Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 120 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 120 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 120” คืออะไร? 


“มาตรา 120” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 120 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ในกรณีที่มีบุคคลหลายรายยื่นคำขอจดทะเบียนมูลนิธิตามพินัยกรรมของเจ้ามรดกรายเดียวกัน ถ้าคำขอนั้นมีข้อขัดแย้งกัน ให้นายทะเบียนเรียกผู้ยื่นคำขอมาตกลงกัน และถ้าผู้ยื่นคำขอไม่มาตกลงกัน หรือตกลงกันไม่ได้ภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนด ให้นายทะเบียนมีคำสั่งตามที่เห็นสมควร และให้นำความในมาตรา ๑๑๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 120” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 120 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5163/2538
การทำสัญญาเช่าที่ดินเพื่อขุดหาพลอยนั้น คุณสมบัติของที่ดินที่เช่าที่ว่ามีการขุดหาพลอยมาก่อนแล้วหรือไม่ย่อมเป็นสาระสำคัญ เมื่อที่ดินที่เช่ามีการขุดหาพลอยมาก่อนแล้วแต่ผู้เช่าทำสัญญาเช่าโดยเข้าใจว่าที่ดินที่เช่ายังไม่ได้มีการขุดหาพลอยมาก่อน จึงเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สินซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสำคัญ สัญญาเช่าที่ดินเป็นโมฆียะ เมื่อผู้เช่าบอกล้างโมฆียะกรรมโดยการบอกเลิกสัญญาเช่าและขอเช็คที่มอบให้เพื่อชำระค่าเช่าคืนจากผู้ให้เช่า สัญญาเช่าจึงเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก คู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม ผู้ให้เช่าต้องคืนเช็คที่ชำระค่าเช่าแก่ผู้เช่า
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 120 (เดิม), ม. 137 (เดิม), ม. 138 (เดิม), ม. 140 (เดิม)


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4919/2536
พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน-หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า พ.ศ. 2524เป็นกฎหมาย จึงถือว่าผู้ร้องรู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว ผู้ร้องอ้างไม่ได้ว่าขณะที่ผู้ร้องเข้าประมูลในการขายทอดตลาดผู้ร้องไม่รู้ถึงข้อความจริงเช่นว่านี้ จึงไม่เป็นการสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์ที่ซื้อจากการขายทอดตลาด การออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ก็เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการสำรวจก่อนที่จะมีการตราพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ออกมาใช้บังคับกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงยังไม่ตกเป็นของรัฐ ขณะมีการขายทอดตลาดกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ขายทอดตลาดยังเป็นของจำเลยที่ 2 และเมื่อไม่อยู่ในข่ายห้ามโอนตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295พ.ศ. 2530 แล้ว ก็สามารถทำนิติกรรมซื้อขายกันได้ตามกฎหมายแม้ต่อมาภายหลังจะได้มีพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินใช้บังคับและรวมที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่ในเขตที่ดินที่ถูกเวนคืนด้วยก็ตาม เพราะเป็นกรณีที่เกิดขึ้นภายหลังการขายทอดตลาดที่เสร็จสิ้นไปแล้ว การขายทอดตลาด จึงชอบแล้ว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 120
ป.วิ.พ. ม. 296
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 ม. 8, ม. 10
พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายคลองตัน ? หนองงูเห่า พ.ศ.2522 ม. 2
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 69
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 ( ฉบับที่ 2) พ.ศ.2530 ม. 7


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3829/2533
การกระทำเพื่อป้องกันสิทธิโดยพึ่งสถาบันของรัฐโดยสุจริตเช่น การแจ้งความร้องทุกข์ การฟ้องคดีต่อศาล จะต้องกระทำโดยสุจริต มิใช่อาศัยสถาบันของรัฐเป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งอีกฝ่ายหนึ่ง การที่จำเลยต่อสู้หรือฟ้องคดีต่อศาลหรือแจ้งความร้องทุกข์ฝ่ายโจทก์ว่า โจทก์กับพวกบุกรุกที่ดินของจำเลยนั้นจะต้องมีมูลความจริงอยู่ว่าจำเลยน่าจะมีกรรมสิทธิ์ตามที่กล่าวอ้างจริง มิเช่นนั้นแล้วจำเลยย่อมจะต้องเสี่ยงต่อความรับผิดหากศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามที่กล่าวอ้าง เมื่อศาลฎีกาได้พิพากษาในคดีแพ่งเรื่องก่อนว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 เป็นบริวารของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลม. ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท คดีถึงที่สุด จำเลยจึงต้องรับผิดในการในการกระทำดังกล่าวของตน เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับรองกรรมสิทธิ์ของโจทก์ไว้ครบถ้วนแล้ว แม้คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ฎีกาจำเลยที่ 1 ลงประกาศหนังสือพิมพ์ มีข้อความกล่าวหาโจทก์ทั้งสามโดยระบุชื่อโจทก์ทั้งสามว่า "บุกรุกที่ดินของจำเลยที่ 1ถูกจำเลยที่ 1 ดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาและยังขู่ไม่ให้บุคคลภายนอกจับจองหรือซื้ออาคารของโจทก์ มิฉะนั้นจะถูกดำเนินคดีเช่นเดียวกัน"เช่นนี้เป็นการขัดแย้งต่อคำสั่งของศาลชั้นต้นและมีเจตนาที่จะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่โจทก์ทั้งสามทางชื่อเสียงความเชื่อถือ และธุรกิจการค้า การประกาศหนังสือพิมพ์ดังกล่าวจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสามโดยชัดแจ้งอีกกรณีหนึ่ง ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสามได้กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6ได้ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสาม จำเลยทั้งหกร่วมกันให้การมาในคำให้การฉบับเดียวกัน ยอมรับว่าได้ร่วมกันกระทำต่อโจทก์ แต่ได้กระทำโดยสุจริต จำเลยที่ 5 จำเลยที่ 6 ไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าไม่ได้ร่วมกระทำกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 5 จำเลยที่ 6 ไม่ได้ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสามจึงเป็นการวินิจฉัยคดีนอกคำให้การของจำเลยที่ 5จำเลยที่ 6
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 5, ม. 120, ม. 119
ป.วิ.พ. ม. 142, ม. 183
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที