“มาตรา 1318 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1318” คืออะไร?
“มาตรา 1318” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1318 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ บุคคลอาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์แห่งสังหาริมทรัพย์อันไม่มีเจ้าของโดยเข้าถือเอา เว้นแต่การเข้าถือเอานั้นต้องห้ามตามกฎหมายหรือฝ่าฝืนสิทธิของบุคคลอื่นที่จะเข้าถือเอาสังหาริมทรัพย์นั้น “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1318” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1318 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2763/2541
รังนกอีแอ่น ในถ้ำเป็นทรัพย์ไม่มีเจ้าของ แต่บุคคลอาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยเข้ายึดถือเอา การที่บริษัทผู้เสียหายได้รับอนุญาตให้เก็บรังนกอีแอ่น อันเป็นการผูกขาดจากรัฐบาล ผู้เสียหายมีสิทธิเพียงว่าถ้าประสงค์จะเก็บรังนกอีแอ่น ในถ้ำที่ผูกขาดย่อมมีสิทธิที่จะเข้าเก็บเอาได้ไม่ถูกหวงห้ามเสมือนบุคคลผู้ไม่ได้รับอนุญาต แต่จะมีกรรมสิทธิ์ได้ในรังนกอีแอ่น ยังจะต้องมีการเข้ายึดเอาอีกชั้นหนึ่งก่อนเมื่อผู้เสียหายยังมิได้เข้าถือเอารังนกอีแอ่น ตามมาตรา 1318แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ผู้เสียหายจึงมิได้ เป็นเจ้าของในรังนกรายพิพาทการเก็บรังนกอีแอ่น ดังกล่าว ของจำเลยทั้งสามกับพวกจึงไม่มีความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ ของผู้เสียหาย ขณะเกิดเหตุการกระทำของจำเลยทั้งสามกับพวกเป็นความผิดฐานเข้าหรือขึ้นไปบนเกาะที่นกอีแอ่นทำรัง อยู่ ตามธรรมชาติแต่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ได้มีพระราชบัญญัติ อากรรังนกอีแอ่น พ.ศ. 2540 ยกเลิกพระราชบัญญัติอากรรังนกอีแอ่น ฉบับเดิมทั้งหมด โดยไม่มีบทบัญญัติใดระบุการเข้าหรือขึ้นไปบนเกาะที่นกอีแอ่นทำรังอยู่ ตามธรรมชาติ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้รับอนุญาตเก็บรังนกอีแอ่นหรืออาศัยอำนาจผู้ได้รับอนุญาตหรือเจ้าหน้าที่ของ รัฐบาลตามมาตรา 6 พระราชบัญญัติ ฉบับเดิมและไม่มีบทกำหนดโทษเช่นพระราชบัญญัติฉบับเดิม ถือได้ว่าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดจำเลยทั้งสามจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1318
ป.อ. ม. 2, ม. 334
พ.ร.บ.อากรรังนกอีแอ่น พ.ศ.2482 ม. 5, ม. 7, ม. 9, ม. 10
พ.ร.บ.อากรรังนกอีแอ่น พ.ศ.2540 ม. 3, ม. 14, ม. 25, ม. 26, ม. 28, ม. 31
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2727/2537
รังนกในถ้ำตามเกาะเป็นทรัพย์ไม่มีเจ้าของ แต่บุคคลอาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยเข้ายึดถือเอา การที่ อ. ได้รับอนุญาตให้เก็บรังนกได้อันเป็นการได้รับผูกขาดจากรัฐบาลนั้นอ.ผู้รับผูกขาดมีสิทธิเพียงว่าถ้าประสงค์จะเก็บรังนกในถ้ำที่ผูกขาดก็เข้าเก็บเอาได้ ไม่ต้องมีการหวงห้ามเหมือนบุคคลผู้ไม่ได้รับอนุญาต แต่จะมีกรรมสิทธิ์ได้ในรังนกนั้นยังจะต้องมีการเข้ายึดถือเอาอีกชั้นหนึ่งก่อนเมื่อผู้ที่เก็บรังนกรายนี้ไม่ใช่ลูกจ้างของอ.และอ.ยังมิได้เข้ายึดถือเอารังนกนั้นตามบทบัญญัติมาตรา 1318 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อ. จึงยังมิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรังนกรายนี้การเก็บรังนกดังกล่าวไปจึงไม่เป็นการลักทรัพย์ของอ.และเมื่อรังนกไม่ใช่ทรัพย์ที่ถูกลักมาจึงขาดองค์ประกอบความผิดฐานรับของโจร จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ถูกฟ้องว่าร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 2 จึงเป็นเหตุอยู่ในลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4มิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสามไม่เป็นความผิดศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกฟ้องตลอดไปถึงจำเลยทั้งสามได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1318
ป.อ. ม. 83, ม. 334, ม. 335, ม. 357
ป.วิ.อ. ม. 213, ม. 225
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2727/2537
รังนกในถ้ำตามเกาะเป็นทรัพย์ไม่มีเจ้าของ บุคคลใดก็อาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยเข้ามายึดถือเอา แม้ อ. ได้รับอนุญาตผูกขาดจากรัฐให้เก็บรังนกบนเกาะได้อ. ก็มีสิทธิเพียงว่าถ้าประสงค์จะเก็บรังนกที่ผูกขาดก็เข้าเก็บเอาได้ไม่ต้องมีการหวงห้ามเหมือนบุคคลผู้ไม่ได้รับอนุญาต แต่ อ.จะมีกรรมสิทธิ์ได้ในรังนกนั้นจะต้องมีการเข้ายึดถือเอาอีกชั้นหนึ่งก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1318เมื่อมีบุคคลอื่นเข้าไปเก็บรังนกจำนวน0.5กิโลกรัมโดยที่อ.ยังมิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรังนกดังกล่าวการเก็บรังนกนั้นจึงยังไม่เป็นการลักทรัพย์ของ อ.จำเลยเป็นผู้ครอบครองรังนกนั้นก็ไม่มีความผิดฐานรับของโจร เพราะรังนกไม่ใช่ทรัพย์ที่ถูกลักมา จึงขาดองค์ประกอบความผิดฐานรับของโจร เมื่อเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์หรือฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1318
ป.อ. ม. 357
ป.วิ.อ. ม. 213, ม. 225