Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 124 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 124 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 124” คืออะไร? 


“มาตรา 124” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 124 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ บรรดากิจการที่คณะกรรมการของมูลนิธิได้กระทำไป แม้จะปรากฏในภายหลังว่ามีข้อบกพร่องเกี่ยวกับการแต่งตั้งหรือคุณสมบัติของกรรมการของมูลนิธิ กิจการนั้นย่อมมีผลสมบูรณ์ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 124” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 124 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7242/2538
เมื่อจำเลยที่ 1 ซื้อที่พิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลแล้ว ต่อมาจำเลยที่ 1 ไม่ได้ขายที่พิพาทให้โจทก์ ตามที่โจทก์อ้างว่าผู้แทนของจำเลยที่ 1 รับรองว่าจะขายให้โจทก์ในภายหลัง แต่ได้ขายให้จำเลยที่ 2และที่ 3 กรณีหาใช่ตัวแทนของจำเลยที่ 1 ใช้อุบายหลอกลวงให้โจทก์หลงเชื่อเข้าแสดงเจตนาทำนิติกรรมกับจำเลยที่ 1 ไม่ เพราะไม่มีนิติกรรมใดที่ตัวแทนของจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้หลอกลวงโจทก์ให้แสดงเจตนาอันได้มาเพราะกลฉ้อฉลที่จะทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 121 เดิม และมาตรา 124 (เดิม)
ที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่ได้เข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดที่พิพาท ทำให้จำเลยที่ 1 ซื้อที่พิพาทในราคาต่ำกว่าราคาเป็นจริงหลายเท่าตัวนั้นหากโจทก์เห็นว่า การขายทอดตลาดที่พิพาทของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบโจทก์ต้องไปว่ากล่าวในคดีก่อนเมื่อจำเลยที่ 1 ได้ซื้อที่พิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยชอบ จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิโอนขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2และที่ 3 ต่อไปได้ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมในคดีนี้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 121 (เดิม), ม. 124 (เดิม)
ป.วิ.พ. ม. 296


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2532
การนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงอันจะถือว่าเป็นกลฉ้อฉลตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 124 นั้น จะต้องเป็นการนิ่งในพฤติการณ์ที่คู่กรณีมีหน้าที่ควรจะบอกความจริง หรือเป็นการนิ่งประกอบด้วยพฤติการณ์อันแสดงออกซึ่งทำให้อีกฝ่ายหนึ่งหลง กรณีที่จะมีโครงการตัดถนนผ่านที่ดินที่จะซื้อขายหรือไม่ไม่ใช่หน้าที่ของผู้จะซื้อ ที่จะบอกข้อความจริงดังกล่าว หากแต่เป็นหน้าที่ของผู้จะขายที่ดินพิพาทจะต้องขวนขวายแสวงหาความจริงเอาเอง แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าผู้จะซื้อจงใจนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงเกี่ยวกับโครงการจะตัดถนนผ่านที่ดินดังกล่าวซึ่งผู้จะขายมิได้รู้มาก่อนและถ้าฝ่ายผู้จะซื้อมิได้นิ่งเสีย สัญญาจะซื้อขายที่ดินก็จะมิได้ทำขึ้นนั้น การกระทำของผู้จะซื้อก็ไม่เป็นกลฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 124 แม้จำเลยซึ่งเป็นผู้ขายได้บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อ และได้แจ้งให้โจทก์รับเงินมัดจำคืน และโจทก์ไม่ยอมรับคืน แต่เมื่อโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีเหตุอันชอบด้วยกฎหมายที่จะไม่ยอมรับเงินมัดจำคืนในขณะนั้นได้และเมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยโจทก์ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญา หากจำเลยจะต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ จำเลยก็ต้องชำระดอกเบี้ยด้วย นับแต่วันฟ้องซึ่งถือว่าเป็นวันที่จำเลยผิดนัด ประเด็นที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และฎีกาเป็นเรื่องขอให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายโดยขอให้บังคับจำเลยให้โอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ และรับเงินตามราคาที่ดินที่ตกลงซื้อขายกันไปจากโจทก์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 124, ม. 224, ม. 377, ม. 378
ป.วิ.พ. ม. ตาราง 1


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2532
การนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงอันจะถือว่าเป็นกลฉ้อฉลตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 124 นั้น จะต้องเป็นการนิ่งในพฤติการณ์ที่คู่กรณีมีหน้าที่ควรจะบอกความจริง หรือเป็นการนิ่งประกอบด้วยพฤติการณ์อันแสดงออกซึ่งทำให้อีกฝ่ายหนึ่งหลง กรณีที่จะมีโครงการตัดถนนผ่านที่ดินที่จะซื้อขายหรือไม่ไม่ใช่หน้าที่ของผู้จะซื้อที่จะบอกข้อความจริงดังกล่าว หากแต่เป็นหน้าที่ของผู้จะขายที่ดินพิพาทจะต้องขวนขวายแสวงหาความจริงเอาเองแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าผู้จะซื้อจงใจนิ่งเสีย ไม่ไขข้อความจริงเกี่ยวกับโครงการจะตัดถนนผ่านที่ดินดังกล่าว ซึ่งผู้จะขายมิได้รู้มาก่อน และถ้าฝ่ายผู้จะซื้อมิได้นิ่งเสีย สัญญาจะซื้อขายที่ดินก็จะมิได้ทำขึ้นนั้น การกระทำของผู้จะซื้อก็ไม่เป็นกลฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 124 แม้จำเลยซึ่งเป็นผู้ขายได้บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อ และได้แจ้งให้โจทก์รับเงินมัดจำคืน และโจทก์ไม่ยอมรับคืน แต่เมื่อโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีเหตุอันชอบด้วยกฎหมายที่จะไม่ยอมรับเงินมัดจำคืนในขณะนั้นได้ และเมื่อปรากฎว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยโจทก์ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญาหากจำเลยจะต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ จำเลยก็ต้องชำระดอกเบี้ยด้วย นับแต่วันฟ้องซึ่งถือว่าเป็นวันที่จำเลยผิดนัด ประเด็นที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และฎีกาเป็นเรื่องขอให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายโดยขอให้บังคับจำเลยให้โอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ และรับเงินตามราคาที่ดินที่ตกลงซื้อขายกันไปจากโจทก์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 124, ม. 224, ม. 378
ป.วิ.พ. ม. ตาราง 1
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที