“มาตรา 1335 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1335” คืออะไร?
“มาตรา 1335” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1335 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น ท่านว่าแดนแห่งกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นกินทั้งเหนือพื้นดินและใต้พื้นดินด้วย “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1335” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1335 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 796/2552
จำเลยปลูกสร้างบ้านคร่อมลงบนที่ดินพิพาทและบนที่ดินของจำเลยอีกแปลงหนึ่งที่อยู่ติดกันโดยจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินทั้งสองแปลง จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะปลูกสร้างได้ในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ กรณีจึงมิใช่เป็นการปลูกโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1312 ต่อมาเมื่อที่ดินพิพาทถูกบังคับคดีนำออกขายทอดตลาด โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทได้จากการขายทอดตลาด ไม่ว่าโจทก์จะรู้หรือไม่รู้ว่ามีบ้านและสิ่งปลูกสร้างอยู่ในที่ดินพิพาท แต่ที่ดินพิพาทก็เป็นของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา จึงถือว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาโดยสุจริต สิทธิของโจทก์ที่ได้ที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดย่อมไม่เสียไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 โจทก์จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และหลังจากโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดแล้ว ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า โจทก์ได้ก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินเป็นคุณแก่จำเลย โดยยอมให้จำเลยเป็นเจ้าของบ้านบนที่ดินของโจทก์ต่อไป และโจทก์ในฐานะมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทย่อมมีแดนแห่งกรรมสิทธิ์ที่ดินและมีสิทธิใช้สอย จำหน่าย ได้ดอกผลกับมีสิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1335, 1336 เมื่อโจทก์ผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินไม่ประสงค์จะให้จำเลยปลูกบ้านและสิ่งปลูกสร้างอยู่บนที่ดินโจทก์อีกต่อไปและได้บอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนออกจากที่ดินพิพาทแล้วจำเลยเพิกเฉย จึงเป็นการละเมิดทำให้โจทก์ไม่อาจใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้ โจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีอำนาจขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนบ้านและสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์ได้หาใช่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตอย่างใด และกรณีมิใช่ไม่มีบทกฎหมายที่จะยกขึ้นปรับแก่คดีอันจะต้องอาศัยบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาวินิจฉัยคดีตามมาตรา 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 4, ม. 1312, ม. 1330, ม. 1335, ม. 1336
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5942/2541
กำแพงรั้วพิพาทปลูกสร้างอยู่ในเขตที่ดินของจำเลยโจทก์จึงไม่ใช่เจ้าของรวมในกำแพงรั้วพิพาท แม้โจทก์จะอาศัย ใช้เป็นแนวแบ่งเขตที่ดินมานานเท่าใด ก็ไม่ทำให้โจทก์ มีสิทธิเป็นเจ้าของรวมในกำแพงรั้วพิพาท เพราะโจทก์มิได้ ครอบครองกำแพงรั้วพิพาท ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1335 บัญญัติถึงลักษณะของแดน กรรมสิทธิ์ที่ดินว่ากินทั้งเหนือพ้นพื้นดินและใต้พื้นดินเฉพาะในอาณาเขตที่ดินของตนเท่านั้น หาได้หมายความรวมถึงแดน กรรมสิทธิ์เหนือพื้นดินในสิ่งปลูกสร้างที่ปลูกสร้างโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ในเขตที่ดินของผู้อื่นซึ่งอยู่ใกล้ชิดติดกันไม่ เมื่อกำแพงรั้วพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของจำเลย และโจทก์มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รวม โจทก์จึงไม่เสียแดน กรรมสิทธิ์รวมในการที่ไม่ได้ใช้รั้วพิพาท อีกทั้งการที่จำเลยก่อสร้างผนังอาคารทับแนวรั้วเดิมโดยไม่ได้ขออนุญาต ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหนังสือให้จำเลยระงับการก่อสร้างและมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนส่วนที่ ต่อเติมนั้น ก็เป็นกรณีที่จำเลยกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เป็นคนละประเด็นกับกรณีที่จำเลย ทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ถือไม่ได้ว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์ การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทก็เนื่องจากจำเลยไม่ได้ขออนุญาตก่อสร้างต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นอันเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 หาใช่ประเด็นที่จำเลย ละเมิดต่อโจทก์และโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 420, ม. 1335, ม. 1336, ม. 1344
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6586/2538
โจทก์ไม่ได้ซื้อที่ดินและตึกแถวมาจากส. แต่โจทก์ซื้อจากการขายทอดตลาดซึ่งเป็นการขายเฉพาะที่ดินและตึกแถวเท่านั้นไม่ได้ขายสิทธิอื่นใดของส. ที่มีอยู่เหนือที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่14373ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินที่โจทก์ซื้อมาดังนั้นแม้ส.จะได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวมาดังที่โจทก์อ้างโจทก์ก็ไม่อาจนำเอาระยะเวลาที่ส. ครอบครองมานับรวมด้วยได้โจทก์ครอบครองที่พิพาทตั้งแต่ซื้อมายังไม่ถึง10ปี จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทการที่จะมีผู้ใดก่อสร้างกำแพงในที่พิพาทก็ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ แม้โจทก์จะเคยได้รับความสะดวกจากการที่ได้เปิดหน้าต่างรับลมมาแต่แรกก็ตามแต่ขณะนั้นที่ดินของถ.ยังไม่ได้ปลูกสร้างสิ่งใดในที่ดินเมื่อถ.ได้ขายที่ดินให้แก่จำเลยที่2จำเลยที่2ได้ปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของจำเลยที่2เองมิได้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินหรือตึกแถวของโจทก์การกระทำของจำเลยที่2เป็นเรื่องที่จำเลยที่2กระทำลงในที่ดินของจำเลยที่2เองเป็นการใช้สิทธิเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยทรัพย์สินของจำเลยที่2โดยตรงมิใช่เป็นเรื่องจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์โจทก์จะขอให้จำเลยที่2รื้อสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์ได้รับความสะดวกสบายยิ่งขึ้นไม่ได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1312วรรคแรกเป็นบทยกเว้นเรื่องส่วนควบและแดนกรรมสิทธิ์โดยบุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตมีสิทธิใช้ที่ดินของผู้อื่นในส่วนที่รุกล้ำนั้นได้แต่ต้องเสียเงินให้แก่เจ้าของที่ดินและจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมแต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์มิได้เป็นผู้สร้างตึกแถวพิพาทหากแต่เจ้าของที่ดินเดิมเป็นผู้สร้างในทีดินของตนเองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งไม่มีกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีได้ต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา4มาใช้บังคับคืออาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งได้แก่มาตรา1312วรรคแรกคือโจทก์มีสิทธิใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยที่2เฉพาะที่กันสาดรุกล้ำเข้าไปนั้นได้แต่โจทก์ต้องใช้ค่าทดแทนในการใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยที่2แต่โจทก์มิได้มีคำขอให้บังคับเช่นนั้นกรณีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในชั้นนี้การที่ศาลอุทธรณ์ระบุไว้ในคำพิพากษาไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องเป็นคดีใหม่จึงชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยที่1ที่ว่าโจทก์แกล้งฟ้องจำเลยที่1ทำให้จำเลยที่1ได้รับความเสียหายควรให้โจทก์รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่2เป็นพับจึงเป็นการคลาดเคลื่อนนั้นเป็นฎีกาในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่เพียงอย่างเดียวโดยมิได้ยกเหตุว่าค่าฤชาธรรมเนียมมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมายจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา168ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 4, ม. 420, ม. 1312 วรรคแรก, ม. 1335, ม. 1336, ม. 1337, ม. 1382, ม. 1385
ป.วิ.พ. ม. 148, ม. 168, ม. 247