“มาตรา 121 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 121” คืออะไร?
“มาตรา 121” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 121 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ เมื่อได้จดทะเบียนมูลนิธิแล้ว ถ้าผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิมีชีวิตอยู่ ให้ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้เพื่อการนั้นตกเป็นของมูลนิธิตั้งแต่วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนมูลนิธิเป็นต้นไป
ในกรณีที่ผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิถึงแก่ความตายก่อนนายทะเบียนรับจดทะเบียนมูลนิธิ เมื่อได้จดทะเบียนมูลนิธิแล้ว ให้ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้เพื่อการนั้นตกเป็นของมูลนิธิตั้งแต่เวลาที่ผู้ขอจัดตั้งมูลนิธินั้นถึงแก่ความตาย “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 121” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 121 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7242/2538
เมื่อจำเลยที่ 1 ซื้อที่พิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลแล้ว ต่อมาจำเลยที่ 1 ไม่ได้ขายที่พิพาทให้โจทก์ ตามที่โจทก์อ้างว่าผู้แทนของจำเลยที่ 1 รับรองว่าจะขายให้โจทก์ในภายหลัง แต่ได้ขายให้จำเลยที่ 2และที่ 3 กรณีหาใช่ตัวแทนของจำเลยที่ 1 ใช้อุบายหลอกลวงให้โจทก์หลงเชื่อเข้าแสดงเจตนาทำนิติกรรมกับจำเลยที่ 1 ไม่ เพราะไม่มีนิติกรรมใดที่ตัวแทนของจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้หลอกลวงโจทก์ให้แสดงเจตนาอันได้มาเพราะกลฉ้อฉลที่จะทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 121 เดิม และมาตรา 124 (เดิม)
ที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่ได้เข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดที่พิพาท ทำให้จำเลยที่ 1 ซื้อที่พิพาทในราคาต่ำกว่าราคาเป็นจริงหลายเท่าตัวนั้นหากโจทก์เห็นว่า การขายทอดตลาดที่พิพาทของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบโจทก์ต้องไปว่ากล่าวในคดีก่อนเมื่อจำเลยที่ 1 ได้ซื้อที่พิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยชอบ จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิโอนขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2และที่ 3 ต่อไปได้ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมในคดีนี้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 121 (เดิม), ม. 124 (เดิม)
ป.วิ.พ. ม. 296
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6207/2538
โจทก์ทำหนังสือบริจาคที่ดินพิพาทเพื่อเป็นกองทุนในการก่อตั้งมูลนิธิโลกุตรธรรมประทีป และมูลนิธิดังกล่าวจะทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2531ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินอันจัดสรรไว้เป็นแผนกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 81 เดิมซึ่งตรงกับมาตรา 110 ซึ่งตรวจชำระใหม่และย่อมตกเป็นของมูลนิธิตั้งแต่เวลาที่รัฐบาลให้อำนาจเป็นต้นไปตามมาตรา 87 เดิม ซึ่งตรงกับมาตรา 121 ซึ่งตรวจชำระใหม่
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2049/2538
จำเลยไม่ได้ให้การว่าได้บอกล้างโมฆียะกรรมภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว การนำสืบของจำเลยที่ว่าได้โทรเลขแจ้งบอกล้างนิติกรรมไปยังโจทก์ก่อนวันที่พากันไปที่สำนักงานที่ดินจึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้บอกล้างโมฆียะกรรมก่อนวันที่โจทก์จำเลยพากันไปยังสำนักงานที่ดินเพื่อโอนที่ดินพิพาท แม้วันดังกล่าวภรรยาจำเลยคัดค้านว่า ที่ดินพิพาทเป็นของตนครึ่งหนึ่งจึงจดทะเบียนโอนกันไม่ได้ แต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมีความตั้งใจที่จะปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทที่ทำไว้กับโจทก์ตลอดมา จำเลยได้กระทำการดังกล่าวภายหลังเวลาที่มูลเหตุให้เป็นโมฆียะกรรมนั้นได้สูญสิ้นไปแล้ว การที่จำเลยไปที่สำนักงานที่ดินเพื่อโอนที่ดินให้โจทก์อันเป็นการชำระหนี้ตามโมฆียะกรรมโดยจำเลยมิได้แสดงแย้งสงวนสิทธิไว้แจ้งชัดประการใด ถือได้ว่าจำเลยได้ให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมนั้นแล้วโดยปริยาย สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงสมบูรณ์
คำให้การต่อสู้คดีนี้ของจำเลยฟังว่า จำเลยทำสัญญาดังกล่าวเพราะหลงเชื่อที่โจทก์นำความเท็จมาหลอกลวง สัญญาจึงตกเป็นโมฆะนั้น แม้จะถือว่าเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรม แต่เมื่อจำเลยได้ให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมก่อนยื่นคำให้การแล้ว ย่อมถือว่าการนั้นเป็นอันสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก ไม่อาจบอกล้างได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 121, ม. 138, ม. 141, ม. 142
ป.วิ.พ. ม. 249