Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 119 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 119 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 119” คืออะไร? 


“มาตรา 119” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 119 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ในกรณีที่มีข้อกำหนดพินัยกรรมให้จัดตั้งมูลนิธิ ถ้าพินัยกรรมที่ทำไว้มิได้มีข้อกำหนดเกี่ยวกับรายการตามมาตรา ๑๑๒ (๑) (๓) (๕) หรือ (๖) ให้ผู้ยื่นคำขอตามมาตรา ๑๑๘ กำหนดรายการดังกล่าวได้ ถ้าผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดคัดค้าน ให้นายทะเบียนมีคำสั่งตามที่เห็นสมควร แล้วแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอและผู้คัดค้านทราบพร้อมทั้งแจ้งด้วยว่า หากผู้ยื่นคำขอหรือผู้คัดค้านไม่พอใจในคำสั่งดังกล่าว ก็ให้ไปร้องคัดค้านต่อศาลภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากนายทะเบียน และให้นายทะเบียนรอการพิจารณาจดทะเบียนไว้ก่อนเพื่อดำเนินการตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล แต่ถ้าไม่มีการร้องคัดค้านต่อศาลภายในเวลาที่กำหนด ให้นายทะเบียนพิจารณาจดทะเบียนมูลนิธิตามที่ได้มีคำสั่งไว้นั้นต่อไป “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 119” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 119 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7221/2541
จำเลยที่ 1 กับพวกวางแผนทำทีติดต่อขอซื้อที่ดินจากโจทก์ แล้วขอยืมโฉนดที่ดินพิพาทจากโจทก์เพื่อเอาไปถ่ายเอกสารแล้วทำโฉนดที่ดินพิพาทปลอมขึ้นมาอีกฉบับหนึ่ง พร้อมทั้งหลอกโจทก์ให้พิมพ์ลายนิ้วมือในหนังสือสัญญาขายที่ดินและเอกสารต่าง ๆ นำไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 ต่อจากนั้นจำเลยที่ 1 จึงทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทไว้กับจำเลยที่ 2 พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้มีเจตนามาแต่ต้นว่าจะซื้อที่ดินของโจทก์ การที่โจทก์ไปทำสัญญาขายที่ดินกับจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องที่โจทก์แสดงเจตนาไปด้วยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 119 เดิม จึงต้องถือเสมือนว่ามิได้มีการซื้อขายกันเกิดขึ้นกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังคงเป็นของโจทก์อยู่ตามเดิม และเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแล้วจำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิจะเอาที่ดินพิพาทไปทำสัญญาขายฝากกับจำเลยที่ 2 ได้ ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนรับซื้อฝากที่ดินพิพาทไว้จากจำเลยที่ 1 ผู้ไม่มีสิทธิจึงไม่เกิดผลให้จำเลยที่ 2 มีสิทธิตามสัญญาขายฝากนั้น โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2

ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 119 (เดิม), ม. 156 (ใหม่)


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1158/2536
หลังจากที่โจทก์ประกวดราคาเพื่อสิทธิในการจัดพิมพ์สมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ไม่เป็นผลสำเร็จ และในระหว่างที่องค์การโทรศัพท์กำลังเตรียมทำสัญญากับบริษัทผู้ชนะการประกวดราคานั้น โจทก์ได้โฆษณาทางหน้าหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนอื่น ๆ ว่า จะทำการจัดพิมพ์สมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ เพื่อแจกจ่ายแก่ผู้เช่าทุกรายต่อไปในฐานะที่เป็นสมุดธุรกิจอิสระไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย แสดงว่าโจทก์มีความบริสุทธิ์ใจในการจัดพิมพ์สมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและจำเลยทั้งสองก็ไม่ได้โต้แย้งว่าต้องการโฆษณาในสมุด เยลโล่เพจเจ็ส คงมาโต้แย้งเมื่อโจทก์เรียกเก็บเงินค่าโฆษณา โจทก์ไม่เคยติดต่อกับจำเลยทั้งสองมาก่อน และจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายติดต่อขอลงโฆษณาในหนังสือของโจทก์โดยที่โจทก์ก็เคยโฆษณาไว้แล้วว่าจะจัดทำเป็นสมุดธุรกิจอิสระ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองสำคัญผิดในสาระสำคัญของสัญญาจ้าง โจทก์จะมีสิทธิจัดพิมพ์สมุดดังกล่าวหรือไม่ เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับองค์การโทรศัพท์ฯ ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยทั้งสองที่จะไม่ต้องชำระค่าจ้างโฆษณา เพราะเป็นคนละเรื่องกับสัญญาจ้างโฆษณาที่โจทก์ฟ้อง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 119, ม. 587


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1048/2536
โจทก์ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจเพื่อให้จำเลยที่ 1 นำที่พิพาทไปจำนอง จำเลยที่ 1 นำหนังสือมอบอำนาจไปทำนิติกรรมโอนขายที่พิพาทให้แก่ตนเอง หนังสือมอบอำนาจที่จำเลยที่ 1 นำไปใช้ทำนิติกรรมซื้อขายที่พิพาทจึงเป็นเอกสารปลอม ต้องถือว่านิติกรรมการซื้อขายที่พิพาทมิได้เกิดขึ้น กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทคงเป็นของโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิขายฝากที่พิพาท แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะจดทะเบียนรับซื้อฝากที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 ไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายและขายฝากที่จำเลยที่ 1ทำไปได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 119, ม. 1299
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที