Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 163 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 163 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 163” คืออะไร? 


“มาตรา 163” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 163 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าคู่กรณีต่างได้กระทำการโดยกลฉ้อฉลด้วยกันทั้งสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะกล่าวอ้างกลฉ้อฉลของอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อบอกล้างการนั้นหรือเรียกค่าสินไหมทดแทนมิได้ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 163” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 163 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2538
จำเลยร่วมให้การว่าอายุความตามสัญญาที่ฟ้องมีกำหนด2ปีซึ่งสิ้นสุดลงเมื่อวันที่2ธันวาคม2528โจทก์ไม่ฟ้องจำเลยร่วมภายในเวลาดังกล่าวฟ้องโจทก์ขาดอายุความดังนี้คำให้การของจำเลยร่วมได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความแล้วไม่จำต้องกล่าวว่าเหตุใดจึงมีอายุความ2ปีและอายุความเริ่มนับแต่เมื่อใดเพราะเป็นเพียงรายละเอียดซึ่งนำสืบในชั้นพิจารณาได้และเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทตามกฎหมายคำให้การของจำเลยร่วมจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสอง โจทก์เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีหลังจากศาลชั้นต้นชี้สองสถานแล้วเมื่อจำเลยร่วมให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ในเรื่องอายุความตามข้อต่อสู้ของจำเลยร่วมและจำเลยร่วมไม่ได้คัดค้านจะถือว่าจำเลยร่วมพอใจในประเด็นข้อพิพาทเพียงเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เท่านั้นหาได้ไม่คดีมีประเด็นเรื่องอายุความการที่ศาลอุทธรณ์ยกอายุความขึ้นวินิจฉัยจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น โจทก์ถมทรายงวดที่4ที่5เสร็จก่อนกำหนดเวลาส่งมอบตามสัญญาโจทก์จึงส่งมอบงานและส่งใบแจ้งหนี้แก่จำเลยร่วมลงวันที่1ธันวาคม2526ซึ่งจำเลยร่วมต้องชำระเงินภายใน3วันนับแต่วันได้รับใบแจ้งหนี้ตามข้อกำหนดในสัญญาแต่วันครบกำหนดคือวันที่4ธันวาคม2526เป็นวันอาทิตย์วันที่5เป็นวันหยุดราชการจำเลยร่วมจึงต้องชำระเงินภายในวันที่6ธันวาคม2526เมื่อจำเลยร่วมไม่ชำระโจทก์ย่อมเกิดสิทธิเรียกร้องบังคับได้อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่7ธันวาคม2526เป็นต้นไปเมื่อโจทก์เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีวันที่17มกราคม2529จึงเกิน2ปีคดีโจทก์ขาดอายุความ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 163, ม. 165 (7), ม. 169
ป.วิ.พ. ม. 57 (3), ม. 58, ม. 177 วรรคสอง, ม. 183


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2538
จำเลยร่วมให้การว่า อายุความตามสัญญาที่ฟ้องมีกำหนด 2 ปีซึ่งสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2528 โจทก์ไม่ฟ้องจำเลยร่วมภายในเวลาดังกล่าว ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ดังนี้ คำให้การของจำเลยร่วมได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความแล้ว ไม่จำต้องกล่าวว่าเหตุใดจึงมีอายุความ 2 ปี และอายุความเริ่มนับแต่เมื่อใด เพราะเป็นเพียงรายละเอียดซึ่งนำสืบในชั้นพิจารณาได้ และเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทตามกฎหมาย คำให้การของจำเลยร่วมจึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง
โจทก์เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีหลังจากศาลชั้นต้นชี้สองสถานแล้ว เมื่อจำเลยร่วมให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้ การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ในเรื่องอายุความตามข้อต่อสู้ของจำเลยร่วม และจำเลยร่วมไม่ได้คัดค้าน จะถือว่าจำเลยร่วมพอใจในประเด็นข้อพิพาทเพียงเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เท่านั้นหาได้ไม่ คดีมีประเด็นเรื่องอายุความ การที่ศาลอุทธรณ์ยกอายุความขึ้นวินิจฉัยจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ถมทรายงวดที่ 4 ที่ 5 เสร็จก่อนกำหนดเวลาส่งมอบตามสัญญา โจทก์จึงส่งมอบงานและส่งใบแจ้งหนี้แก่จำเลยร่วมลงวันที่ 1 ธันวาคม 2526ซึ่งจำเลยร่วมต้องชำระเงินภายใน 3 วัน นับแต่วันได้รับใบแจ้งหนี้ตามข้อกำหนดในสัญญา แต่วันครบกำหนดคือวันที่ 4 ธันวาคม 2526 เป็นวันอาทิตย์ วันที่ 5เป็นวันหยุดราชการ จำเลยร่วมจึงต้องชำระเงินภายในวันที่ 6 ธันวาคม 2526เมื่อจำเลยร่วมไม่ชำระ โจทก์ย่อมเกิดสิทธิเรียกร้องบังคับได้ อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2526 เป็นต้นไป เมื่อโจทก์เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีวันที่ 17 มกราคม 2529 จึงเกิน 2 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 163, ม. 165 (7), ม. 169
ป.วิ.พ. ม. 57 (3), ม. 58, ม. 177 วรรคสอง, ม. 183


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2988/2535
โจทก์ซึ่งเกิดในราชอาณาจักรไทยโดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7 (1) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 4 ประกอบมาตรา 10 ซึ่งบัญญัติให้บทบัญญัติมาตรา 7 (1) แห่งพ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่ พ.ร.บ.สัญชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ใช้บังคับด้วย
โจทก์มีสัญชาติไทยแล้วตั้งแต่เกิด แต่กลับถูกถอนสัญชาติไทยแล้วนำไปจดแจ้งไว้ในทะเบียนบ้านญวนอพยพอันเป็นสัญชาติอื่น ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิว่าไม่ได้เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทยตลอดมานับแต่ถูกถอนสัญชาติ ดังนั้นแม้โจทก์ฟ้องคดีเกิน 10 ปี นับแต่ทราบเหตุโต้แย้งสิทธิดังกล่าวคดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 163, ม. 164 (เดิม)
พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 ม. 7 (1), ม. 7 (1)
พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ม. 4, ม. 10
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที