“มาตรา 1317 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1317” คืออะไร?
“มาตรา 1317” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1317 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ บุคคลใดใช้สัมภาระของบุคคลอื่นทำสิ่งใดขึ้นใหม่ไซร้ ท่านว่าเจ้าของสัมภาระเป็นเจ้าของสิ่งนั้นโดยมิต้องคำนึงว่าสัมภาระนั้นจะกลับคืนตามเดิมได้หรือไม่ แต่ต้องใช้ค่าแรงงาน
แต่ถ้าค่าแรงงานเกินกว่าค่าสัมภาระที่ใช้นั้นมากไซร้ ท่านว่าผู้ทำเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ทำขึ้น แต่ต้องใช้ค่าสัมภาระ “
2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1317” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1317 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2525
จำเลยขายฝากเรือนเลขที่ 126 ขนาดกว้าง 8 ศอก ยาว 3วาให้โจทก์ ต่อมาระหว่างอายุสัญญาจำเลยรื้อเรือนดังกล่าวแล้วสร้างขึ้นใหม่กว้าง 3 วา ยาว 4 วาโดยใช้ไม้ของเรือนหลังเดิมบางส่วน และใช้บ้านเลขที่ 126 ตามเดิมดังนี้ถือได้ว่าเรือนหลังเดิมซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามสัญญาขายฝากและเป็นวัตถุแห่งหนี้นั้นได้สิ้นสภาพไปแล้วเรือนหลังใหม่คือเรือนพิพาทย่อมไม่ตกอยู่ในบังคับของสัญญาขายฝากโจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในเรือนพิพาท ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากเรือนพิพาท คงมีอำนาจที่จะว่ากล่าวแก่จำเลยในกรณีที่จำเลยรื้อเรือนหลังเดิมอันเป็นวัตถุแห่งหนี้ตามสัญญาขายฝากเท่านั้น
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 194, ม. 195, ม. 226, ม. 228, ม. 491, ม. 1316, ม. 1317
ป.วิ.พ. ม. 55
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2505
สัมภาระจะต้องเป็นของบุคคลอื่นอยู่ในขณะที่ได้เอาสัมภาระนั้นทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นใหม่ กรณีจึงจะต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1317
จำเลยยืมไม้และสังกระสีของผู้ร้องเพื่อปลูกเรือน ซึ่งอาจต้องเอามาบั่นทอนตัดตัดฟันแปรสภาพไปเป็นตัวเรือน และตามปกติ เมื่อยืมมาใช้เช่นนี้ ก็หมายความว่าเอาทรัพย์นั้น ๆ มาขาดทีเดียว ไม่ใช่จะเอาทรัพย์นั้นไปคืนอีก จึงถือว่าเป็นการยืมใช้สิ้นเปลือง กรรมสิทธิ์ในเรือนนั้นโอนไปเป็นของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 650.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 650, ม. 1317