“มาตรา 1573 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1573” คืออะไร?
“มาตรา 1573” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1573 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าบุตรมีเงินได้ ให้ใช้เงินนั้นเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูและการศึกษาก่อน ส่วนที่เหลือผู้ใช้อำนาจปกครองต้องเก็บรักษาไว้เพื่อส่งมอบแก่บุตร แต่ถ้าผู้ใช้อำนาจปกครองไม่มีเงินได้เพียงพอแก่การครองชีพตามสมควรแก่ฐานะ ผู้ใช้อำนาจปกครองจะใช้เงินนั้นตามสมควรก็ได้ เว้นแต่จะเป็นเงินได้ที่เกิดจากทรัพย์สินโดยการให้โดยเสน่หาหรือพินัยกรรมซึ่งมีเงื่อนไขว่ามิให้ผู้ใช้อำนาจปกครองได้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้น ๆ “
2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1573” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1573 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 742/2490
ทำสัญญากันว่า ยอมสละสิทธิและหน้าที่ปกครองบุตรของโจทก์ตลอดจนทรัพย์สินตามพินัยกรรม ให้โจทก์ผู้เป็นมารดาเป็นผู้ปกครองต่อไปตามกฎหมาย แต่มีข้อผูกมัดโจทก์ว่า โฉนดสำหรับที่ดินตามพินัยกรรมซึ่งยกให้แก่บุตรนั้นโจทก์ยอมมอบให้จำเลยเป็นผู้รักษาไว้ก่อน จนกว่าผู้รับมรดกจะบรรลุนิติภาวะ โจทก์จะไม่ขายหรือก่อภาระติดพันแก่ทรัพย์รายนี้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากจำเลยเป็นลายลักษณ์อักษร ดังนี้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1690 และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน สัญญาสมบูรณ์บังคับได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1573, ม. 1690, ม. 113
ป.วิ.พ. ม. 138
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903 - 906/2484
ผู้รับมฤดกคนหนึ่งได้เข้าเป็นผู้ปกครองเด็กตามพินัยกรรม์ของผู้ตายแล้ว จะยกอายุความมรฤกยันเด็กไม่ได้ เจตนาจะให้ที่ดินที่ลูกหนี้ตีใช้หนี้แก่เด็กจึงให้หลงชื่อเด็กเป็นผู้รับโอนในโฉนดดังนี้ ที่ดินนั้นยอมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเด็กตั้งแต่วันโอน
เจตนาจะยกที่ให้แก่เด็ก แต่จดทะเบียนเป็นโอนขายแก่เด็กเด็กก็ย่อมได้กรรมสิทธิ์
ตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกัน ฝ่ายหนึ่งโอนทะเบียนให้ อีกฝ่ายหนึ่งทำหนังสือขายให้แก่คนภายนอกโดยผู้รับแลกเปลี่ยนเป็นผู้รับเงินราคาที่ขายได้นั้น อีกฝ่ายหนึ่งจะฟ้องเรียกเงินที่ขายได้นั้นไม่ได้
เงินค่าเช่าที่ดินและโรงเรือนย่อมเป็นของเจ้าของที่ดิน
เด็กอายุ 17 ปี ตายในขณะที่อยู่ในความปกครองของธิดา ส่วนมารดาตายไปก่อนแล้ว มฤดกตกได้แก่บิดาผู้เดียว พี่น้อง ร่วมบิดามารดาไม่มีสิทธิได้รับมฤดก อ้างฎีกาที่ 567/2456
รับเงินของผู้อื่นไว้รักษาและหาผลประโยชน์ เดิมฝากธนาคารไว้ ภายหลังไม่ปรากฎว่าได้ถอนไปหรือได้นำไปหาผลประโยชน์อย่างไร ศาลคิดค่าผลประโยชน์ให้ในอัตราขั้นต่ำที่ฝากธนาคาร เงินรายได้ที่เก็บได้จากทรัพย์ของเด็กนั้น ถ้าเด็กนำสืบไม่ได้ว่าผู้ปกครองใดได้เท่าใดแล้ว ศาลไม่คิดค่าผลประโยชน์ให้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 118, ม. 136, ม. 162, ม. 172, ม. 456, ม. 518, ม. 523, ม. 525, ม. 657, ม. 1336, ม. 1556, ม. 1569, ม. 1573, ม. 1687
ป.ที่ดิน
พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน ร.ศ.127 ม. 35, ม. 39
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมลักษณะมรดก ร.ศ.121