Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1372 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1372 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1372” คืออะไร? 


“มาตรา 1372” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1372 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ สิทธิซึ่งผู้ครอบครองใช้ในทรัพย์สินที่ครอบครองนั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสิทธิซึ่งผู้ครอบครองมีตามกฎหมาย “


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1372” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1372 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2543
จำเลยมิใช่ผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาท ฉะนั้น การออก น.ส. 3 ก. เพื่อแสดงว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองและได้ทำประโยชน์ในที่พิพาท จึงเป็นการออก น.ส. 3 ก. ที่คลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริง โจทก์ชอบที่จะดำเนินการออก น.ส. 3 ก. สำหรับที่พิพาทตามสิทธิของโจทก์ จะบังคับให้จำเลยซึ่งไม่มีสิทธิครอบครองในที่พิพาทโอนสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์หาได้ไม่ และแม้โจทก์จะมิได้ขอให้เพิกถอน น.ส. 3 ก. ที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาก็มีอำนาจสั่งเพิกถอน น.ส. 3 ก. ที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1372
ป.วิ.พ. ม. 142 (5), ม. 246, ม. 247

 


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5602/2542
จำเลยที่ 2 ขายที่ดินพิพาทและส่งมอบที่ดินที่ขายให้แก่โจทก์ครอบครองแล้ว โดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นผู้ขายและจำเลยที่ 2 ทำสัญญาไว้เป็นสาระสำคัญต่อโจทก์ว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์รวมกับที่ดินของจำเลยที่ 2 แล้วจึงจะโอนแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 แล้วครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาก่อนที่จำเลยที่ 1 จะได้ซื้อที่ดินของจำเลยที่ 2 โจทก์ย่อมเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 ชอบที่จะแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามข้อตกลงกัน การที่จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 2 โดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น เมื่อตามสัญญาปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ระบุข้อความไว้เองว่า ซื้อที่นา ไม่ได้ซื้อที่ดินพิพาทด้วย เนื่องจากที่ดินพิพาทมีสิ่งปลูกสร้าง อีกทั้งก่อนที่จำเลยที่ 1 จะซื้อก็ได้ไปดูที่ดินแล้วก็เห็นว่าโจทก์ปลูกบ้านอยู่ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทมาก่อน และโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาโดยสุจริต เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายครอบครองและร้องขอต่อศาลให้ปลดเปลื้องการรบกวนของจำเลยที่ 1 ที่ให้โจทก์รื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินพิพาท การใช้สิทธิของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์จึงชอบแล้ว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 5, ม. 1367, ม. 1369, ม. 1370, ม. 1372


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2304/2532
ก่อนเจ้ามรดกถึงแก่ความตายได้ พูดยกที่ดินมือเปล่าให้แก่บุตรแต่ละคน โดย บุตรคนไหนปลูกบ้านอยู่ในที่ดินส่วนใด ก็ยกที่ดินส่วนนั้นให้ โจทก์ซึ่ง เป็นบุตรเจ้ามรดกได้ ปลูกบ้านในที่ดินพิพาท และได้ครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของตลอดมา แม้ต่อมาภายหลังจำเลยจะไปขอรับมรดกที่ดินพิพาท ซึ่ง มี ส.ค.1 แล้วขอให้ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลย แต่ เมื่อโจทก์ยังคงครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา จึงหาทำให้จำเลยได้ สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทไม่.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1367, ม. 1370, ม. 1372, ม. 1374, ม. 1375, ม. 1378, ม. 1379
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
ติดต่อเราทาง LINE