“มาตรา 1180 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1180” คืออะไร?
“มาตรา 1180” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1180 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ในการประชุมผู้ถือหุ้นทั่วไปเป็นประชุมใหญ่ทุก ๆ ครั้งให้ผู้เป็นประธานในสภากรรมการนั่งเป็นประธาน
ถ้าประธานกรรมการเช่นว่านี้ไม่มีตัวก็ดี หรือไม่มาเข้าประชุมจนล่วงเวลานัดไปแล้วสิบห้านาทีก็ดี ให้ผู้ถือหุ้นทั้งหลายซึ่งอยู่ในที่นั้นเลือกผู้ถือหุ้นคนหนึ่งในจำนวนซึ่งมาประชุมขึ้นนั่งเป็นประธาน “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1180” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1180 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2523
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 ที่บัญญัติว่า ห้างหุ้นส่วนแม้จะได้เลิกกันแล้ว ก็ให้ฟังถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีนั้น มิได้หมายความว่า ในระหว่างนั้น ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวจะทำกิจการได้ทุกอย่าง แต่จะทำได้เฉพาะกิจการอันจำเป็นเพื่อการชำระบัญชีเท่านั้น ซึ่งได้แก่กิจการอันเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1259
การค้ำประกันหนี้ผู้อื่นไม่ใช่กิจการอันจำเป็นเพื่อการชำระบัญชี ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งได้จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนแล้ว และอยู่ในระหว่างชำระบัญชีจึงกระทำมิได้และไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการกระทำแทน แต่การที่หุ้นส่วนผู้จัดการทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวแทนห้างหุ้นส่วน เป็นเรื่องตัวแทนกระทำโดยปราศจากอำนาจ หุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดตามสัญญาโดยลำพัง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 75, ม. 820, ม. 823, ม. 1061, ม. 1180, ม. 1249, ม. 1259
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 111/2521
โจทก์เป็นประธานกรรมการของบริษัท จึงเป็นประธานการประชุมใหญ่เมื่อไม่มีข้อบังคับของบริษัทกำหนดเป็นอย่างอื่นเมื่อประธานบอกเลิกประชุม การประชุมก็สิ้นสุดลงกรรมการอื่นประชุมต่อไปโดยไม่นัดประชุมใหม่โดยบอกกล่าวก่อนตามข้อบังคับ เป็นการไม่ชอบด้วยข้อบังคับและ มาตรา 1174, 1175 รายงานการประชุมครั้งนี้ถอดประธานกรรมการโดยอ้างว่าทำความเสียหายแก่บริษัท จำเลยนำไปขอจดทะเบียน จึงทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง เป็นละเมิดต่อโจทก์
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 420, ม. 1172, ม. 1175, ม. 1180
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1310/2517
คณะกรรมการของบริษัทมีมติให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2513 เพื่อเลือกตั้งกรรมการชุดใหม่ แต่ ม. กรรมการคนหนึ่งกลับเรียกประชุมใหญ่ในวันที่ 22 เดือนเดียวกัน อ้างว่า ทำตามคำร้องของผู้ถือหุ้นโดยไม่ได้ยื่นเรื่องราวให้คณะกรรมการพิจารณาก่อน ถึงวันที่ 22 ส. ประธานกรรมการและกรรมการส่วนใหญ่ของบริษัทได้พากันไปยังที่ประชุม แจ้งขอระงับการประชุมในวันนั้นโดยให้ไปประชุมกันในวันที่ 28 ตามที่นัดไว้แล้ว ม. ก็รับคำครั้นส. กับพวกกรรมการกลับไปแล้ว ม. กลับจัดให้มีการประชุมใหญ่ขึ้นอีก โดยให้ ท. ซึ่งมิได้เป็นกรรมการบริษัทเป็นประธานที่ประชุม และที่ประชุมลงมติเลือก ท. กับพวกเป็นกรรมการ ครั้นวันที่ 28 ได้มีการประชุมใหญ่กันอีกครั้งหนึ่ง ที่ประชุมไม่ยอมรับรองรายงานการประชุมวันที่ 22 ดังนี้ แม้ที่ประชุมวันที่ 22 จะได้ลงมติเลือก ท. กับพวกเป็นกรรมการ ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นมติของที่ประชุมใหญ่ เพราะกรรมการส่วนใหญ่สั่งระงับการประชุมในวันนั้นเสียแล้ว ท. กับพวกจึงมิใช่กรรมการของบริษัท การที่นายทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทรับจดทะเบียน ท. กับพวกเป็นกรรมการของบริษัท จึงเป็นการไม่ชอบบริษัทมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนได้ กรณีไม่อยู่ในบังคับมาตรา 1195 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งจะต้องฟ้องเพิกถอนภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันลงมติ
กรรมการส่วนใหญ่ของบริษัทสั่งระงับการประชุมใหญ่เสียก่อนเริ่มลงมือประชุมโดยให้ไปประชุมกันในวันอื่นตามที่นัดไว้หาจำต้องได้รับความยินยอมของที่ประชุมตามที่ บัญญัติไว้ในมาตรา 1181 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ เพราะมิใช่เริ่มลงมือประชุมและมีผู้นั่งเป็นประธานแล้วจึงได้มีการเลื่อนการประชุมไปเวลาอื่น
ฎีกาที่ว่า การเลือกตั้งกรรมการของบริษัทในคราวประชุมใหญ่วันที่ 28 หากมีการนับคะแนนเสียงให้ถูกต้องตรงกับความเป็นจริงและตามกฎหมายแล้ว กรรมการชุดของ ท. เป็นประธานจะได้รับการเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่ มิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1151, ม. 1171, ม. 1172, ม. 1173, ม. 1174, ม. 1180, ม. 1181, ม. 1195
ป.วิ.พ. ม. 55, ม. 249