“มาตรา 1323 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1323” คืออะไร?
“มาตรา 1323” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1323 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ บุคคลเก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหาย ต้องทำอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(๑) ส่งมอบทรัพย์สินนั้นแก่ผู้ของหายหรือเจ้าของ หรือบุคคลอื่นผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินนั้น หรือ
(๒) แจ้งแก่ผู้ของหายหรือเจ้าของ หรือบุคคลอื่นผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินนั้นโดยมิชักช้า หรือ
(๓)๑ ส่งมอบทรัพย์สินนั้นแก่เจ้าพนักงานตำรวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นภายในสามวันและแจ้งพฤติการณ์ตามที่ทราบอันอาจเป็นเครื่องช่วยในการสืบหาตัวบุคคลผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินนั้น
แต่ถ้าไม่ทราบตัวผู้ของหาย เจ้าของ หรือบุคคลอื่นผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินก็ดี หรือบุคคลดังระบุนั้นไม่รับมอบทรัพย์สินก็ดี ท่านให้ดำเนินการตามวิธีอันบัญญัติไว้ในอนุมาตรา (๓)
ทั้งนี้ ท่านว่าผู้เก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหายต้องรักษาทรัพย์สินนั้นไว้ด้วยความระมัดระวังอันสมควรจนกว่าจะส่งมอบ “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1323” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1323 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1349/2508
โจทก์ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลไทย โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงสิทธิตามสัญญาสลากกินแบ่งและเหนือใบสลากนั้น ฉะนั้น แม้โจทก์จะทำสลากพิพาทหล่นหาย โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ได้ ส่วนผู้เก็บสลากพิพาทเป็นเพียงบุคคลผู้เก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหายไม่ใช่เจ้าของ จึงไม่มีสิทธิที่จะเอาไปโอนขายให้แก่ใครได้ แม้ผู้รับโอนจะซื้อสลากพิพาทจากผู้ซึ่งเก็บได้โดยสุจริตและเปิดเผย ผู้รับโอนนั้นก็หามีสิทธิดีกว่าผู้โอนไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1323, ม. 1336
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 306/2490
เก็บของหายได้แล้วยักยอก แม้ยังอยู่ภายใน 3 วันนับแต่เก็บได้ ก็คงมีความผิดตามมาตรา 318
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
กฎหมายลักษณะอาญา ม. 318
ป.พ.พ. ม. 1323
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 705/2489
สร้อยคอและแหวนซึ่งเป็นของใช้ของบุคคลธรรมดานั้น ไม่ใช่วัตถุโบราณหรือของมีค่าอันจะพึงถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของแผ่นดิน
สร้อยคอและแหวนซึ่งไม่ปรากฏตัวเจ้าของ ตกอยู่ในลำธารห้วยน้ำไหลนั้นผู้เก็บได้ไม่จำต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1323(3)และการเอาไว้ไม่เป็นผิดตาม มาตรา 318 แห่งกฎหมายลักษณะอาญา
ฟ้องว่าของที่เก็บได้เป็นทรัพย์ไม่ปรากฏตัวเจ้าของและเป็นทรัพย์แผ่นดินโจทก์ต้องนำสืบว่าทรัพย์นั้นเป็นของใคร หายมาอย่างใด และเป็นทรัพย์ที่แผ่นดินต้องการสงวนไว้อย่างใดด้วย ถ้าโจทก์สืบไม่สมฟ้องก็ลงโทษจำเลยไม่ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
กฎหมายลักษณะอาญา ม. 318
ป.พ.พ. ม. 1323 (3), ม. 1325, ม. 1328
ป.วิ.อ. ม. 158, ม. 185
ป.วิ.พ. ม. 84