Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 123 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 123 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 123” คืออะไร? 


“มาตรา 123” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 123 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ คณะกรรมการของมูลนิธิเป็นผู้แทนของมูลนิธิในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก “

อ่านคำปรึกษาจริง, บทความเพิ่มเติมเรื่อง "มูลนิธิ" ได้ที่นี่ คลิกเลย !

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 123” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 123 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4045/2534
จำเลยโฆษณาโอ้อวดคุณสมบัติของรถยนต์ที่ขายให้โจทก์ ว่าเป็นรถยนต์รุ่นใหม่ เพิ่งพ่นสีใหม่เป็นสีเดิม ความจริงเป็น รถยนต์รุ่นเก่า และเคยเปลี่ยนสีมาหลายครั้งกับกล่าวอ้างคุณสมบัติ ของรถยนต์ซึ่งไม่เป็นความจริงอีกหลายประการ โจทก์ตกลงซื้อรถยนต์โดยเชื่อคำโฆษณาโอ้อวดของจำเลย การซื้อขายรถยนต์จึงเกิดจากกลฉ้อฉลให้สำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์ที่ซื้อขายกัน แต่รถยนต์ ยัง คงเป็นยี่ห้อเดียวกับที่โจทก์ต้องการซื้อ กลฉ้อฉลของจำเลยจึง มิได้ ถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลเช่นนั้นโจทก์จะไม่ซื้อรถยนต์ จาก จำเลยโจทก์ยอมรับข้อกำหนดอันหนักขึ้นเท่านั้น โจทก์ย่อมมี สิทธิ เรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้ แม้กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 1 จะเป็นบิดาจำเลยที่ 2และการซื้อขายรถยนต์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จะทำกันที่บริษัทจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ยังมิได้ประกอบกิจการ บริษัทที่จำเลย ที่ 2ทำงานอยู่ก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ในใบสั่งซื้อ รถยนต์ ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำขึ้น คงมีแต่ลายมือชื่อ ของ จำเลย ที่ 2ลงชื่อในฐานะผู้จัดการหรือผู้ขายเท่านั้น พฤติการณ์ ดังกล่าว ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 หรือ จำเลยที่ 1 เข้าร่วมเป็นคู่สัญญาในการซื้อขายรถยนต์กับโจทก์ กฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความเรียกค่าสินไหมทดแทน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 123 ไว้ จึงต้องถือหลัก ทั่วไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งมีกำหนด 10 ปี.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 123, ม. 164, ม. 797


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2531
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 โดยโจทก์ที่ 4 ซื้อที่ดินตามโฉนดที่พิพาทโดยหลงเชื่อตามที่จำเลยฉ้อฉลว่าที่ดินดังกล่าวติดแม่น้ำ ไม่มีที่ดินแปลงอื่นคั่นอยู่ ซึ่งเป็นกลฉ้อฉลเพื่อเหตุ กล่าวคือ เพียงจูงใจให้โจทก์ยอมรับเอาซึ่งราคาที่ดินอันแพงกว่าที่จะยอมรับโดยปกติ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากกลฉ้อฉล ส่วนที่โจทก์ต้องเสียค่าทำภาระจำยอมเพื่อออกสู่ทางสาธารณะปรากฏว่าก่อนซื้อที่ดินโจทก์ทราบแล้วว่าที่ดินพิพาทไม่มีถนนออกสู่ทางสาธารณะจึงมิใช่ผลโดยตรงจากกลฉ้อฉลของจำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในส่วนนี้.(ที่มา-ส่งเสริม)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 123


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1559/2524
แม้จะปรากฏว่าโจทก์กับเจ้าหน้าที่ของจำเลยร่วมกันทำกลฉ้อฉลในการเสนอขายเครื่องจักรให้จำเลย แต่เพราะเหตุที่จำเลยมีเจตนาที่จะซื้อเครื่องจักรดังกล่าวอยู่แล้วและการทำกลฉ้อฉลก็เพื่อให้จำเลยต้องซื้อในราคาแพงกว่าความเป็นจริงกลฉ้อฉลดังกล่าวจึงเป็นกลฉ้อฉลเพื่อเหตุ ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 123 จำเลยจะบอกล้างสัญญาซื้อขายเสียทีเดียวหาได้ไม่ ได้แต่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนและค่าสินไหมทดแทนในกรณีนี้ก็คือจำนวนเงินที่จำเลยต้องจ่ายเกินไปกว่าราคาอันแท้จริงในขณะนั้น
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 123
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที