“มาตรา 1511 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1511” คืออะไร?
“มาตรา 1511” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1511 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ การสมรสที่ได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนนั้น ให้ถือว่าสิ้นสุดลงในวันที่คำพิพากษาถึงที่สุด แต่จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่จะได้จดทะเบียนการเพิกถอนการสมรสนั้นแล้ว “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1511” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1511 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 841/2509
หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาได้มีบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482 ซึ่งเห็นได้ชัดว่าต้องเป็นหนี้ที่ก่อขึ้นต้องตามที่บัญญัติไว้ 4 ประการ จึงให้ถือว่าเป็นหนี้ร่วมกัน ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ในระหว่างที่จำเลยกับผู้ร้องขัดทรัพย์เป็นสามีภริยากัน ต้องสันนิษฐานว่าจำเลยกู้เงินโจทก์มาเพื่อใช้จ่ายในครอบครัวและเป็นหนี้ร่วมกันอันผู้ร้องขัดทรัพย์จะต้องชำระหนี้ด้วยเลย ดังนั้น เมื่อจำเลยกับผู้ร้องขัดทรัพย์ได้หย่าขาดจากสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายและแบ่งทรัพย์สินกันเสร็จเรียบร้อย โจทก์ก็ไม่มีอำนาจจะยึดห้องแถวอันตกเป็นของผู้ร้องขัดทรัพย์ได้
จำเลยกับผู้ร้องขัดทรัพย์ได้หย่าขาดจากสามีภริยากันโดยจดทะเบียนการหย่าโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ย่อมมีผลใช้ยันบุคคลภายนอกได้ด้วย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1482, ม. 1499, ม. 1511, ม. 1512
ป.วิ.พ. ม. 288
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1028/2506
จำเลยจะอ้างในคำให้การต่อสู้คดีว่า การสมรสระหว่างจำเลยกับบุคคลอื่นเป็นโมฆะหรือโมฆียะไม่ได้ นอกจากศาลพิพากษาว่าเป็นเช่นนั้น
การเพิกถอนการสมรสมีผลแต่เวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1496 โดยอนุโลมตามมาตรา 1511
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1445 (3), ม. 1488, ม. 1490, ม. 1496, ม. 1511
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 988/2485
ผู้ร้องร้องขัดทรัพย์ขึ้นมา. โจทก์แก้ว่าผู้ร้องเป็นภรรยาจำเลยต้องรับผิดร่วมด้วย. ภายหลังโจทก์จะขอแก้ว่า ผู้ร้องเป็นภรรยาของผู้อื่น และได้มาฟ้องความโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามีเช่นนี้. ต้องทำเป็นคำร้องไม่ใช่คำแถลงการณ์.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1451, ม. 1511
ป.วิ.พ. ม. 180, ม. 181, ม. 57