Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1207 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1207 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1207” คืออะไร? 


“มาตรา 1207” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1207 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ กรรมการต้องจัดให้จดบันทึกรายงานการประชุมและข้อมติทั้งหมดของที่ประชุมผู้ถือหุ้นและของที่ประชุมกรรมการลงไว้ในสมุดโดยถูกต้อง สมุดนี้ให้เก็บรักษาไว้ ณ สำนักงานที่ได้จดทะเบียนของบริษัทบันทึกเช่นนั้นอย่างหนึ่งอย่างใด เมื่อได้ลงลายมือชื่อของผู้เป็นประธานแห่งการประชุมซึ่งได้ลงมติหรือซึ่งได้ดำเนินการงานประชุมก็ดี หรือได้ลงลายมือชื่อของผู้เป็นประธานแห่งการประชุมถัดจากครั้งนั้นมาก็ดี ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นหลักฐานอันถูกต้องแห่งข้อความที่ได้จดบันทึกลงในสมุดนั้น ๆ และให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าการลงมติและการดำเนินของที่ประชุมอันได้จดบันทึกไว้นั้นได้เป็นไปโดยชอบ
              ผู้ถือหุ้นคนใดจะขอตรวจเอกสารดังกล่าวมาข้างต้นในเวลาใดเวลาหนึ่งระหว่างเวลาทำการงานก็ได้ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1207” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1207 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5243/2561
การที่โจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นจะขอตรวจดูรายงานการประชุมและมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นซึ่งกรรมการบริษัทจัดให้มีการบันทึกไว้ โจทก์ต้องดำเนินการตามบทบัญญัติมาตรา 1207 วรรคสอง โดยขอตรวจดูเอกสารระหว่างเวลาการทำงานของจำเลยที่ 1 อันหมายถึงต้องไปที่สำนักงานของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสถานที่เก็บรักษาเอกสารที่มีการบันทึกรายงานการประชุมและมติที่ประชุมไว้ แต่ที่โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบมาไม่ปรากฏว่า โจทก์หรือตัวแทนไปที่สำนักงานของจำเลยที่ 1 เพื่อขอตรวจดูบันทึกรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นและมติที่ประชุมในระหว่างเวลาทำการ เพียงแต่โจทก์อ้างถึงการตรวจสอบข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงเป็นกรณีที่โจทก์ประสงค์จะขอเอกสารการประชุมผู้ถือหุ้น โดยโจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิขอตรวจดูเอกสารการประชุม ณ สำนักงานของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1207 วรรคสอง ดังนั้นจำเลยทั้งสองหาได้มีหน้าที่ตามบทบัญญัติกฎหมาย ข้อบังคับบริษัท หรือข้อสัญญาระหว่างกันที่จะต้องส่งเอกสารการประชุมผู้ถือหุ้นและเอกสารที่เกี่ยวข้องให้แก่โจทก์ไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1207 วรรคสอง


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1104/2541
โจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการของบริษัท ร.ข้อบังคับของบริษัทร. ระบุว่าการประชุมกรรมการต้องมีคณะกรรมการเข้าประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งจึงจะเป็นองค์ประชุมปรึกษากิจการได้แต่จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า บริษัท ร. มีกรรมการรวม4 คน การปรึกษากิจการระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2จึงครบเป็นองค์ประชุมตามข้อบังคับของบริษัทแล้ว จำเลยหาได้ให้การต่อสู้คดีว่ามีการเรียกประชุมไม่ การที่จำเลยนำสืบว่า มีการนัดเรียกหรือประชุมกรรมการก่อนจึงรับฟังไม่ได้ดังนั้น เมื่อการนัดเรียกในการประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นฝ่าฝืนต่อข้อบังคับของบริษัทและฝ่าฝืนต่อกฎหมายแล้วการประชุมดังกล่าวจึงเป็นการประชุมไม่ชอบ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1207


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5820/2534
เมื่อโจทก์ได้ดำเนินการตามขั้นตอนในฐานะผู้ถือหุ้นที่ใช้อำนาจครอบงำการจัดการเพื่อรักษาผลประโยชน์จากการลงทุนในบริษัทโดยฟ้องเพิกถอนรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นที่ ย.ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งกับพวกจัดทำอันเป็นเท็จ จนเป็นเหตุให้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยที่ 7 ที่ 8มาเป็น ย. เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทแล้ว ขั้นต่อไปย่อมเป็นหน้าที่ของกรรมการบริษัทที่ได้รับแต่งตั้งโดยชอบจะเข้ามาดำเนินกิจการ แล้วพิจารณาว่าสมควรฟ้องร้องขอเพิกถอนคำพิพากษาตามยอมและสัญญาประนีประนอมยอมความที่ ย. ในฐานะผู้แทนโดยมิชอบของจำเลยที่ 7 ที่ 8 ทำไว้กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6หรือไม่ต่อไป โจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นคนหนึ่งหาได้ถูกโต้แย้งสิทธิที่จะก้าวล่วงมาฟ้องในชั้นนี้เสียเองต่อบริษัทจำเลยที่ 7 ที่ 8และจำเลยอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1108 (6), ม. 1139, ม. 1151, ม. 1155, ม. 1171, ม. 1173, ม. 1197, ม. 1207, ม. 1209, ม. 1215
ป.วิ.พ. ม. 55
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที