Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 125 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 125 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 125” คืออะไร? 


“มาตรา 125” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 125 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ การแต่งตั้งกรรมการของมูลนิธิขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ ให้กระทำตามข้อบังคับของมูลนิธิ และมูลนิธิต้องนำไปจดทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
              ถ้านายทะเบียนเห็นว่ากรรมการของมูลนิธิตามวรรคหนึ่งผู้ใด มีฐานะหรือความประพฤติไม่เหมาะสมในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ นายทะเบียนจะไม่รับจดทะเบียนกรรมการของมูลนิธิผู้นั้นก็ได้ ในกรณีที่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนกรรมการของมูลนิธิ นายทะเบียนต้องแจ้งเหตุผลที่ไม่รับจดทะเบียนให้มูลนิธิทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ยื่นคำขอจดทะเบียน และให้นำความในมาตรา ๑๑๕ วรรคสี่และวรรคห้ามาใช้บังคับโดยอนุโลม
              ในกรณีที่กรรมการของมูลนิธิพ้นจากตำแหน่งและไม่มีกรรมการของมูลนิธิเหลืออยู่ หรือกรรมการของมูลนิธิที่เหลืออยู่ไม่สามารถดำเนินการตามหน้าที่ได้ ถ้าข้อบังคับของมูลนิธิมิได้กำหนดการปฏิบัติหน้าที่ไว้เป็นอย่างอื่น ให้กรรมการของมูลนิธิที่พ้นจากตำแหน่งปฏิบัติหน้าที่กรรมการของมูลนิธิต่อไปจนกว่านายทะเบียนจะได้แจ้งการรับจดทะเบียนกรรมการของมูลนิธิที่ตั้งใหม่
              กรรมการของมูลนิธิที่พ้นจากตำแหน่งเพราะถูกถอดถอนโดยคำสั่งศาลตามมาตรา ๑๒๙ จะปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคสามไม่ได้ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 125” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 125 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10861/2558
ตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ข้อ 6 กำหนดให้คณะกรรมการของจำเลยที่ 1 ประกอบด้วยบุคคลไม่น้อยกว่า 20 คน และไม่เกิน 25 คน ซึ่งเป็นสมาชิกสโมสรไลออนส์สากลภาครวม 310 ประเทศไทย และได้รับการเลือกตั้งจากการประชุมใหญ่ประจำปีของสมาชิกสมาคมสโมสรไลออนส์สากลภาครวม 310 ประเทศไทย และข้อ 7 กำหนดให้อำนาจคณะกรรมการของจำเลยที่ 1 มีอำนาจที่จะเชิญบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ได้รับการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งจากสมาคมสโมสรไลออนส์สากลภาครวม 310 ประเทศไทย ตามตำแหน่งต่างๆที่กำหนดไว้ในข้อ 6 เข้าเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 แทนตำแหน่งที่ได้ว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระได้ เป็นที่เห็นได้ว่า โดยหลักแล้วคณะกรรมการของจำเลยที่ 1 จะต้องมีคุณสมบัติตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ข้อ 6 และได้รับการเลือกตั้งจากการประชุมใหญ่ประจำปีของสมาชิก โดยมีวาระอยู่คราวละ 3 ปี ตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ข้อ 10 การแต่งตั้งกรรมการที่ครบกำหนดออกตามวาระจึงรู้กำหนดแน่นอน การแต่งตั้งกรรมการที่กำหนดออกตามวาระจึงต้องกระทำตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ข้อ 6 ดังกล่าว จึงไม่ใช่กรณีไม่มีข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ที่จะนำมาใช้แต่งตั้งกรรมการที่ครบกำหนดออกตามวาระและไม่อาจนำข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ข้อที่ 7 ซึ่งใช้เฉพาะกรณีกรรมการว่างลงเพราะเหตุอื่นไม่ใช่ครบกำหนดตามวาระมาใช้ได้เช่นกัน ดังนั้นที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 15 เข้าร่วมประชุมกันแล้วมีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบและรับรองให้เลือกจำเลยที่ 16 ถึง ที่ 20 เป็นกรรมการแทนกรรมการที่ว่างลงเพราะเหตุถึงคราวออกตามวาระจึงเป็นการมิชอบ หากกรรมการของจำเลยที่ 1 ที่เหลืออยู่ไม่สามารถดำเนินการตามหน้าที่ได้ กรณีต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 125 วรรคสาม ที่ให้กรรมการมูลนิธิที่พ้นจากตำแหน่งปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่านายทะเบียนจะได้แจ้งการรับจดทะเบียนกรรมการของมูลนิธิที่ตั้งใหม่ ซึ่งหมายถึงกรรมการมูลนิธิที่ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งโดยชอบตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ข้อ 6 หรือข้อ 7 ดังกล่าว แม้จำเลยที่ 16 ถึงที่ 20 จะเป็นกรรมการโดยมิชอบ แต่ ป.พ.พ. มาตรา 124 บัญญัติว่า บรรดากิจการที่คณะกรรมการมูลนิธิได้กระทำไป แม้จะปรากฏในภายหลังว่ามีข้อบกพร่องเกี่ยวกับการแต่งตั้งหรือคุณสมบัติของกรรมการมูลนิธิ กิจการนั้นย่อมมีผลสมบูรณ์ ดังนี้ การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 20 ลงมติรับรองการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของจำเลยที่ 1 และต่อมาจำเลยที่ 1 โดยผู้กระทำการแทน นำมติดังกล่าวนั้นไปจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับและอาศัยอำนาจตามข้อบังคับที่ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงมีมติให้ปิดการใช้ที่ทำการอาคารมูลนิธิไลออนส์ในประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 1/3-4 ซอยเอกมัย 2 ถนนสุขุมวิท 63 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร เพื่อย้ายไปที่ทำการแห่งใหม่เลขที่ 300 ซอยพงษ์เวชอนุสรณ์ ซอยสุขุมวิท 64 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร จึงมีผลสมบูรณ์ ไม่อาจเพิกถอนได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 124, ม. 125 วรรคสาม


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2942/2545
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 แม้เป็นกฎหมายที่มีความมุ่งหมายคุ้มครองการใช้แรงงานอย่างเป็นธรรมและมีบทบัญญัติในการคุ้มครองแรงงานไว้โดยเฉพาะ แต่ก็มิได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับวิธีการนับระยะเวลาไว้เป็นพิเศษแต่อย่างใด การนับระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. บรรพ 1 ลักษณะ 5 เรื่องระยะเวลา อันเป็นบทบัญญัติทั่วไป
การที่โจทก์ไม่พอใจคำสั่งของจำเลยในฐานะพนักงานตรวจแรงงานที่สั่งให้โจทก์จ่ายค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยแก่จำเลยร่วมซึ่งเป็นลูกจ้าง และโจทก์ประสงค์จะนำคดีไปสู่ศาลแรงงานกลางเพื่อให้ชี้ขาดนั้น โจทก์ต้องนำต้นเงินค่าชดเชยและดอกเบี้ยตามจำนวนที่คำนวณได้ถึงวันฟ้องไปวางต่อศาลแรงงานกลางตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคสาม เมื่อโจทก์นำคดีมาสู่ศาลแรงงานกลางเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยดังกล่าว ทั้งการวินิจฉัยในส่วนค่าชดเชยก็มีผลกระทบโดยตรงถึงดอกเบี้ยของค่าชดเชยตามคำสั่งจำเลยด้วย โจทก์จึงไม่อาจอ้างว่าโจทก์ติดใจโต้แย้งคำสั่งของจำเลยเฉพาะค่าชดเชย ไม่ติดใจโต้แย้งในเรื่องดอกเบี้ย เมื่อโจทก์เพียงแต่นำเงินค่าชดเชยมาวางต่อศาลแรงงานกลางโดยมิได้นำดอกเบี้ยในค่าชดเชยมาวางด้วย จึงต้องถือว่าโจทก์วางเงินไม่ครบถ้วนตามคำสั่งของจำเลย เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 125 วรรคสาม โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 193/3 วรรคสอง, ม. 193/8
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ม. 125 วรรคหนึ่ง, สาม,
ป.พ.พ. ม. 125 วรรคสาม


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 600/2538
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นกรรมการของมูลนิธิ พ.อันเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องถึงแก่กรรม คดีจึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยฎีกาของผู้ร้องต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 (3) ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 125
ป.วิ.พ. ม. 132 (3)
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที