Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 126 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 126 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 126” คืออะไร? 


“มาตรา 126” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 126 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๒๗ ให้คณะกรรมการของมูลนิธิเป็นผู้มีอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของมูลนิธิ แต่ถ้าข้อบังคับของมูลนิธิได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมไว้ การแก้ไขเพิ่มเติมต้องเป็นไปตามที่ข้อบังคับกำหนด และให้มูลนิธินำข้อบังคับที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการของมูลนิธิได้แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของมูลนิธิและให้นำความในมาตรา ๑๑๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 126” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 126 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1906/2535
โจทก์กับพวกประมาณ 8 คน ไปที่บ้านจำเลยซึ่งมีเพียงจำเลยอาศัยอยู่กับบุตร 2 คน อายุ 10 ปี และ 12 ปี แล้วโจทก์ข่มขู่จำเลยว่าหากไม่ลงชื่อในสัญญากู้จะรื้อหรือเผาบ้านจำเลยนั้น ถือได้ว่าเป็นภัยถึงขนาดที่จะจูงใจจำเลยให้มีมูลต้องกลัวว่าจะเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของตนเองอันใกล้จะถึงและร้ายแรงเท่ากับที่จะพึงกลัวต่อการอันเขากรรโชกเอานั้น สัญญากู้ที่จำเลยทำให้แก่โจทก์จึงเป็นโมฆียะ เมื่อโจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญากู้ จำเลยให้การปฏิเสธโดยอ้างเหตุดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยบอกล้างสัญญากู้อันเป็นโมฆียะกรรมนั้นแล้วสัญญากู้จึงเป็นโมฆะ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดตามสัญญากู้ดังกล่าวได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 121, ม. 126, ม. 137, ม. 138

2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5334/2533
การซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์จำเลยตกลงซื้อขายโดยยึดถือจำนวนเนื้อที่เป็นสำคัญปรากฏภายหลังว่าที่ดินที่โจทก์ซื้อจากจำเลยได้รวมเอาที่ดินสาธารณะไว้ด้วยบางส่วน ทำให้เนื้อที่ดินขาดหายไป เมื่อโจทก์ไปขอเงินค่าที่ดินคืนจากจำเลย จำเลยไม่ยอมคืนเงินให้ เช่นนี้ย่อมมีเหตุที่จะทำให้โจทก์เข้าใจได้ว่าจำเลยหลอกลวงโจทก์โดยเอาที่สาธารณะมาขายให้ แม้พฤติการณ์จะยังไม่ปรากฏชัดแจ้งก็ตาม การที่โจทก์พูดขู่จำเลยว่าหากไม่คืนเงินจะฟ้องให้จำเลยติดคุกติดตะราง จำเลยจึงยอมลงลายพิมพ์นิ้วมือในหนังสือรับสภาพหนี้ยอมรับจะใช้เงินที่ขาดคืนแก่โจทก์ เป็นกรณีที่โจทก์ทำไปโดยเชื่อว่าตนมีสิทธิทำได้ตามกฎหมาย ถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิตามปกตินิยม หาใช่การข่มขู่อันจะทำให้นิติกรรมเป็นโมฆียะไม่ หนังสือรับสภาพหนี้จึงมีผลใช้บังคับได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 126, ม. 127, ม. 138


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3527/2532
จำเลยทำสัญญาประนอมหนี้กับโจทก์ที่สถานีตำรวจโดยโจทก์พูดว่า "ให้เอาเงินมาใช้เสีย ถ้าไม่ใช้จะฟ้องและติดตะราง" พวกของโจทก์พูดว่า "ใช้เสียน้องเอ๋ย ถึงคราวจำเป็นแล้ว ถ้าไม่ใช้จะถูกฟ้องให้ติดตะราง" และพนักงานสอบสวนพูดว่า "ผู้ใหญ่ใช้เสียเรา มีวินัยอยู่มิฉะนั้นจะเป็นโทษอาญานะ" เป็นเรื่องที่โจทก์กับพวกขู่ว่าถ้าจำเลยไม่ใช้เงินโจทก์จะฟ้องเอาผิดกับจำเลยทางอาญา อันเป็นการใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริต เป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม ไม่เป็นการข่มขู่อันจะทำให้นิติกรรมเป็นโมฆียะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 126 สัญญาประนอมหนี้จึงสมบูรณ์ใช้บังคับได้.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 112, ม. 121, ม. 126
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที