Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1247 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1247 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1247” คืออะไร? 


“มาตรา 1247” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1247 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ การชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัดซึ่งล้มละลายนั้น ให้จัดทำไปตามบทกฎหมายลักษณะล้มละลายที่คงใช้อยู่ตามแต่จะทำได้
              รัฐมนตรีเจ้าหน้าที่จะออกกฎกระทวงว่าด้วยการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนและบริษัท และกำหนดอัตราค่าฤชาธรรมเนียมก็ออกได้ “


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1247” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1247 ” ในประเทศไทย

 


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9179/2559
บริษัท ธ. ถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 เป็นกรรมการของบริษัท ธ. แต่เมื่อบริษัท ธ. ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว อำนาจในการจัดการทรัพย์สินหรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของบริษัทดังกล่าวย่อมตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 และมาตรา 24 ไม่อยู่ในวิสัยที่ผู้ร้อง ผู้คัดค้านที่ 1 หรือบุคคลกลางอื่น เช่น เจ้าพนักงานบังคับคดี จะเข้าจัดการทรัพย์สินของบริษัทเพื่อชำระบัญชีได้อีกต่อไป อันเป็นกรณีที่กรรมการของบริษัทไม่อาจเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีได้ จึงเห็นสมควรตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ให้เป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1251 วรรคสอง เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงในชั้นนี้ว่าบริษัทดังกล่าวเป็นบริษัทซึ่งล้มละลายที่การชำระบัญชีจะต้องจัดทำไปตามบทกฎหมายลักษณะล้มละลายตามมาตรา 1247 วรรคหนึ่ง กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะต้องยกคำร้องขอของผู้ร้องเพื่อบังคับคดีไปตามบทกฎหมายลักษณะล้มละลายตามที่ผู้คัดค้านที่ 1 ฎีกา
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1247 วรรคหนึ่ง, ม. 1251 วรรคสอง
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 22, ม. 24


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8047/2544
อำนาจฟ้องในคดีอาญาเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้หยิบยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
เมื่อโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ซึ่งมีคำพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว จึงทำให้บริษัทโจทก์เป็นอันเลิกกันโดยบทบัญญัติของ ป.พ.พ. มาตรา 1236 (5) และโจทก์ย่อมหมดอำนาจที่จะทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ต่อไปอีก การจัดการรวมทั้งการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ย่อมตกอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะจัดการแต่ผู้เดียว ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 , 24 ทั้งมาตรา 1247 ก็บัญญัติไว้ว่า การชำระบัญชีบริษัทจำกัดซึ่งล้มละลายนั้น ให้จัดทำไปตามบทกฎหมายล้มละลายที่คงใช้อยู่ตามแต่จะทำได้ ดังนั้นกรรมการบริษัทโจทก์จึงไม่กลับมีอำนาจทำการแทนบริษัทโจทก์ได้อีกโดยอาศัยอำนาจตาม ป.พ.พ. มาตรา 1249 เพราะมาตรา 1251 ก็ระบุเป็นข้อยกเว้นไว้แล้วว่าบริษัทในเมื่อเลิกกันเพราะเหตุอื่นนอกจากล้มละลาย กรรมการของบริษัทย่อมเข้าเป็นผู้ชำระบัญชี คดีนี้บริษัทโจทก์เลิกกันเพราะเหตุล้มละลาย กรรมการบริษัทโจทก์จึงไม่ใช่ผู้ชำระบัญชีและไม่มีอำนาจมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ตามมาตรา 1252
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.อ. ม. 195 วรรคสอง, ม. 225
ป.พ.พ. ม. 1236 (5), ม. 1247, ม. 1249, ม. 1251, ม. 1252
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 22, ม. 24


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 4260/2536
การที่บัญชีกำไรขาดทุนที่ผู้ชำระบัญชีจัดทำขึ้นนั้น จัดทำขึ้นจากหลักฐานไม่ตรงกับความเป็นจริง แม้เมื่อผู้ชำระบัญชีจัดทำบัญชีเสร็จ เจ้าหนี้ทั้งสองมิได้โต้แย้งบัญชีดังกล่าวต่อศาลและเมื่อผู้ชำระบัญชีขอให้ห้างฯ ล้มละลาย ลูกหนี้ก็มิได้คัดค้านว่าห้างฯ มีกำไร ทั้งยังร่วมกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของห้างฯ ร้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามห้างฯ ก็ตาม แต่เจ้าหนี้ทั้งสองมิได้รับรองบัญชีดังกล่าว คงมีแต่ผู้ชำระบัญชีและผู้สอบบัญชีฝ่ายลูกหนี้ลงชื่อรับรอง การที่เจ้าหนี้ทั้งสองมิได้รับรองบัญชีดังกล่าวย่อมไม่เป็นการตัดสิทธิเจ้าหนี้ทั้งสองที่จะกล่าวอ้างในคดีนี้ว่าบัญชีที่ผู้ชำระบัญชีจัดทำขึ้นไม่ถูกต้องและในคดีที่ผู้ชำระบัญชีร้องขอให้ห้างฯ ล้มละลายนั้นพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 88 วรรคสอง บัญญัติว่าเมื่อผู้ชำระบัญชีมีคำร้องขอ ให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดทันทีเจ้าหนี้ทั้งสองจึงไม่มีโอกาสคัดค้าน ส่วนที่เจ้าหนี้ไปร่วมกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามห้างฯ ก็ถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยชอบเพื่อเยียวยาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่ห้างฯ มีทรัพย์สินไม่พอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ทั้งสอง จะถือว่าเป็นการยอมรับบัญชีที่ผู้ชำระบัญชีจัดทำขึ้นแล้วมิได้ ห้างฯ มีกำไรสุทธิในวันเลิกห้างฯ 7,813,932.48 บาทเจ้าหนี้ทั้งสองมีหุ้นรวมกันร้อยละ 30 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเงินปันผลกำไรของห้างฯ เป็นเงิน 2,344,179.74 บาท ส่วนแบ่งเงินปันผลกำไรดังกล่าวเป็นเงินที่เจ้าหนี้ทั้งสองมีสิทธิได้รับจากห้างฯเมื่อปรากฏว่าห้างฯ ไม่อาจชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่เจ้าหนี้ทั้งสองได้ลูกหนี้ในฐานะหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดซึ่งต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างฯ โดยไม่จำกัดจำนวน ย่อมต้องร่วมรับผิดต่อเจ้าหนี้ทั้งสอง เจ้าหนี้ทั้งสองมีสิทธิขอรับชำระหนี้เงินจำนวนดังกล่าวจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ การชำระบัญชีอันเป็นมูลเหตุให้เกิดหนี้ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในชั้นชำระบัญชีที่เจ้าหนี้ทั้งสองขอรับชำระหนี้เกิดขึ้นจากข้อตกลงของเจ้าหนี้ทั้งสองและลูกหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งของศาลชั้นต้น เพื่อประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายทั้งสองฝ่ายย่อมต้องรับผิดชอบในค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายดังกล่าวร่วมกัน สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับการเลิกห้างมีข้อความว่ากิจการ ทรัพย์สินและโรงน้ำแข็งของห้าง ให้ประมูลขายทอดตลาดนำเงินมอบแก่ผู้ชำระบัญชีเพื่อจัดการตามส่วน แต่ต่อมามีคำพิพากษาฎีกาคดีระหว่างเจ้าหนี้ร่วม โจทก์ และผู้ชำระบัญชีกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของห้างฯ จำเลย ให้ผู้ชำระบัญชีและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของห้างฯ รับเงิน 50,000 บาท จากเจ้าหนี้ร่วม แล้วให้จดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 1089 อันเป็นทรัพย์สินของห้างฯ คืนให้แก่เจ้าหนี้ร่วมโดยปลอดจากการจำนองหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และผู้ชำระบัญชีของห้างฯ ไม่มีเงินจากกองทรัพย์สินของห้างฯ พอที่จะทำการไถ่ถอนจำนอง ให้ลูกหนี้ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างฯ รับผิดในหนี้ของห้างฯ ลูกหนี้จึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาฎีกาดังกล่าว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 88, ม. 130 (5)
ป.พ.พ. ม. 1077, ม. 1084, ม. 1247, ม. 1250, ม. 1266
ป.วิ.พ. ม. 145
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที