Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 143 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 143 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 143” คืออะไร? 


“มาตรา 143” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 143 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ทรัพย์นอกพาณิชย์ หมายความว่า ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้และทรัพย์ที่โอนแก่กันมิได้โดยชอบด้วยกฎหมาย “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 143” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 143 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8368/2538
จำเลยนอกจากจะให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยไม่ได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์หลอกลวงให้จำเลยลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับหนังสือมอบอำนาจโดยไม่ได้กรอกข้อความ จำเลยยังได้ให้การอีกว่า ในขณะที่จำเลยกระทำการดังกล่าว จำเลยไม่สามารถรู้สึกผิดชอบอย่างบุคคลทั่วไป การแสดงเจตนาของจำเลยเป็นไปโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นว่า จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทและลงลายมือชื่อในเอกสารท้ายฟ้องรวมทั้งหนังสือมอบอำนาจให้โอนที่ดินพิพาทโดยถูกโจทก์หลอกลวงอันเป็นเหตุให้นิติกรรมซื้อขายเป็นโมฆะหรือไม่ แต่ก็ได้วินิจฉัยว่าจำเลยป่วยเป็นโรคจิตทางอารมณ์และเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล เป็นผู้มีจิตไม่สมประกอบจนศาลมีคำสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ โจทก์หลอกลวงจำเลยในขณะที่จำเลยมีสติสัมปชัญญะไม่สมประกอบ ให้ส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาท และลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับหนังสือมอบอำนาจโดยจำเลยไม่มีเจตนาที่จะขายที่ดินให้แก่โจทก์ นิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นโมฆะ กรณีถือได้ว่าข้อที่ว่า ในขณะที่จำเลยกระทำการดังกล่าวจำเลยมีสติสัมปชัญญะหรือรู้สำนึกผิดชอบหรือไม่ เป็นประเด็นแห่งคดีรวมอยู่ในประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ด้วย ทั้งโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่า ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นที่กำหนดไว้แต่อย่างใด คงอุทธรณ์โต้แย้งว่า โจทก์ไม่ได้หลอกลวงจำเลยและจำเลยมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ อันถือเป็นการยอมรับว่าประเด็นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเป็นประเด็นในคดี ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์แก้ไขประเด็นเป็นว่า ขณะที่จำเลยลงลายมือชื่อในเอกสารตามฟ้อง จำเลยสามารถรู้สำนึกผิดชอบอย่างบุคคลทั่วไปหรือไม่ จึงยังคงอยู่ในประเด็นแห่งคดี และที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวก็หาเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
โจทก์รู้ดีว่าจำเลยป่วยมีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ แม้อาการป่วยของจำเลยจะไม่ถึงขนาดไม่สามารถรู้สำนึกผิดชอบอันเป็นการขาดเจตนาในการทำนิติกรรมก็ตาม แต่เมื่อจำเลยกระทำในขณะที่มีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์และโจทก์รู้อยู่แล้ว สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทที่จำเลยกระทำไปก็ตกเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ.มาตรา 32 (เดิม) จำเลยมีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมดังกล่าวตาม ป.พ.พ.มาตรา 137 (เดิม) เมื่อจำเลยได้บอกล้างภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 143 (เดิม) แล้ว สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจึงตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกตาม ป.พ.พ. มาตรา 138 วรรคหนึ่ง (เดิม)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 137 (เดิม), ม. 176, ม. 143 (เดิม)
ป.วิ.พ. ม. 177 วรรคสอง, ม. 183


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 395/2538
ที่ดินที่จำเลยขายให้แก่โจทก์ที่1บางส่วนเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่สงวนไว้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะจึงเป็นทรัพย์นอกพาณิชย์ซึ่งไม่อาจซื้อขายกันได้สัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาซื้อขายที่ดินส่วนดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นโมฆะเท่ากับว่าจำเลยไม่เคยทำสัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาซื้อขายที่ดินส่วนดังกล่าวกับโจทก์ที่1จึงไม่มีสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาซื้อขายที่ดินส่วนดังกล่าวที่จำเลยจะต้องรับผิดในการรอนสิทธิ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 143, ม. 150, ม. 475, ม. 1304, ม. 1305


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1835/2534
แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าในช่วงเวลาที่มีการโอนขายรถยนต์พิพาทส.ป่วยมากทั้งทางร่างกายและจิตใจ แต่ก็ปรากฏในคำขอโอนทะเบียนรถยนต์ว่า ส.ลงชื่อในช่องผู้โอนในเอกสารดังกล่าวโดยวิธีลงลายมือชื่อ แสดงว่าขณะที่ ส.โอนขายรถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยทั้งสองนั้น ส.มิได้ขาดเจตนาในการทำนิติกรรมเสียเลย แต่การกระทำโดยมีเจตนาบกพร่อง เนื่องจากขณะนั้น ส.มีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ซึ่งจำเลยทั้งสองในฐานะที่เป็นญาติสนิทย่อมต้องทราบดี นิติกรรมโอนขายรถยนต์พิพาท จึงตกเป็นโมฆียะ โจทก์ในฐานะทายาทย่อมมีสิทธิบอกล่างโมฆียกรรมดังกล่าว และการที่โจทก์ฟ้องคดี ถือได้ว่าเป็นการบอกล้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 143 แล้วนิติกรรมโอนขายรถยนต์พิพาทจึงตกเป็นโมฆะมาแต่แรก.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 32, ม. 137, ม. 138, ม. 143
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที