Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1538 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1538 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1538” คืออะไร? 


“มาตรา 1538” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1538 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ในกรณีที่ชายหรือหญิงสมรสฝ่าฝืนมาตรา 1452 เด็กที่เกิดในระหว่างการสมรสที่ฝ่าฝืนนั้น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีซึ่งได้จดทะเบียนสมรสครั้งหลัง
              ในกรณีที่หญิงสมรสฝ่าฝืนมาตรา 1452 ถ้ามีคำพิพากษาถึงที่สุดแสดงว่าเด็กมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีซึ่งได้จดทะเบียนสมรสครั้งหลัง ให้นำข้อสันนิษฐานในมาตรา 1536 มาใช้บังคับ
              ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่เด็กที่เกิดภายในสามร้อยสิบวันนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้การสมรสเป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืนมาตรา ๑๔๕๒ ด้วย “

อ่านบทความเพิ่มเติมเรื่อง "คู่สมรสนอกใจ" ได้ที่นี่ คลิกเลย !

ค้นหาคำปรึกษาจริง, บทความเพิ่มเติมเรื่อง "ชู้" ได้ที่นี่ คลิกเลย !


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1538” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1538 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2049/2520
คดีก่อนที่จำเลยฟ้อง พ.มารดาโจทก์เพื่อให้ชำระหนี้ของผู้ตายซึ่งเป็นบิดาโจทก์หากไม่ชำระขอให้บังคับจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างนั้น เป็นกรณีเจ้าหนี้กองมรดกบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาทของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1737,1738 เมื่อ พ.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยว่า พ.จะโอนที่ดินกับบ้านซึ่งนำมาจำนองไว้นั้นให้แก่จำเลยเป็นการชำระหนี้จำนอง เมื่อ พ.ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก ถ้า พ.ไม่ดำเนินการก็ให้บังคับจำนองเอาทรัพย์จำนองขายทอดตลาดชำระหนี้ได้ทันที และศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ดังนี้ ถือว่า พ.กระทำไปในฐานะทายาทของผู้ตายเพื่อจัดการเกี่ยวกับมรดกหาใช่กระทำในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ไม่ แม้โจทก์จะมีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายก็ตาม กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 1546 ที่จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน โจทก์จึงจะมาฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีก่อนไม่ผูกพันโจทก์หาได้ไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1538, ม. 1546, ม. 1737, ม. 1738
ป.วิ.พ. ม. 138, ม. 145

 


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 916/2519
โจทก์กับ ล. เป็นสามีภรรยากันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรด้วยกันคือ เด็กชาย ธ. เด็กชาย ธ. จึงเป็นบุตรนอกสมรส อำนาจปกครองย่อมตกอยู่กับโจทก์ผู้เป็นมารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1538 (5) โจทก์มีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตรและเรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมายได้ ตามมาตรา 1539 (1) (4)
การที่โจทก์ขอรับเด็กชาย ธ. คืนจากจำเลยซึ่งเป็นบิดาของ ล. ถือว่าเป็นการกำหนดที่อยู่ใหม่ของบุตร และการที่จำเลยไม่ยอมส่งมอบเด็กชาย ธ. ให้โจทก์ จนกระทั่งโจทก์ต้องร้องเรียนต่อเจ้าพนักงานตำรวจ จำเลยก็ยังไม่ยอมมอบบุตรให้โจทก์อีก ทั้ง ๆ ที่ ล. ไม่ขัดข้องที่จะให้เด็กชาย ธ. ไปอยู่กับโจทก์ ดังนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการกักบุตรของโจทก์ไว้โดยไม่ชอบ สิทธิของโจทก์ถูกโต้แย้งแล้ว โจทก์จึงฟ้องจำเลยผู้โต้แย้งสิทธิให้ส่งมอบบุตรได้ตามมาตรา 55 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ไม่จำเป็นต้องฟ้อง ล.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1538 (5), ม. 1539 (1)
ป.วิ.พ. ม. 55


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1684/2518
จำเลยแต่งงานกับนาง น. โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส จำเลยจึงไม่ใช่ทายาท ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของ น. ในคดีเดิมโจทก์ไม่ได้ฟ้อง น. เป็นจำเลย หากแต่ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้รับมรดกของ น. แม้คำพิพากษาในคดีเดิมจะฟังว่า น. กู้เงินโจทก์ไปจริงก็ตาม แต่ในคดีดังกล่าวโจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทของ น. เป็นจำเลย การที่โจทก์นำยึดที่พิพาทซึ่งมารดาของ น. ยกให้ น. ก่อนแต่งงานกับจำเลย โดยมีชื่อ น. เป็นเจ้าของแต่ผู้เดียว จึงเป็นการยึดทรัพย์ของผู้อื่นมิใช่ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ไม่มีสิทธินำยึด
ผู้ร้องทั้งสามเป็นบุตรของ น. เกิดจากจำเลย ในระหว่างที่ น. ยังมีชีวิตอยู่ น. จึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้ร้อง ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1538เมื่อ น. ถึงแก่กรรม ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้เยาว์จึงไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมและเป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกของ น.เมื่อศาลมีคำสั่งให้ตั้ง ส. เป็นผู้แทนเฉพาะคดีของผู้ร้องทั้งสาม ส. จึงมีอำนาจดำเนินคดีแทนผู้ร้องทั้งสามได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 วรรคสุดท้ายและมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้ โดยไม่จำเป็นต้องได้รับมรดกของ น. ก่อน
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1373, ม. 1538, ม. 1599
ป.วิ.พ. ม. 55, ม. 56, ม. 145, ม. 278, ม. 283, ม. 288
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
ติดต่อเราทาง LINE