ไม่ได้พูดถึงหนี้ของจำเลยที่มีต่อโจทก์เลย กรณีจึงไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ หนี้ที่จำเลยมีต่อโจทก์จึงยังคงมีอยู่เช่นเดิมไม่ระงับสิ้นไป
หนังสือรับสภาพหนี้และรับใช้หนี้ของ ท.ที่ทำไว้แก่โจทก์ตามเอกสารหมาย ล.1 เป็นเพียงหนังสือที่ ท.ทำขึ้นฝ่ายเดียว โดย ท.ยอมตนเข้าเป็นลูกหนี้ของโจทก์เพื่อชำระหนี้ตามเช็คที่ ท.เป็นผู้สั่งจ่ายซึ่ง ถ.และจำเลยนำมาทำสัญญาขายลดไว้แก่โจทก์ โดยโจทก์กับ ท.มิได้มีการทำสัญญากันเพื่อให้หนี้ของจำเลยที่มีต่อโจทก์ตามสัญญาขายลดเช็คระงับสิ้นไป และมาบังคับตามหนี้ดังที่ระบุไว้ในเอกสารหมาย ล.1 แต่อย่างใด กรณีจึงไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากจำเลยมาเป็น ท. หนี้ตามสัญญาขายลดเช็คของจำเลยจึงไม่ระงับสิ้นไป

สิทธิเรียกร้องตามสัญญาขายลดเช็คไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม คือมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่เช็คพิพาทถึงกำหนดเวลาใช้เงิน
ฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยค้างส่งเกิน 5 ปีนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ฟ้องโจทก์ส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยค้างส่งจึงขาดอายุความ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเอาแก่จำเลยนั้น จำเลยมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในปัญหานี้ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 249วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 164, ม. 166, ม. 349, ม. 350, ม. 1002
ป.วิ.พ. ม. 249 วรรคหนึ่ง
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที