Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1208 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1208 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1208” คืออะไร? 


“มาตรา 1208” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1208 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ผู้สอบบัญชีนั้น จะเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทก็ได้ แต่บุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการงานที่บริษัททำโดยสถานอื่นอย่างหนึ่งอย่างใดนอกจากเป็นแต่ผู้ถือหุ้นในบริษัทเท่านั้นแล้ว ท่านว่าจะเลือกเอามาเป็นตำแหน่งผู้สอบบัญชีหาได้ไม่ กรรมการก็ดี หรือผู้อื่นซึ่งเป็นตัวแทนหรือเป็นลูกจ้างของบริษัทก็ดี เวลาอยู่ในตำแหน่งนั้น ๆ ก็จะเลือกเอามาเป็นตำแหน่งผู้สอบบัญชีของบริษัทหาได้ไม่ “


2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1208” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1208 ” ในประเทศไทย

 


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1725/2558
การตั้งผู้สอบบัญชีมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบบัญชีงบดุลที่บริษัทจัดทำขึ้นโดยตรวจจากสมุดบัญชี เอกสารประกอบการลงบัญชีและหลักฐานอื่น ๆ โดยผู้ประกอบวิชาชีพตามแนวทางปฏิบัติงานที่คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชีได้กำหนดเป็นมาตรฐานไว้ เพื่อวินิจฉัยและแสดงความเห็นว่า งบการเงินที่จัดทำขึ้นมีความถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือไม่เพียงใด ฐานะและบทบาทผู้สอบบัญชีจึงเป็นเสมือนตัวแทนของบริษัทในการควบคุมการบริหารงานของฝ่ายบริหารว่าได้มีการปฏิบัติถูกต้องตามข้อบังคับ มติที่ประชุมคณะกรรมการ มติที่ประชุมใหญ่และตามกฎหมายหรือไม่ ดูแลว่าบัญชีของบริษัทได้ลงไว้ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่ ทั้งเป็นผู้รับรองฐานะทางการเงินของบริษัทต่อผู้ถือหุ้นว่าฐานะทางการเงินตามที่แสดงไว้นั้นถูกต้อง ผู้สอบบัญชีจึงต้องแยกจากฝ่ายบริหารอย่างชัดเจน กล่าวคือผู้สอบบัญชีจะเป็นกรรมการ ตัวแทนหรือลูกจ้างของบริษัทในขณะที่ตนเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทไม่ได้ ผู้สอบบัญชีต้องขึ้นตรงต่อผู้ถือหุ้น กฎหมายจึงกำหนดให้เฉพาะที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเท่านั้น ที่มีอำนาจแต่งตั้ง ถอดถอนและให้บำเหน็จแก่ผู้สอบบัญชีตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1208 ถึง 1211 เว้นแต่ผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าห้าคนร้องขอให้ศาลตั้งผู้สอบบัญชีประจำปี ตามมาตรา 1212
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1208, ม. 1209, ม. 1210, ม. 1211, ม. 1212


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2524
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1175 เป็นบทกฎหมายที่มุ่งประสงค์ให้มีการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าว่าบริษัทจะได้จัดให้มีการประชุมใหญ่ในกิจการใด ที่ใดเมื่อใด เพื่อผู้ถือหุ้นจะได้มีโอกาสเตรียมตัวสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นได้โดยเต็มที่แต่มิได้บังคับโดยเด็ดขาดว่า ถ้าไม่แจ้งไปให้ผู้ถือหุ้นก่อนวันนัดประชุม 7 วันแล้ว การแจ้งดังกล่าวจะต้องเป็นโมฆะเสียเปล่า เพราะการนัดประชุมใหญ่ไม่จำต้องมีหนังสือแจ้งเพียงอย่างเดียวอาจทำโดยวิธีอื่นได้ เมื่อเป็นที่เห็นได้ว่าผู้ถือหุ้นทุกคนทราบกำหนดวันนัดประชุมใหญ่แล้ว แม้หนังสือแจ้งนัดประชุมใหญ่ไม่ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้าก่อน 7 วัน ก็เป็นคำบอกกล่าวแจ้งประชุมใหญ่โดยชอบ
แม้จะปรากฏว่าขณะที่ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นมีมติแต่งตั้งจ. เป็นกรรมการนั้นจ. ยังดำรงตำแหน่งผู้ตรวจสอบบัญชีอยู่ก็ตาม แต่เมื่อต่อมาหลังจาก จ. ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการแล้ว จ. ไม่เคยได้ตรวจสอบบัญชีของบริษัทแต่อย่างใด ทั้งได้ลาออกจากตำแหน่งผู้ตรวจสอบบัญชีในเดือนถัดไป ดังนี้ การแต่งตั้ง จ. เป็นกรรมการจึงไม่ขัดต่อกฎหมายและข้อบังคับของบริษัท
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1175, ม. 1208
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที