Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1272 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1272 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1272” คืออะไร? 


“มาตรา 1272” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1272 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ในคดีฟ้องเรียกหนี้สินซึ่งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้น หรือผู้ชำระบัญชีเป็นลูกหนี้อยู่ในฐานเช่นนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี “


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1272” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1272 ” ในประเทศไทย

 


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12506/2558
ในคดีฟ้องเรียกหนี้สินซึ่งห้างหุ้นส่วนหรือผู้ชำระบัญชีเป็นลูกหนี้อยู่ในฐานเช่นนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1272 เมื่อปรากฏจากหนังสือรับรอง ของผู้ร้องว่า นายทะเบียนจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีของลูกหนี้ที่ 1 เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2552 และผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาดเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2553 จึงไม่เกิน 2 ปีนับแต่วันที่ 7 มกราคม 2552 อันเป็นวันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาดได้
ผู้ร้องมีหนังสือแจ้งให้ลูกหนี้ที่ 1 ติดต่อและเสนอแผนปรับโครงสร้างหนี้หลายครั้ง ตามหนังสือเรื่องบอกกล่าวให้ชำระหนี้หรือปรับโครงสร้างหนี้ ใบตอบรับในประเทศและประกาศหนังสือพิมพ์ แต่ลูกหนี้ที่ 1 เพิกเฉย ไม่ติดต่อไม่ชำระหนี้และไม่เสนอแผนปรับโครงสร้างหนี้ต่อผู้ร้อง พฤติการณ์ของลูกหนี้ที่ 1 ดังกล่าวถือว่าลูกหนี้ที่ 1 ไม่ให้ความร่วมมือกับผู้ร้องในการปรับโครงสร้างหนี้ตามที่ผู้ร้องสั่งโดยที่ลูกหนี้ที่ 1 อยู่ในฐานะที่จะดำเนินการได้ เมื่อ ณ วันยื่นคำร้อง (วันที่ 5 เมษายน 2553) ลูกหนี้ที่ 1 มีภาระหนี้ค้างชำระผู้ร้อง 24,530,708 บาท และลูกหนี้ที่ 1 ไม่ยื่นคำคัดค้านและขาดนัดพิจารณา กรณีจึงเห็นควรมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาด
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1272
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 14
พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 ม. 58 วรรคสี่


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9041/2554
ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ศาลจะพิจารณาในขณะยื่นฟ้องเป็นสำคัญ และการที่บริษัทเลิกกัน ป.พ.พ. มาตรา 1249 บัญญัติให้ถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี โดยผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ชำระสะสางการงานของบริษัทให้เสร็จไป รวมทั้งมีอำนาจแก้ต่างว่าต่างในนามบริษัทในคดีพิพาทตามมาตรา 1250, 1259 (1) นอกจากนี้มาตรา 1272 ยังให้สิทธิเจ้าหนี้ฟ้องเรียกหนี้สินที่บริษัทเป็นหนี้อยู่ได้ แม้การชำระบัญชีจะสิ้นสุดไปแล้ว แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่า ระหว่างพิจารณาโจทก์จดทะเบียนเลิกบริษัทเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2539 และจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2539 แต่ก็เป็นเวลาภายหลังจากโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้แล้ว จึงไม่มีผลให้อำนาจฟ้องที่โจทก์มีอยู่แล้วในขณะยื่นฟ้องสิ้นไปแต่อย่างใด
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1249, ม. 1250, ม. 1259 (1), ม. 1272


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8342/2552
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัท พ. มีหน้าที่ต้องแจ้งเรื่องที่บริษัทดังกล่าวจดทะเบียนเลิกบริษัทให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของบริษัททราบ เพื่อโจทก์จะได้ยื่นทวงหนี้แก่จำเลยในฐานะผู้ชำระบัญชี แต่จำเลยกลับละเลยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงเรื่องดังกล่าว การกระทำของจำเลยเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยรับผิดชำระเงินเท่ากับจำนวนที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากบริษัท พ. พร้อมดอกเบี้ย ซึ่งตามข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าโจทก์ประสงค์จะฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิด หาใช่ฟ้องให้รับผิดในฐานะผู้ชำระบัญชีตามมาตรา 1272
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 420, ม. 1272
ป.วิ.พ. ม. 172, ม. 249 วรรคหนึ่ง
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที