Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 132 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 132 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 132” คืออะไร? 


“มาตรา 132” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 132 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ เมื่อมูลนิธิมีเหตุต้องเลิกตามมาตรา ๑๓๐ (๑) (๒) หรือ (๓) แล้ว ให้คณะกรรมการของมูลนิธิที่อยู่ในตำแหน่งขณะมีการเลิกมูลนิธิแจ้งการเลิกมูลนิธิต่อนายทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการเลิกมูลนิธิ
              ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้มูลนิธิล้มละลายตามมาตรา ๑๓๐ (๔) หรือมีคำสั่งถึงที่สุดให้เลิกมูลนิธิตามมาตรา ๑๓๑ ให้ศาลแจ้งคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวให้นายทะเบียนทราบด้วย
              ให้นายทะเบียนประกาศการเลิกมูลนิธิในราชกิจจานุเบกษา “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 132” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 132 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4785/2539
ตามสัญญาจะซื้อขายระบุว่า คู่สัญญาตกลงซื้อขายที่ดินพิพาทกันในราคาตารางวาละ 1,200 บาท และค่าบริการอีก ตารางวาละ 1,300 บาทรวมเป็นเงิน 160,000 บาท ในการจะซื้อขายนี้ โจทก์ผู้จะซื้อวางมัดจำให้จำเลยผู้จะขายไว้แล้วจำนวน 5,000 บาท ผู้จำเลยได้รับเงินมัดจำไว้ถูกต้องแล้ว โจทก์ตกลงชำระค่าที่ดินและค่าบริการที่เหลือให้แก่จำเลยเป็นรายเดือน ๆ ละ 2,676 บาทภายในวันที่ 5 ของทุก ๆ เดือน โดยเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 2526 เป็นต้นไป โจทก์ตกลงจะนำค่าที่ดินและค่าบริการชำระให้แก่จำเลยให้ครบถ้วนภายใน 7 ปี นับแต่วันทำสัญญานี้ โจทก์จำเลยได้กำหนดวันจะไปทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่โจทก์ชำระค่าที่ดินและค่าบริการครบถ้วนแล้ว และตอนล่างของสัญญาดังกล่าวมีบันทึกรับผ่อนเงินดาวน์ (เงินมัดจำ) อีกจำนวน 15,000 บาทโดยจำเลยลงชื่อรับไว้ ดังนี้ สำหรับเงื่อนเวลา 7 ปี ที่สัญญาระบุให้โจทก์ชำระค่าที่ดินและค่าบริการให้ครบถ้วนนั้นเป็นเงื่อนเวลาสิ้นสุด ซึ่ง ป.พ.พ.มาตรา 192วรรคหนึ่ง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ากำหนดไว้เพื่อประโยชน์แก่ลูกหนี้ คือโจทก์ในภาระหน้าที่ที่จะต้องชำระค่าที่ดินและค่าบริการแก่จำเลย ดังนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะชำระค่าที่ดินและค่าบริการให้เสร็จสิ้นภายในเวลาใดก็ได้ แต่ต้องอยู่ภายในเวลา 7 ปีตามสัญญาเท่านั้น
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขาย โดยทำหลักฐานเป็นหนังสือและสัญญาในข้อ 1 ระบุเพียงว่า ราคาที่ดินและค่าบริการรวมเป็นเงิน 160,000 บาทการที่จำเลยที่ 1 นำสืบว่า เงินค่าที่ดินและค่าบริการจำนวน 160,000 บาท เป็นราคาเงินสด และสัญญาข้อ 2 ก็ระบุว่าผ่อนชำระค่าที่ดินและค่าบริการ เมื่อโจทก์เลือกผ่อนชำระราคาดังกล่าว ต้องมีดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นด้วย จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร ต้องห้ามมิให้นำสืบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 10, ม. 132, ม. 192 วรรคหนึ่ง
ป.วิ.พ. ม. 94


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3657/2538
คดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่พร้อมกับเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระจากจำเลยถือได้ว่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ส่วนหนึ่ง กับคดีมีทุนทรัพย์อีกส่วนหนึ่งปนกันมา ดังนี้จะอุทธรณ์ข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ต้องแยกจากกัน ถ้าหากอุทธรณ์ประเด็นเรื่องขับไล่ต้องพิจารณาว่า ค่าเช่าเกินเดือนละ 4,000 บาท หรือไม่ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลย มีอัตราค่าเช่าห้องละ 200 บาท ต่อเดือน จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสองส่วนที่ฟ้องเรียกค่าเช่าค้างชำระนั้น ต้องพิจารณาว่าเกิน 50,000 บาท หรือไม่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเช่าเป็นเงิน 28,320 บาท แก่โจทก์ โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องเป็นจำนวนเงิน 51,600 บาท จึงเท่ากับขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนเงิน 23,280 บาท เท่านั้น ดังนั้น คงเหลือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันมาในชั้นอุทธรณ์มีจำนวนไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน
สัญญาจองอาคารข้อ 5 ระบุว่า เมื่อผู้รับจองทำการก่อสร้างอาคารที่จองแล้วเสร็จ ผู้จองต้องเสียค่าอาคารและค่าบำรุงให้แก่ผู้รับจองตั้งแต่นั้นเป็นต้นไป ดังนี้ เจตนาของผู้จองและผู้รับจองหรือผู้เช่ากับผู้ให้เช่ามีเจตนาให้ผู้ที่จองอาคารได้อยู่ในอาคารเมื่อทำการก่อสร้างอาคารเสร็จแล้ว และนับแต่อาคารที่ให้จองสร้างเสร็จ โจทก์ในฐานะผู้รับจองหรือผู้ให้เช่าก็จะเรียกเก็บค่าเช่ากับค่าบำรุงจากผู้จองอาคารหรือผู้เช่าในทันที จำเลยทำสัญญาจองอาคารแล้วให้ ส.เข้าอยู่ในอาคารที่จองทันที หากจะนับระยะเวลาการเช่าโดยเริ่มนับตั้งแต่โจทก์จำเลยทำสัญญาเช่ากันตามสัญญาข้อ 4 ก็ไม่เป็นการแน่นอนว่าจะทำสัญญากันได้เมื่อใด เพราะเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราเช่าที่ดินพิพาทแปลงนี้จากกรมธนารักษ์ซึ่งต่อมาเกิดมีข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินระหว่างกรมธนารักษ์กับสำนักงานทรัพย์สิน-ส่วนพระมหากษัตริย์ ต้องรอผลชี้ขาดถึงที่สุดก่อนจึงจะสามารถทำสัญญาเช่าต่อกันได้ เมื่อจำเลยให้ ส. เข้าอยู่ในอาคารที่จองและเสียค่าเช่าให้แก่โจทก์ตลอดมาเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี จนกระทั่งโจทก์มาฟ้องขับไล่ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์และจำเลยไม่ถือเป็นข้อสาระสำคัญที่จะทำสัญญาเช่าต่อกันหรือไม่ข้อสำคัญน่าจะถือการเข้าอยู่ในอาคารที่จองด้วยเจตนาที่จะให้มีอายุการเช่า20 ปี การทำสัญญาจองอาคารไว้โดยยังไม่ทำสัญญาเช่าต่อกัน แต่ผู้จองและผู้รับจองก็ได้ปฏิบัติเสมือนหนึ่งมีการเช่าทรัพย์แล้ว จึงต้องถือเจตนาของคู่สัญญาเป็นข้อสำคัญ อายุการเช่าจึงสมควรเริ่มนับแต่วันที่ทำสัญญาจองอาคารพิพาทเป็นต้นไป
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 132 (เดิม), ม. 367, ม. 368, ม. 537
ป.วิ.พ. ม. 224 วรรคสอง


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2535
สัญญาเช่าโรงภาพยนตร์ข้อหนึ่งซึ่งมีข้อความว่า "ผู้เช่าสัญญา ว่าจะจัดการดูแลรักษาทรัพย์สินที่เช่าให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อย และบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้เสมอด้วยค่าใช้จ่ายของผู้เช่าเอง หากมีการชำรุดบกพร่อง แตกหักเสียหายด้วยประการใด ๆผู้เช่าจะต้องรีบแจ้งให้ผู้ให้เช่าทราบทันที และดำเนินการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิมด้วยค่าใช้จ่ายของผู้เช่าเองทั้งสิ้น" นั้น หมายถึง การซ่อมแซมบำรุงรักษาตามปกติและเป็นการซ่อมแซมเล็กน้อยเท่านั้น ผู้เช่าจึงจะมีหน้าที่ซ่อมแซมทรัพย์สินที่เช่า แต่ปรากฏว่าอาคาร โรงภาพยนตร์ทรุด และพื้นคอนกรีตแตกร้าวเสียหายมากหลายแห่ง เป็นความเสียหายร้ายแรงจนอาจเกิดการพังทลายเป็นอันตรายแก่ ผู้เข้าชมภาพยนตร์ได้ จึงเป็นเรื่องมีความจำเป็นและสมควรที่จะต้อง ซ่อมแซมใหญ่อย่างรีบด่วนเพื่อรักษาโรงภาพยนตร์อันเป็นทรัพย์สิน ที่เช่าให้สามารถใช้การต่อไปไม่ให้พังทลายไปเสียก่อนมิใช่กรณี ต้องซ่อมแซมเพียงเล็กน้อย ผู้ให้เช่าจึงมีหน้าที่ต้องซ่อมแซม ทรัพย์สินที่เช่าตาม ป.พ.พ.มาตรา 547 หาใช่หน้าที่ของผู้เช่าไม่ โจทก์อ้างว่าจำเลยค้างชำระค่าเช่าเดือนกันยายน 2525 แต่โจทก์รับค่าเช่าจากจำเลยโดยไม่ได้ทวงถามค่าเช่าเดือนดังกล่าวจนล่วงเลยมา ถึงเดือนกันยายน 2526 การรับเงินค่าเช่าโจทก์ได้ออกใบรับเงินให้จำเลยทุกครั้ง กรณีจึงต้องด้วยบทสันนิษฐานของ ป.พ.พ. มาตรา 327 ที่ว่าในกรณีชำระดอกเบี้ยหรือชำระหนี้อย่างอื่นอันมีกำหนดชำระเป็น ระยะเวลานั้น ถ้าเจ้าหนี้ออกใบเสร็จรับเงินให้เพื่อระยะหนึ่งแล้วโดย มิได้อิดเอื้อน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ เพื่อระยะก่อน ๆ นั้นด้วยแล้ว เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานที่มี น้ำหนักมาหักล้างข้อสันนิษฐานตามกฎหมายนี้ได้ จึงต้องฟังตามบท สันนิษฐานนี้ว่าจำเลยได้ชำระค่าเช่าเดือนกันยายน 2525 ให้โจทก์แล้ว โจทก์ปิดและบูรณะปรับปรุงโรงภาพยนตร์ที่ให้เช่า จำเลยผู้เช่าจึงไม่อาจใช้โรงภาพยนตร์ดังกล่าวฉายภาพยนตร์ได้ตามสิทธิการเช่าของตน สัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยย่อมมีสิทธิไม่ยอมชำระค่าเช่า ในระหว่างที่โรงภาพยนตร์ต้องปิดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า การที่โจทก์ไม่ซ่อมแซมทรัพย์สินที่ให้จำเลยเช่า ทำให้จำเลยเสียหาย แต่ค่าเสียหายของจำเลย จำเลยไม่สามารถแสดงได้ ไม่พิพากษาให้จำเลยได้รับค่าเสียหายแล้ว กรณีจึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยว่า ฟ้องแย้ง เรียกค่าเสียหายดังกล่าวของจำเลยขาดอายุความหรือไม่ เพราะ เป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 132, ม. 163, ม. 327, ม. 368, ม. 369, ม. 537, ม. 547
ป.วิ.พ. ม. 84 (2), ม. 177 วรรคสาม, ม. 249 วรรคแรก
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที