“มาตรา 1428 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1428” คืออะไร?
“มาตรา 1428” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1428 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ คดีอันเกี่ยวกับสิทธิเก็บกินในระหว่างเจ้าของทรัพย์สินกับผู้ทรงสิทธิเก็บกิน หรือผู้รับโอนนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อเกินปีหนึ่งนับแต่วันสิทธิเก็บกินสุดสิ้นลง แต่ในคดีที่เจ้าของทรัพย์สินเป็นโจทก์นั้น ถ้าเจ้าของไม่อาจรู้ว่าสิทธิเก็บกินสุดสิ้นลงเมื่อใด ท่านให้นับอายุความปีหนึ่งนั้นตั้งแต่เวลาที่เจ้าของทรัพย์สินได้รู้ หรือควรรู้ว่าสิทธิเก็บกินสุดสิ้นลง “
1 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1428” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1428 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1548/2503
ตั้งแต่จำเลยจดทะเบียนสิทธิเก็บกินสวนพิพาทให้โจทก์ตลอดชีวิตโจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองและไม่เคยใช้สิทธิเก็บกินเลยตลอดมาเป็นเวลา 7-8 ปี แล้วฝ่ายจำเลยได้ใช้สิทธิครอบครองและเก็บกินตลอดมาโจทก์ก็ยังฟ้องขอให้บังคับจำเลยตามสิทธินี้ได้ คดีเช่นนี้มีสิทธิครอบครองและอายุความฟ้องร้อง 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 ไม่ใช่อายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1374,1375 หรือ 1428
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 164, ม. 1374, ม. 1375, ม. 1428, ม. 1417, ม. 1418