Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1301 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1301 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1301” คืออะไร? 


“มาตรา 1301” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1301 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ บทบัญญัติแห่งสองมาตราก่อนนี้ ท่านให้ใช้บังคับถึงการเปลี่ยนแปลง ระงับ และกลับคืนมาแห่งทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นด้วยโดยอนุโลม “


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1301” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1301 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2547
โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาท แต่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โจทก์จะขอบังคับให้จำเลยไถ่จำนองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนอย่างหนึ่งไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1301
ธนาคารผู้รับจำนองเป็นบุคคลนอกคดี เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องเป็นจำเลยด้วย ศาลก็ไม่อาจพิพากษาถึงธนาคารให้ยินยอมให้จดทะเบียนไถ่จำนองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง
ทุนทรัพย์ตามฟ้องเดิมในศาลชั้นต้น 80,000 บาท ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้จำเลยใช้แทนโจทก์เป็นเงิน 5,000 บาท เกินกว่าอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลชั้นต้นตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. และศาลอุทธรณ์ภาค 6 มิได้แก้ไข ศาลฎีกาจึงแก้ไขให้ถูกต้อง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1299 วรรคสอง, ม. 1301
ป.วิ.พ. ม. 145 วรรคสอง, ม. ตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ.

 


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3383/2524
เมื่อโจทก์ได้ไถ่ถอนการขายฝากที่ดินภายในกำหนดเวลาตามสัญญาขายฝากแล้ว คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ เพราะการจดทะเบียนไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นเพียงการทำให้การกลับคืนมาซึ่งทรัพยสิทธิในที่ดินบริบูรณ์เท่านั้น
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 492, ม. 1299, ม. 1301


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1013/2523
ผู้ร้องอ้างว่าได้จดทะเบียนถือกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลยในที่ดินพิพาทโดยผู้ร้องตกลงกันเองกับจำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทและครอบครองกันเป็นส่วนสัดเป็นเรื่องกล่าวอ้างว่ามีการเปลี่ยนแปลงทรัพย์สิทธิโดยผู้ร้องได้ที่ดินส่วนแบ่งมาโดยนิติกรรมซึ่งเมื่อไม่ปรากฏว่านิติกรรมแบ่งแยกที่ดินพิพาทได้ทำเป็นหนังสือและได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่การได้ที่ดินส่วนของผู้ร้องจึงไม่ บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1299, ม. 1301, ม. 1357
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที