“มาตรา 1257 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1257” คืออะไร?
“มาตรา 1257” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1257 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ผู้ชำระบัญชีซึ่งมิใช่เป็นขึ้นเพราะศาลตั้งนั้น ท่านว่าจะถอนเสียจากตำแหน่งและตั้งผู้อื่นแทนที่ก็ได้ ในเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายออกเสียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน หรือที่ประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้นได้ลงมติดังนั้น แต่ศาลย่อมสั่งถอนผู้ชำระบัญชีจากตำแหน่งและตั้งผู้อื่นแทนที่ได้ ไม่เลือกว่าจะเป็นผู้ชำระบัญชีซึ่งศาลตั้งหรือมิใช่ศาลตั้ง ในเมื่อมีคำร้องขอของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างคนใดคนหนึ่งหรือของผู้ถือหุ้นในบริษัทมีหุ้นรวมกันนับได้ถึงหนึ่งในยี่สิบแห่งทุนของบริษัท โดยจำนวนที่ส่งใช้เงินเข้าทุนแล้วนั้น “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1257” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1257 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2538
การที่ กรรมการบริษัทเป็น ผู้ชำระบัญชีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเมื่อบริษัทเลิกกันนั้นถือว่าเป็นการชั่วคราวเมื่อมีการประชุมใหญ่ก็ต้องเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาว่าควรให้กรรมการบริษัทนั้นคงเป็นผู้ชำระบัญชีต่อไปหรือไม่หรือจะเลือกตั้งบุคคลอื่นขึ้นเป็นผู้ชำระบัญชีแทนที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1256(1)กรรมการบริษัทจึงเป็นผู้ชำระบัญชีโดยชอบจนกว่าจะมีการเลือกบุคคลอื่นขึ้นแทนหาใช่ว่าต้องให้ที่ประชุมใหญ่รับรองเสียก่อนจึงจะเป็นผู้ชำระบัญชีโดยสมบูรณ์ไม่ คดีที่ผู้คัดค้านที่2ถึงที่5ถูกฟ้องว่ายักยอกเงินบริษัทผู้คัดค้านที่1ซึ่งเป็นคดีที่กระทำในขณะดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการบริษัทผู้คัดค้านที่1อยู่ระหว่างพิจารณายังไม่อาจทราบได้แน่นอนว่าทุจริตจริงหรือไม่และผู้ร้องทั้งหกมิได้นำสืบให้เห็นว่าผู้คัดค้านที่2ถึงที่5บกพร่องในหน้าที่ผู้ชำระบัญชีอย่างไรอีกทั้งเหตุที่ผู้คัดค้านที่2ถึงที่5ไม่อาจทำหน้าที่ผู้ชำระบัญชีต่อไปได้ก็มิใช่ความผิดของผู้คัดค้านที่2ถึงที่5จึง ไม่มีเหตุให้ ถอนผู้คัดค้านที่2ถึงที่5จาก ผู้ชำระบัญชี
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1251, ม. 1256, ม. 1257
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2501
กรณีเรื่องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ของบริษัทจำกัดอันผิดระเบียบ และขอให้ศาลสั่งถอนผู้ชำระบัญชีออกจากตำแหน่งนั้น กรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนใดคนหนึ่งและผู้ถือหุ้นนับได้ถึงหนึ่งในยี่สิบแห่งหุ้นของบริษัทย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลได้ตามนัยแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ตอนท้ายโดยไม่ต้องดำเนินคดีมีข้อพิพาท
คดีร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้ชำระบัญชีออกจากตำแหน่งเมื่อผู้ร้องไม่นำสืบให้เห็นว่าผู้ชำระบัญชีเป็นบุคคลที่ไม่สมควรหรือบกพร่องต่อหน้าที่ ก็ไม่มีข้อเท็จจริงอันจะเป็นทางประกอบการพิจารณาของศาลที่จะชี้ขาดถึงความผิดพลาดบกพร่องของผู้ชำระบัญชีเพื่อสั่งถอดถอนออกจากตำแหน่งได้
การร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ของบริษัทอันผิดระเบียบจะต้องร้องขอต่อศาลภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันลงมติตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1195 ซึ่งเป็นบทบังคับพิเศษ
ปัญหาเรื่องกำหนดเวลาร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ฯ อันผิดระเบียบเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246,247
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1175, ม. 1195, ม. 1257
ป.วิ.พ. ม. 84, ม. 142 (5), ม. 246, ม. 247
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 759/2492
ในคดีเรื่องขอให้ถอดถอนผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนและแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีใหม่ ในระหว่างดำเนินคดีนั้น ศาลได้สั่งยึดทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนไว้ชั่วคราว ผู้ชำระบัญชีเดิมขอให้ขายที่ดินของห้างหุ้นส่วนโดยอ้างว่า การยึดที่ดินของห้างหุ้นส่วนไว้เฉยๆ มีแต่ทางสิ้นเปลืองและเสียหายมาก เพราะต้องเสียค่ารักษาและที่สวนยางมีอาณาเขตกว้างขวางยากแก่การระวังรักษา ปรากฏว่ามีคนร้ายมาลักตัดยางเป็นนิจ เป็นที่เสียหายแก่สวนยางและผู้เป็นหุ้นส่วน ดังนี้ศาลมีอำนาจสั่งให้จัดการขายทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 254, ม. 259, ม. 264, ม. 306
ป.พ.พ. ม. 1257, ม. 1259