“มาตรา 1255 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1255” คืออะไร?
“มาตรา 1255” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1255 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ผู้ชำระบัญชีต้องทำงบดุลขึ้นโดยเร็วที่สุดที่เป็นวิสัยจะทำได้ ส่งให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบลงสำคัญว่าถูกต้อง แล้วต้องเรียกประชุมใหญ่ “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1255” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1255 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2538
เมื่อที่ประชุมกรรมการบริษัทผู้คัดค้านที่1มีมติตั้งกรรมการบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชีโดยข้อบังคับของบริษัทไม่ได้กำหนดการตั้งผู้ชำระบัญชีเป็นอย่างอื่นการตั้งผู้ชำระบัญชีจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่กรรมการบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชีเมื่อบริษัทเลิกกันนั้นถือว่าเป็นการชั่วคราวเมื่อมีการประชุมใหญ่ก็จะต้องเสนอให้ที่ประชุมใหญ่พิจารณาว่าจะควรให้กรรมการบริษัทคงเป็นผู้ชำระบัญชีต่อไปหรือไม่หรือจะเลือกบุคคลอื่นแทนหาใช่ว่าจะต้องให้ที่ประชุมใหญ่รับรองก่อนจึงจะเป็นผู้ชำระบัญชีได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1251, ม. 1253, ม. 1254, ม. 1255, ม. 1256
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2538
เมื่อที่ประชุมกรรมการบริษัทผู้คัดค้านที่ 1 มีมติตั้งกรรมการบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชี โดยข้อบังคับของบริษัทไม่ได้กำหนดการตั้งผู้ชำระบัญชีเป็นอย่างอื่น การตั้งผู้ชำระบัญชีจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การที่กรรมการบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชีเมื่อบริษัทเลิกกันนั้นถือว่าเป็นการชั่วคราว เมื่อมีการประชุมใหญ่ก็จะต้องเสนอให้ที่ประชุมใหญ่พิจารณาว่าจะควรให้กรรมการบริษัทคงเป็นผู้ชำระบัญชีต่อไปหรือไม่ หรือจะเลือกบุคคลอื่นแทน หาใช่ว่าจะต้องให้ที่ประชุมใหญ่รับรองก่อนจึงจะเป็นผู้ชำระบัญชีได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1251, ม. 1253, ม. 1254, ม. 1255, ม. 1256
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1927/2518
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1250,1253,1254 และ 1255 บัญญัติถึงหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีไว้ และตามพระราชบัญญัติ กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนฯ พ.ศ. 2499 บัญญัติถึงความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับการชำระบัญชีเป็นความผิดของผู้ชำระบัญชีมีบทลงโทษตามมาตรา 32,33 และ 35 โจทก์เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลซึ่งศาลได้พิพากษาให้เลิกห้างหุ้นส่วนแล้ว และตั้งให้จำเลยเป็นผู้ชำระบัญชี โจทก์มีผลประโยชน์ได้เสียในห้างหุ้นส่วนอยู่ซึ่งผลประโยชน์ของโจทก์จะได้ผลประการใดนั้นอยู่ที่ผู้ชำระบัญชีจะต้องปฏิบัติตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติไว้ให้กระทำ เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีไม่กระทำการตามที่ กฎหมายบังคับไว้ดังกล่าวแล้ว ย่อมเห็นได้ว่าทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโจทก์จึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะฟ้องผู้ชำระบัญชีในทางอาญาเกี่ยวแก่ความผิดต่อพระราชบัญญัตินั้นได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.อ. ม. 2 (4), ม. 28
ป.พ.พ. ม. 1250, ม. 1253, ม. 1254, ม. 1255
พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ.2499 ม. 32, ม. 33, ม. 35