Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1369 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1369 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1369” คืออะไร? 


“มาตรา 1369” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1369 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินไว้ ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลนั้นยึดถือเพื่อตน “


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1369” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1369 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4138/2564
จำเลยให้การต่อสู้ว่า ตนเองมีสิทธิครอบครองที่ดินแปลงพิพาทดีกว่าโจทก์ แต่จำเลยกลับให้การต่อมาว่า โจทก์ทราบข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ยอมชำระค่าเช่าตั้งแต่ปี 2553 ต่อมาปี 2555 โจทก์รับโอนที่ดินมาจากมารดา การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องขับไล่จำเลยเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2560 คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ จึงเห็นได้ว่าคำให้การในตอนต้นของจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองในที่พิพาท ส่วนคำให้การในตอนหลังกลับยอมรับสิทธิของโจทก์เรื่องจำเลยไม่ชำระค่าเช่าให้โจทก์ คำให้การของจำเลยจึงขัดแย้งกันเอง เป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสองจำเลยเช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์ แม้ที่ดินส่วนนี้อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ตาม แต่ก็เพียงทำให้โจทก์ไม่สามารถอ้างสิทธิใด ๆ ขึ้นโต้แย้งรัฐได้เท่านั้น แต่ระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นราษฎรด้วยกัน การที่จำเลยเช่าที่ดินส่วนที่ไม่มีเอกสารสิทธิเนื้อที่ 23 ไร่ 96 ตารางวาจากโจทก์ โดยจำเลยยอมเสียค่าเช่าหรือค่าตอบแทนแก่โจทก์ ถือว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์มีสิทธิดีกว่าจำเลย การที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทเป็นการอาศัยสิทธิของโจทก์ จึงเป็นการครอบครองแทนโจทก์ โจทก์มีสิทธิในที่ดินพิพาทส่วนนี้ดีกว่าจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 537, ม. 1304, ม. 1367, ม. 1369
ป.วิ.พ. ม. 55, ม. 177
พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ม. 14

 


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6150/2558
เดิมที่ดินพิพาทเป็นของ น. มิใช่เป็นของจำเลย คำให้การของจำเลยในตอนแรกที่ว่า จำเลยซื้อที่ดินมาจาก น. และ น. ส่งมอบที่ดินให้แก่จำเลยแล้ว เป็นเพียงการอ้างถึงที่มาของการเข้าครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของ หาใช่เป็นการยืนยันว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยเองมาแต่เดิมไม่ คำให้การของจำเลยในตอนหลังที่อ้างการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทหลังจากที่ซื้อมา จึงมิได้ขัดแย้งกับคำให้การในตอนแรกหรือเท่ากับเป็นการอ้างครอบครองปรปักษ์ที่ดินของตนเองซึ่งไม่อาจเกิดขึ้นได้แต่อย่างใดไม่
โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทในทะเบียนที่ดิน ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 เมื่อจำเลยกล่าวอ้างว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินอยู่ในขณะที่พิพาทกัน ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1369 ให้สันนิษฐานว่าเป็นการยึดถือเพื่อตน และ ป.พ.พ. มาตรา 1370 ให้สันนิษฐานว่าครอบครองโดยสุจริตโดยความสงบและโดยเปิดเผย เป็นเพียงบทบัญญัติของการยึดถือครอบครองทรัพย์สินทั่วไป เมื่อที่ดินพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดไว้ในทะเบียนที่ดินซึ่งกฎหมายต้องการให้แสดงออกถึงกรรมสิทธิ์ในทางทะเบียนยิ่งกว่าการยึดถือครอบครอง จึงต้องบังคับตาม มาตรา 1373 ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1369, ม. 1370, ม. 1373
ป.วิ.พ. ม. 84/1


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9131/2551
แม้สัญญาให้ระหว่างโจทก์ผู้ให้กับจำเลยผู้รับได้กำหนดเงื่อนไขรายละเอียดไว้ในสัญญาโดยให้จำเลยปลูกบ้านและกรีดยางพาราในที่ดินของโจทก์พร้อมทั้งให้ส่งรายได้ส่วนแบ่งให้โจทก์อันเป็นการให้โดยมีค่าภาระติดพันก็ตาม แต่ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงบุคคลสิทธิคงมีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญาคือโจทก์กับจำเลยเท่านั้นไม่มีผลผูกพันผู้ร้องทั้งสามซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับสิทธิในที่ดินจากจำเลย เพราะไม่ปรากฏว่าผู้ร้องทั้งสามได้ตกลงยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวไว้และอยู่รู้เห็นด้วยขณะทำสัญญาให้ดังกล่าวแต่อย่างใด เมื่อขณะจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้ร้องที่ 3 จำเลยยังเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินย่อมมีสิทธิต่าง ๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 บัญญัติไว้ และไม่ใช่กรณีผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยในฐานะผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินจึงมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกที่ดินให้แก่ผู้ร้องที่ 1 และที่ 2 โดยให้ผู้ร้องที่ 3 เข้าครอบครองเก็บเกี่ยวทำประโยชน์ในที่ดินได้ ดังนั้น ผู้ร้องทั้งสามจึงได้ประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่ายึดถือเพื่อตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1369 เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบหักล้าง ผู้ร้องทั้งสามจึงได้สิทธิครอบครองที่ดิน การครอบครองที่ดินของผู้ร้องทั้งสามจึงไม่ใช่ครอบครองที่ดินในฐานะบริวารของจำเลย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 528, ม. 850, ม. 1336, ม. 1369
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
ติดต่อเราทาง LINE