Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 133 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 133 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 133” คืออะไร? 


“มาตรา 133” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 133 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ในกรณีที่มีการเลิกมูลนิธิ ให้มีการชำระบัญชีมูลนิธิและให้นำบทบัญญัติในบรรพ ๓ ลักษณะ ๒๒ ว่าด้วยการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด มาใช้บังคับแก่การชำระบัญชีมูลนิธิโดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้ผู้ชำระบัญชีเสนอรายงานการชำระบัญชีต่อนายทะเบียน และให้นายทะเบียนเป็นผู้อนุมัติรายงานนั้น “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 133” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 133 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6935/2543
ในขณะที่ผู้คัดค้านจดทะเบียนสมรสกับ ฉ. นั้น ฉ.ได้จดทะเบียนสมรสกับผู้ร้องอยู่ก่อนแล้ว และยังคงเป็นคู่สมรสกับผู้ร้องตลอดมา จนกระทั่ง ฉ. ถึงแก่ความตาย การสมรสระหว่างผู้คัดค้านกับ ฉ. จึงเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 1452 ตกเป็นโมฆะ ตามมาตรา 1496 (เดิม) ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น แม้ ฉ. ได้ถึงแก่ความตายก่อนผู้ร้องนำคดีมาร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ อันเป็นเหตุให้การสมรสระหว่างผู้ร้องกับ ฉ. และระหว่างผู้คัดค้านกับ ฉ. สิ้นสุดลงตามมาตรา 1501 ก็ตาม ก็ไม่ตัดอำนาจผู้ร้องในอันที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ เพราะคำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่าการสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1452 เป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1495 (เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การตกเป็นโมฆะย่อมมีผลเท่ากับว่าผู้คัดค้านและ ฉ. ไม่ได้สมรสกัน ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 133 (เดิม) และมาตรา 1497 (เดิม) มีสิทธิร้องขอให้การสมรสระหว่างผู้คัดค้านกับ ฉ. เป็นโมฆะได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 133 (เดิม), ม. 1452, ม. 1495 (เดิม, ม. 1496 (เดิม), ม. 1497 (เดิม), ม. 1501


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2539
จำเลยว่าจ้างโจทก์เป็นทนายความฟ้องคดีขับไล่ตกลงให้ค่าจ้างโจทก์250,000บาทมีข้อสัญญาว่าจำเลยจะชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์เมื่อคดีถึงที่สุดและจำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีกับให้โจทก์ออกเงินทดรองเป็นค่าขึ้นศาลจำนวน20,400บาทค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่างๆในระหว่างดำเนินคดีไปก่อนจนกว่าคดีจะถึงที่สุดถ้าจำเลยไม่ได้รับที่ดินพิพาทคืนโจทก์จะไม่ได้รับค่าจ้างเช่นนี้ข้อตกลงตามสัญญาดังกล่าวมีลักษณะเป็นการหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความหรือยุยงให้ผู้อื่นเป็นความกันจึงเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา133(เดิม)(มาตรา150ที่แก้ไขใหม่)ปัญหาข้อนี้แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาแต่ก็เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบด้วยมาตรา246,247
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 133 (เดิม), ม. 150
ป.วิ.พ. ม. 142 (5), ม. 246, ม. 247, ม. 249 วรรคหนึ่ง


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2539
จำเลยว่าจ้างโจทก์เป็นทนายความฟ้องคดีขับไล่ ตกลงให้ค่าจ้างโจทก์ 250,000 บาท มีข้อสัญญาว่าจำเลยจะชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์เมื่อคดีถึงที่สุดและจำเลยเป็นฝ่ายชนะคดี กับให้โจทก์ออกเงินทดรองเป็นค่าขึ้นศาลจำนวน20,400 บาท ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในระหว่างดำเนินคดีไปก่อนจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ถ้าจำเลยไม่ได้รับที่ดินพิพาทคืน โจทก์จะไม่ได้รับค่าจ้าง เช่นนี้ข้อตกลงตามสัญญาดังกล่าวมีลักษณะเป็นการหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความหรือยุยงให้ผู้อื่นเป็นความกัน จึงเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบ-เรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. 133(เดิม)(มาตรา 150 ที่แก้ไขใหม่) ปัญหาข้อนี้แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่ก็เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246, 247
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 133 (เดิม), ม. 150 ใหม่
ป.วิ.พ. ม. 142 (5), ม. 246, ม. 247, ม. 249 วรรคหนึ่ง
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที