Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1185 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1185 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1185” คืออะไร? 


“มาตรา 1185” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1185 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ผู้ถือหุ้นคนใดมีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในข้ออันใดซึ่งที่ประชุมจะลงมติ ท่านห้ามมิให้ผู้ถือหุ้นคนนั้นออกเสียงลงคะแนนด้วยในข้อนั้น “


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1185” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1185 ” ในประเทศไทย

 


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2565
จำเลยที่ 6 เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท น. จำเลยที่ 6 ย่อมมีสิทธิเข้าประชุมในที่ประชุมใหญ่ได้เสมอไม่ว่าจะเป็นประชุมชนิดใดคราวใด แต่หากจำเลยที่ 6 มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในข้ออันใดซึ่งที่ประชุมจะลงมติแล้ว จำเลยที่ 6 ย่อมไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนด้วยในข้อนั้น ทั้งนี้ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1176 และ 1185 แห่ง ป.พ.พ. ดังนั้น การที่จำเลยที่ 6 ได้ออกเสียงลงคะแนนในกรณีดังกล่าว จึงมีผลเพียงทำให้มีข้อพิจารณาว่ามติพิเศษของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นดังกล่าวเป็นมติพิเศษชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แต่หาได้เป็นการลวงว่าตนเป็นผู้ถือหุ้นแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยที่ 6 จึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 47การกระทำความผิดตามมาตรา 42 และมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 ผู้กระทำความผิดจะต้องมีเจตนาพิเศษเพื่อลวงให้ผู้ถือหุ้นหรือผู้มีส่วนได้เสียในบริษัทขาดประโยชน์อันควรได้ แต่โจทก์ทั้งสิบเอ็ดมิได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ทั้งสิบเอ็ดซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้อย่างไรบ้าง จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)การทำให้เสียหาย เปลี่ยนแปลง หรือตัดทอนหลักประกันของบริษัทตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 42 (1) นั้น หมายถึงหลักประกันที่บริษัทได้รับเข้ามา หาใช่ทรัพย์สินของบริษัทที่นำไปใช้เป็นหลักประกันแก่เจ้าหนี้แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ตามฟ้องข้อนี้จึงไม่เป็นความผิด
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.อ. ม. 158 (5)
ป.พ.พ. ม. 1176, ม. 1185
พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ.2499 ม. 42, ม. 46, ม. 47


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4362/2560
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท บ. ลงมติให้สัตยาบันสัญญาประนีประนอมยอมความในหนี้ที่จำเลยที่ 1 นำมาฟ้องให้บริษัท บ. ใช้หนี้ดังกล่าวให้แก่ตน จำเลยที่ 1 ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในมติข้อดังกล่าว เพราะแม้ไม่มีมติดังกล่าว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ก็ชอบที่จะได้รับชำระหนี้หรือเรียกร้องให้บริษัท บ. ชำระหนี้ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย การออกเสียงลงมติของจำเลยที่ 1 ถือว่ากระทำได้โดยชอบ ไม่ขัดต่อบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1185
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1185


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2539
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1185ที่บัญญัติห้ามมิให้ผู้ถือหุ้นคนใดที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในข้ออันใดซึ่งที่ประชุมจะลงมติออกเสียงลงคะแนนด้วยในมติข้อนั้นหมายความเฉพาะผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษเท่านั้นผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทที่ร่วมประชุมและลงมติให้บริษัทชำระหนี้แก่ตนไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษเพราะแม้ไม่มีมติของบริษัทดังกล่าวผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทก็ชอบที่จะได้รับชำระหนี้หรือเรียกร้องให้มีการชำระหนี้ได้อยู่แล้วอีกทั้งที่ประชุมก็มีมติให้ชำระหนี้คืนแก่ผู้ถือหุ้นพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันหมดมิได้เลือกปฏิบัติแก่ผู้ถือหุ้นบางคนเป็นพิเศษแต่อย่างใดมติดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1185 การที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1175กำหนดให้แจ้งนัดประชุมใหญ่บริษัทด้วยการลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนโดยกำหนดเวลาว่าต้องแจ้งก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า7วันนั้นก็เพื่อมุ่งประสงค์ให้มีการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าเพื่อที่ผู้ถือหุ้นจะได้เตรียมตัวสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์แก่บริษัทได้เต็มที่ดังนั้นการที่ผู้ร้องที่1ในฐานะประธานกรรมการบริษัทได้มีหนังสือลงวันที่25พฤศจิกายน2534เรียกประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่3ธันวาคม2534โดยส่งให้ผู้ถือหุ้นทั้งหมดซึ่งมีอยู่7คนทราบและผู้ถือหุ้นรวมทั้งผู้ร้องต่างก็ทราบนัดแล้วครั้นถึงกำหนดนัดผู้คัดค้านทั้งห้าซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นได้ไปประชุมโดยพร้อมเพรียงกันส่วนผู้ร้องและบุตรผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นด้วยไม่ได้เข้าประชุมมีแต่ชาย2คนมาประชุมแทนแต่เข้าประชุมไม่ได้เพราะไม่มีหนังสือมอบอำนาจจึงฟังได้ว่าการแจ้งกำหนดนัดประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1175, ม. 1185
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที