“มาตรา 1325 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1325” คืออะไร?
“มาตรา 1325” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1325 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าผู้เก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหายได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา ๑๓๒๓ แล้ว และผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินนั้นมิได้เรียกเอาภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่เก็บได้ไซร้ ท่านว่ากรรมสิทธิ์ตกแก่ผู้เก็บได้
แต่ถ้าทรัพย์สินซึ่งไม่มีผู้เรียกเอานั้นเป็นโบราณวัตถุไซร้ กรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินนั้นตกแก่แผ่นดิน แต่ผู้เก็บได้มีสิทธิจะได้รับรางวัลร้อยละสิบแห่งค่าทรัพย์สินนั้น “
1 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1325” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1325 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 705/2489
สร้อยคอและแหวนซึ่งเป็นของใช้ของบุคคลธรรมดานั้น ไม่ใช่วัตถุโบราณหรือของมีค่าอันจะพึงถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของแผ่นดิน
สร้อยคอและแหวนซึ่งไม่ปรากฏตัวเจ้าของ ตกอยู่ในลำธารห้วยน้ำไหลนั้นผู้เก็บได้ไม่จำต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1323(3)และการเอาไว้ไม่เป็นผิดตาม มาตรา 318 แห่งกฎหมายลักษณะอาญา
ฟ้องว่าของที่เก็บได้เป็นทรัพย์ไม่ปรากฏตัวเจ้าของและเป็นทรัพย์แผ่นดินโจทก์ต้องนำสืบว่าทรัพย์นั้นเป็นของใคร หายมาอย่างใด และเป็นทรัพย์ที่แผ่นดินต้องการสงวนไว้อย่างใดด้วย ถ้าโจทก์สืบไม่สมฟ้องก็ลงโทษจำเลยไม่ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
กฎหมายลักษณะอาญา ม. 318
ป.พ.พ. ม. 1323 (3), ม. 1325, ม. 1328
ป.วิ.อ. ม. 158, ม. 185
ป.วิ.พ. ม. 84