“มาตรา 131 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 131” คืออะไร?
“มาตรา 131” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 131 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ นายทะเบียน พนักงานอัยการ หรือผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดอาจร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งให้เลิกมูลนิธิได้ในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้
(๑) เมื่อปรากฏว่าวัตถุประสงค์ของมูลนิธิขัดต่อกฎหมาย
(๒) เมื่อปรากฏว่ามูลนิธิกระทำการขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรืออาจเป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชนหรือความมั่นคงของรัฐ
(๓) เมื่อปรากฏว่ามูลนิธิไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ หรือหยุดดำเนินกิจการตั้งแต่สองปีขึ้นไป “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 131” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 131 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2567 - 2568/2540
การดำเนินกิจการของมูลนิธิต้องเป็นไปตามเสียงข้างมากของกรรมการมูลนิธิ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 แต่กรรมการมูลนิธิบางคนตายคงเหลือเพียง 2 คน และไม่อาจหาเสียงข้างมากได้ ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ตามมาตรา 131(3) จึงต้องเลิกมูลนิธิ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 131
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2518
คนยามซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของบริษัทโจทก์ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้จากบุรุษไปรษณีย์ ณ สำนักงานใหญ่ที่บริษัทโจทก์ได้จดทะเบียนไว้เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2513 ดังนี้ ถือว่าบริษัทโจทก์ได้รับแจ้งความคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามความในประมวลรัษฎากรมาตรา 30(2) ในวันนั้นแล้ว พฤติการณ์ต่าง ๆ ที่โจทก์นำสืบซึ่งทำให้ที่ปรึกษากฎหมายของโจทก์ได้รับเอกสารดังกล่าวในวันที่ 1 กันยายน 2513นั้น เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับเจ้าหน้าที่ของตนจะนำมาใช้ยันต่อจำเลยหาได้ไม่ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องในวันที่ 30 กันยายน 2513 เกินกำหนด30 วัน คดีโจทก์จึงต้องห้ามตามมาตรา 30(2) แห่งประมวลรัษฎากรโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.รัษฎากร ม. 30 (2)
ป.พ.พ. ม. 131, ม. 1098, ม. 1148
ป.วิ.พ. ม. 55
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2518
คนยามซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของบริษัทโจทก์ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้จากบุรุษไปรษณีย์ ณ สำนักงานใหญ่ที่บริษัทโจทก์ได้จดทะเบียนไว้เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2513 ดังนี้ ถือว่าบริษัทโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามความในประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) ในวันนั้นแล้ว พฤติการณ์ต่าง ๆ ที่โจทก์นำสืบซึ่งทำให้ที่ปรึกษาากฎหมายของโจทก์ได้รับเอกสารดังกล่าวในวันที่ 1 กันยายน 2513 นั้น เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับเจ้าหน้าที่ของตนจะนำมาใช้ยันต่อจำเลยหาได้ไม่ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องในวันที่ 30 กันยายน 2513 เกินกำหนด 30วัน คดีโจทก์จึงต้องห้ามตามมาตรา 30(2) แห่งประมวลกฎหมายรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.รัษฎากร ม. 30 (2)
ป.พ.พ. ม. 131, ม. 1098, ม. 1148
ป.วิ.พ. ม. 55