Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1221 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1221 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1221” คืออะไร? 


“มาตรา 1221” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1221 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ บริษัทจำกัดจะออกหุ้นใหม่ให้เหมือนหนึ่งว่าได้ใช้เต็มค่าแล้ว หรือได้ใช้แต่บางส่วนแล้วด้วยอย่างอื่นนอกจากให้ใช้เป็นตัวเงินนั้นไม่ได้ เว้นแต่จะทำตามมติพิเศษของประชุมผู้ถือหุ้น “


2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1221” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1221 ” ในประเทศไทย

 


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2359/2544
การส่งใช้เงินค่าหุ้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1119,1120 และ 1221 กำหนดให้ต้องส่งใช้เป็นเงินเท่านั้น โดยกรรมการของบริษัทจะเป็นผู้เรียกเก็บเงินค่าหุ้นตามวิธีการบอกกล่าวล่วงหน้าด้วยจดหมายส่งลงทะเบียนไปรษณีย์เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏหลักฐานว่าจำเลยได้มีจดหมายส่งลงทะเบียนบอกกล่าวเรียกเก็บเงินค่าหุ้นไปยังผู้ร้อง หรือผู้ถือหุ้นรายอื่น ๆแต่อย่างใด ที่ผู้ร้องอ้างว่า เมื่อจำเลยเรียกเก็บเงินค่าหุ้นจึงได้มีการตกลงกันภายในระหว่างสองบริษัทว่า "หนี้ค่าหุ้นที่ทวงถามไปนั้น บริษัทจำเลยขอให้บริษัทผู้ร้องชำระค่าหุ้นที่เหลือเป็นวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างแทนการชำระเป็นเงิน" ข้อตกลงดังกล่าวหากมีจริงก็ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมตั้งบริษัทข้อตกลงที่ผู้ร้องอ้างจึงไม่มีผลผูกพันจำเลย นอกจากนี้ในส่วนงบดุลและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของจำเลยกฎหมายก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามข้อความที่ได้บันทึกไว้นั้นทุกประการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1024จึงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว หาใช่ว่าผู้คัดค้านมีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่าผู้ร้องค้างชำระค่าหุ้นดังที่ผู้ร้องฎีกาไม่ พยานหลักฐานของผู้ร้องจึงรับฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องชำระค่าหุ้นที่ค้างชำระให้แก่จำเลยแล้ว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1119, ม. 1120, ม. 1221


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6203/2541
ที่ผู้ร้องฎีกาว่า คดีฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นหนี้ค่าหุ้นบริษัทจำเลยจำนวน 75,000 บาท ตามที่ผู้คัดค้านกล่าวอ้างนั้น ล้วนเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อคดีนี้ราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีกามีจำนวนไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คดีนี้คู่ความฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งศาลฎีกาจำต้องถือข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องถือหุ้นบริษัทจำเลยจำนวน 100 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1,000 บาทรวมเป็นเงิน 100,000 บาท ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นขณะจัดตั้งบริษัทเป็นเงิน 25,000 บาท คงค้างชำระเงินค่าหุ้นอีก75,000 บาท แต่ในการวินิจฉัยปัญหาข้อที่ว่าสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้เงินค่าหุ้นที่ผู้ร้องค้างชำระขาดอายุความหรือไม่ศาลอุทธรณ์กลับฟังข้อเท็จจริงว่า กรรมการบริษัทจำเลยมีหนังสือบอกกล่าวให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระภายในวันที่ 3 กรกฎาคม 2523 ซึ่งปรากฏข้อความว่ากรรมการบริษัทจำเลยเรียกให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 50 ให้ครบมูลค่าของหุ้น อันแสดงว่าผู้ร้องค้างชำระเงินค่าหุ้นเพียง 50,000 บาท เท่านั้นข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาจึงขัดกัน ไม่เป็นไปในทางเดียวกันว่าผู้ร้องยังค้างชำระเงินค่าหุ้นอยู่เพียงใดศาลฎีกาย่อมฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(3)(ก)ประกอบด้วยมาตรา 247 และพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153 บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1120 และ 1121 ให้อำนาจกรรมการบริษัทจะเรียกผู้ถือหุ้นส่งใช้เงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกในแต่ละคราวเมื่อใดเป็นจำนวนเงินเท่าใดก็ได้ตราบเท่าที่บริษัทยังคงดำรงอยู่ และเมื่อกรรมการบริษัทเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้เงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกสิทธิเรียกร้องก็เกิดขึ้นในแต่ละคราวที่กรรมการบริษัทส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นนั้น สิทธิเรียกร้อง ในมูลหนี้เช่นว่านี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30แต่กรรมการบริษัทจำเลยไม่เคยส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกไปยังผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น บริษัทจำเลยจึงยังไม่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้เงินค่าหุ้นที่ผู้ร้องค้างชำระ อายุความย่อมไม่เริ่มนับสิทธิเรียกร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านในอันที่จะเรียกให้ผู้ร้องชำระจึงไม่ขาดอายุความ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดผู้คัดค้านจึงมีอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และมาตรา 119 เรียกให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยชำระเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกทั้งหมดได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 193/12, ม. 193/30, ม. 1220, ม. 1221
ป.วิ.พ. ม. 238, ม. 243 (3) (ก), ม. 247, ม. 248
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 22, ม. 119, ม. 153
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที